Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 1-9

                  การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 1-9



การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 1



พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์


ในช่วงปลายของเดือนที่ 1 นี้ตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จากเมื่อตอนที่ฝังตัวจะมีลักษณะเหมือนตุ่มพองบนเยื่อบุโพรงมดลูก จนกระทั่งในสัปดาห์ที่สี่จะเริ่มมีถุงน้ำคร่ำเกิดขึ้น ภายในถุงน้ำคร่ำจะมีน้ำคร่ำซึ่งทำหน้าที่ป้องกันตัวอ่อนจากสิ่งแวดล้อม การกระทบกระเทือน ควบคุมอุณหภูมิให้ตัวอ่อน ทำให้ตัวอ่อนสามารถเคลื่อนไหวได้เพื่อการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ และยังเป็นแหล่งน้ำให้ตัวอ่อนอีกด้วย

ส่วนถุงเล็กๆ อีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับตัวอ่อนจะเป็นถุงไข่แดง ประกอบไปด้วยเส้นเลือดเล็กๆมากมาย ทำหน้าที่ให้อาหาร กับตัวอ่อนในขณะที่ยังไม่สามารถดูดซึมอาหารเองได้ เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตขึ้นก็จะเปลี่ยนมาใช้รกในการดูดซึมอาหารจากแม่มาเลี้ยงร่างกาย ที่ผนังด้านหนึ่งของรกที่ติดกับมดลูกของแม่จะมีขนเล็กๆมากมายทำหน้าที่ดูดซึมอาหารส่งผ่านไปยังทารกโดยผ่านสายสะดือ ในส่วนของตัวอ่อนจะประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อสามชั้น ชั้นนอกสุดจะเจริญเป็นอวัยวะสำคัญเช่นระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบปัสสาวะ และปอด เป็นต้น ในเดือนแรกตัวอ่อนจะมีส่วนที่เป็นหน้าและอกแล้ว มีการเต้นของหัวใจประมาณ 180 ครั้งต่อนาที ซึ่งหมายความว่าระบบเลือดของแม่และลูกได้เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์และลูกได้รับอ็อกซิเจนอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ตัวอ่อนยังมีการสร้างส่วนที่จะเจริญไปเป็นแขนอย่างรวดเร็วในวันที่ 24, 25 หรือ 26 จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายภายในเดือนเดียว แต่ว่าตอนนี้ตัวอ่อนมีขนาดยาวเพียง ¼ นิ้วเท่านั้นเอง



การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่


คุณแม่บางท่านมีอาการอยากอาหารมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่อาการที่แน่นอนเสมอไป การอยากอาหารอาจเป็นจากร่างกายกำลังต้องการสารอาหารต่างๆมากขึ้นเพื่อตัวอ่อนในครรภ์
บริเวณรอบๆหัวนมมีสีเข้มขึ้น เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน และมีอาการเต้านมคัดตึงคล้ายกับก่อนจะมีประจำเดือน แต่จะคัดตึงมากกว่านั้นมาก
ในบางรายอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยในช่วงที่คาดว่าจะมีประจำเดือน เนื่องมาจากการที่ตัวอ่อนฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูก
อตัวอ่อนฝังตัวและเกิดการสร้างฮอร์โมนจากรก Human chorionic gonadotropin ( hCG ) จะทำให้คุณแม่ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น อาจต้องลุกไปเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืนบ่อยๆ
คุณแม่มักจะรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย ซึ่งเป็นผลจากระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้น อาการคลื่นใส้ อาเจียน จะเกิดขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์



คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่


การพักผ่อน คุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อนให้มากที่สุดโดยเฉพาะเวลากลางคืน เพราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการตั้งครรภ์ออกมาในเวลากลางคืน คุณแม่ควรนอนหลับติดต่อกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน
คุณแม่บางท่านอาจออกกำลังกายอย่างหนักเป็นประจำเมื่อก่อนตั้งครรภ์ แต่เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็จำเป็นต้องลดการออกกำลังกายลง การออกกำลังกายอย่างเบาๆ สม่ำเสมอในช่วงที่ตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่จำเป็นต้องระมัดระวังให้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสามเดือนแรก และสามเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ การออกกำลังกายมากเกินไปอาจทำให้เกิดการแท้งคุกคามหรือคลอดก่อนกำหนดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี โอกาสแท้งจะสูงกว่าปกติ ดังนั้นการออกกำลังของคุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจะสามารถออกกำลังได้แค่ไหนอย่างไร
คุณแม่ควรรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ และควรเลือกอาหารที่จะรับประทานให้มากยิ่งขึ้น ในหนึ่งวันควรรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ อย่ากลัวอ้วนเพราะลูกจำเป็นต้องใช้อาหารจากคุณแม่ ควรรับประทานอาหารโปรตีนสูงรวมถึงคาร์โบไฮเดรตและไขมันด้วย ควรรับประทานพืชผักผลไม้สดทุกวันจะให้วิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นและยังได้กากอาหารอีกด้วยซึ่งจะช่วยทำให้ท้องไม่ผูก ดื่มน้ำให้เพียงพอและดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่ารับประทานอาหารได้เพียงพอแล้ว คุณแม่จะสังเกตได้จากน้ำหนักตัว น้ำหนักของคุณแม่ควรจะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละไม่เกินครึ่งกิโลกรัม คุณแม่อาจชั่งน้ำหนักของตัวเองทุกสัปดาห์และจดบันทึกเอาไว้ อย่างไรก็ตามเมื่อไปตรวจครรภ์คุณหมอจะให้คุณแม่ชั่งน้ำหนักทุกครั้งเสมอ และเมื่อคุณหมอทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ก็จะเห็นปริมาณน้ำคร่ำที่อยู่ล้อมรอบตัวทารกว่ามีปริมาณเพียงพอหรือไม่ ก็จะทำให้ทราบได้เช่นเดียวกันว่าคุณแม่รับประทานอาหารได้เพียงพอหรือไม่ เพราะปริมาตรของน้ำคร่ำสัมพันธ์กับการได้รับอาหารของทารก หากทารกได้รับอาหารมากก็จะปัสสาวะออกมามากซึ่งปัสสาวะของทารกก็คือน้ำคร่ำนั่นเอง ดังนั้นอาหารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการตั้งครรภ์ แต่อย่าเครียดกับการบริโภค เพราะอย่าลืมว่าคุณแม่มีคุณหมอคอยดูแลให้อยู่แล้ว หากคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดคุณแม่และทารกก็จะมีสุขภาพดีทั้งสองฝ่าย



ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

แท้งคุกคาม


การมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยอาจเป็นสัญญานของการตั้งครรภ์ที่รกของเด็กมีการฝังตัวเจาะเข้าไปในเส้นเลือดแม่ ทำให้มีเลือดออกในช่วงก่อนหน้าที่คาดว่าจะมีประจำเดือน แต่ในเดือนที่หนึ่งของการตั้งครรภ์ไม่ควรจะพบเหตุการณ์เช่นนั้นอีกเพราะมันอาจหมายถึงว่ามีการฉีกขาดของเส้นเลือดที่เชื่อมต่อถึงกัน ระหว่างแม่กับลูกจากการกระทบกระเทือน ซึ่งการกระทบกระเทือนนี้อาจเกิดจากคุณแม่ที่ไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์จึงได้ทำกิจกรรมต่างๆมากมาย หรือมีการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกของแม่จากการที่คุณแม่มีฮอร์โมนช่วยในการตั้งครรภ์ไม่เพียงพอ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้จะทำให้มีเลือดออกและมีการแท้งตามมา การที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรกที่ทราบว่าตั้งครรภ์ก็จะช่วยป้องกันได้อีกทาง เพราะคุณหมอจะให้ยาฮอร์โมนเสริมในกรณีที่คุณแม่มีฮอร์โมนน้อย แต่ถ้าการมีเลือดออกได้เกิดขึ้นแล้วให้คุณแม่สังเกตสี ปริมาณ และอาการที่เกิดขึ้น เช่นเลือดออกเป็นสีแดงสดและมีปริมาณมากไหลออกมาทางช่องคลอด และคุณแม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วยคุณแม่ต้องรีบโทรหาคุณหมอหรือไปโรงพยาบาลทันที



อารมณ์แปรปรวน


คุณแม่อาจค้นพบว่าตัวเองมีอารมณ์อ่อนไหว กังวล ซึมเศร้า สับสน หรือกลัว นั่นเป็นเพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอาจรบกวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง แต่ไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะอาการเหล่านี้จะหายไปเองเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ เพียงแต่ให้คุณแม่รับทราบเอาไว้ว่ามันอาจเกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องปกติ


การตรวจต่าง ๆ


ในเดือนที่หนึ่งนี้การตรวจเลือกจะกระทำเพื่อการทดสอบการตั้งครรภ์ และการประเมินอายุครรภ์ของทารก ซึ่งสามารถทำได้โดยการตรวจฮอร์โมน Beta hCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรกของทารกนั่นเอง ดังตารางที่ 1.1



อายุครรภ์
hCG level (U/ML)
0-1 สัปดาห์
0-50
1-2 สัปดาห์
40-300
3-4 สัปดาห์
500 – 6,000
1-2 เดือน
5,000 – 200,000
2-3 เดือน
10,000 – 100,000
ไตรมาสที่ 2
3,000 – 50,000
ไตรมาสที่ 3
1,000 – 50,000



ตารางที่ 1.1 แสดงระดับของฮอร์โมน hCG ในหญิงตั้งครรภ์



การตรวจความดันโลหิต


การตรวจความดันโลหิตจะทำทุกครั้งที่คุณแม่มาตรวจครรภ์ สามารถทำได้โดยแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยแพทย์ หรือ ผดุงครรภ์ การตรวจความดันโลหิตจะใช้เครื่องตรวจที่มีชื่อว่า sphymomanometer และหูฟังของแพทย์ โดยที่ผู้วัดจะใช้ cuff พันรอบแขนของคุณแม่และบีบลมเข้าไปใน cuff แล้วปล่อยลมออก คอยฟังเสียงการเต้นของหัวใจจากเส้นเลือดที่แขนโดยใช้หูฟังของแพทย์ การวัดจะมีตัวเลขสองตัว ตัวเลขแรกคือ ความดันของเส้นเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัว ตัวเลขที่สองคือความดันเมื่อหัวใจคลายตัว ค่าความดันโลหิตปกติ คือ 120/80 mmHq คุณแม่อาจมีความดันต่ำหรือสูงกว่านี้เล็กน้อย การวัดความดันทุกครั้งจะเป็นการบอกแนวโน้มของการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง การที่มีความดันสูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยไม่ควรกังวล คุณแม่อาจเดินมาเหนื่อยๆลองนั่งพักแล้ววัดใหม่อีกครั้ง แต่ความดันที่มีค่าสูงกว่า 140/90 mmHq แพทย์อาจต้องให้การดูแลคุณแม่เป็นพิเศษ


การชั่งน้ำหนัก


การชั่งน้ำหนักมักชั่งทุกครั้งที่คุณแม่มารับการตรวจครรภ์ เพื่อตรวจการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักอย่างปกติ ซึ่งคุณแม่ไม่ควรกังวลกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำหนักมากเกินไป ปล่อยให้คุณหมอเป็นผู้ดูแลให้จะดีกว่า




การตั้งครรภ์ในเดือนที่่ 2



พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์


เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 ตัวอ่อนจะมีขนาดโตขึ้นเท่ากับผลองุ่นแล้ว ส่วนหัวจะโตขึ้นพอๆกับอก หน้าจะเริ่มปรากฏให้สังเกตเห็นได้ แต่ตาจะเห็นได้ชัดเจนเพราะเม็ดสีเข้มที่ผิวหนังใต้ตา หัวใจที่เริ่มทำงานจะทำให้มีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงร่างกายเล็กๆนั่นแล้ว และระบบประสาทก็เริ่มมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยในเดือนที่ 2 นี้สมองจะมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก สมองซีกซ้ายและขวาจะเริ่มเจริญเติบโตและแตกสาขาของเส้นประสาทที่ต่อออกมาจากสมอง จะมีเยื่อบางๆมาหุ้มสมองเอาไว้ซึ่งมีของเหลวอยู่รอบๆเพื่อป้องกันกลุ่มเซลล์เล็กๆนั้น เมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 2 สมองก็จะเริ่มทำงาน และสั่งให้ทารกมีการเคลื่อนไหวได้

เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 8 เราจะเรียกตัวอ่อนว่า “ทารกในครรภ์” ซึ่งทารกจะเริ่มสร้างส่วนของแขนและขาขึ้นมา ที่ส่วนปลายของแขนขาจะมีส่วนที่เป็นร่องซึ่งจะกลายไปเป็นมือเท้า และนิ้วเท้าเล็กๆนี้จะเริ่มเตะเพื่อเป็นการเริ่มออกกำลังกายของทารกเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอกต่อไป ส่วนปอด ทางเดินอาหาร ตับ ไต ระบบสำคัญๆของร่างกายภายในจะสมบูรณ์มากขึ้นเมื่อถึงปลายของเดือนที่ 2 และมีขนาดยาวเพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งนิ้ว คุณอาจลองนึกภาพเปรียบเทียบขนาดของทารกได้เท่ากับผลสตรอเบอร์รี่ที่มีหัวใจสี่ห้องและมีการเต้นของหัวใจ ในเดือนที่ 2 นี้จะมีการพัฒนาของกระดูกและระบบทางเดินอาหารทำให้มีการไหลเวียนเกิดขึ้น แม้ว่าทารกจะไม่ได้กินอะไรเข้าไปก็ตามกระเพาะอาหารก็ยังมีการหลั่งน้ำย่อยออกมา ตับก็มีการผลิตเม็ดเลือดและไขกระดูก ส่วนข้างในของหูก็มีการพัฒนาส่วนที่รับการได้ยินและการทรงตัว



การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่


คุณแม่อาจรู้สึกว่าช่องคลอดบวม มีขนาดใหญ่ขึ้น มีตกขาวเพิ่มมากขึ้นได้ โดยปกติตกขาวจะมีสีขาวหรือใสไม่มีกลิ่นรุนแรง แต่ถ้าหากพบว่าตกขาวมีสีเปลี่ยนไป มีกลิ่นเหม็นมากอาจแสดงว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นก็ควรปรึกษาแพทย์
นอกจากนั้นเต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น หัวนมมีสีคล้ำมากขึ้น เส้นเลือดที่เต้านมสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน หัวนมไวต่อความรู้สึกเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่ใส่เสื้อชั้นในที่คับเกินไป
ความต้องการออกซิเจนสูงขึ้น คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดหายใจไม่สะดวกได้ง่ายเพราะคุณแม่ต้องการอากาศมากขึ้นนั่นเอง ลองนอนเปิดหน้าต่างในวันที่อากาศดีๆ หลีกเลี่ยงการเดินตามถนนที่มีควันรถ เพราะคาร์บอนมอนออกไซด์จะไปแทนที่ออกซิเจนทำให้คุณแม่หน้ามืดเป็นลมได้
อาจรู้สึกเหนื่อยและวิงเวียนเนื่องจากแรงดันเลือดต่ำเพราะอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อคุณแม่ผ่านไตรมาสที่ 1 ไปได้อาการเหล่านี้จะดีขึ้น หัวใจจะสูบฉีดเลือดมากขึ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ หลอดเลือดจะขยายและปริมาณเม็ดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น ความรู้สึกอ่อนเพลียนี้ยังอาจเกิดขึ้นจากการที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำหรือขาดธาตุเหล็กก็ได้
คุณแม่อาจพบว่ามีเลือดออกตามไรฟัน เพราะเนื้อเยื่อที่เหงือกจะอ่อนนุ่มมากขึ้นนั่นเอง แต่การมีเลือดออกอาจตามมาด้วยการอักเสบ ดังนั้น คุณแม่อาจจำเป็นต้องปรึกษาหมอฟัน และควรทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร หรืออาจบ้วนปากบ่อยๆ และแปรงฟันวันละ 3 ครั้งด้วยแปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม
อาการแพ้ท้องประกอบไปด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ แสบลิ้นปี่ อาการแพ้ท้องไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในตอนเช้าอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่จริงๆแล้วสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งวัน อาการแพ้ท้องเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 90% และมักเป็นอาการอย่างแรกที่เกิดขึ้น อาการแพ้ท้องเกิดขึ้นจากการที่รกของเด็กมีการฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูกและสร้างฮอร์โมน hCG ออกมาตั้งแต่หลังประจำเดือนขาดไป 2 – 3 วัน ซึ่งมีผลให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนช่วยการตั้งครรภ์ชื่อเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนออกมา ซึ่งในช่วงแรกระดับของฮอร์โมนยังไม่สูงมากก็จะยังไม่มีอาการ แต่เมื่อระดับฮอร์โมนเพิ่มสูงขึ้นอาการแพ้ท้องก็จะเริ่มต้นขึ้น ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการแพ้ท้องเมื่ออายุครรภ์ย่างเข้า 5 สัปดาห์ และระดับของฮอร์โมน hCG จะเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดเมื่ออายุครรภ์ 8 สัปดาห์ แต่จะลดระดับลงเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ซึ่งอาการแพ้ท้องก็จะเริ่มทุเลาลง แต่ในคุณแม่บางรายก็มีอาการไปจนกระทั่งคลอดเลยทีเดียว อาการแพ้ท้องมักจะรุนแรงขึ้นโดยการกระตุ้นจากกลิ่นอาหาร กลิ่นฉุนและควันบุหรี่ จากการศึกษาวิจัยพบว่า หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 20 ปี น้ำหนักมากกว่า 75 กิโลกรัม ไม่สูบบุหรี่ และการตั้งครรภ์แฝด อาการแพ้ท้องนั้นจะเพิ่มมากขึ้น อาการแพ้ท้องรุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้แต่พบได้น้อย แต่ถ้าหากมีการแพ้ท้องอย่างรุนแรงก็จำเป็นที่จะต้องนอนพักในโรงพยาบาลให้น้ำเกลือ ตรวจหาระดับคีโตนในเลือด อย่างไรก็ตามเรามักพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องมักสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ไปจนสิ้นสุดได้


คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่


    เมื่อมีอาการแพ้ท้อง
  • มีขนมปังแครกเกอร์แบบเค็มๆไว้ข้างเตียงนอนเสมอ เมื่อคุณแม่ตื่นขึ้นมาให้รับประทานทันที แล้วนอนต่อสัก 15 นาทีก่อนที่จะลุกขึ้น อาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังจากที่คุณแม่เพิ่งตื่นนอนและท้องว่าง
  • หลีกเลี่ยงของทอดและผลไม้ดอง
  • เนื่องจากคุณแม่อาจรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน หากมีอาการแน่นท้อง ลองรับประทานอาหารแบ่งเป็นมื้อย่อยๆแต่รับประทานหลายๆมื้อ ในแต่ละมื้อรับประทานเพียงน้อยๆก็พอ จะช่วยให้คุณแม่ได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการโดยไม่ฝืนใจจนเกินไปนัก คุณแม่อาจแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 5 – 6 มื้อต่อวัน
  • ดื่มน้ำให้มาก แต่อย่าดื่มน้ำร่วมกับอาหารหรือหลังอาหารทันที ให้ดื่มน้ำก่อนหรือหลังอาหารประมาณ 30 นาที
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็นจัด หากเครื่องดื่มทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน ลองรับประทานผักผลไม้ เช่น ผักกาดหอมเพราะจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก
  • รับประทานน้ำผลไม้ใส่น้ำแข็ง เชอร์เบท ไอศกรีม โยเกิร์ต นมปั่น
  • แม้ว่าคุณไม่รู้สึกหิว แต่ควรพยายามบังคับให้ตัวเองรับประทาน เพราะการที่ท้องว่างจะทำให้คุณอาเจียนได้ง่ายกว่าที่มีอาหารอยู่ในท้อง
  • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงจะรับประทานได้ง่ายกว่า เช่น ขนมปังแห้งๆ กรอบๆ ธัญพืช หรือข้าวสวย
  • การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงบางชนิดอาจทำให้คุณแม่ไม่สบายท้อง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู คุณแม่อาจลองรับประทานไข่ต้มสุกๆ แทนน่าจะดีขึ้น
  • หลีกหนีให้ไกลจากกลิ่นที่ทำให้ท้องของคุณปั่นป่วน หากจำเป็นต้องปรุงอาหารให้เปิดหน้าต่าง เปิดพัดลมดูดกลิ่น
  • วิตามินเสริมที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ ดังนั้น หากคุณแม่ที่เคยมีอาการแพ้ท้องรุนแรงมาก่อนอย่าลืมแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย วิตามิน B จะช่วยให้อาการแพ้ท้องดีขึ้น ดังนั้น คุณหมออาจสั่งวิตามิน B complex หรือ B6 ให้
  • หากทุกวิธีที่กล่าวมาไม่ได้ผลสำหรับคุณแม่ และคุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียวิงเวียนและรู้สึกไม่สบายมาก อย่าใช้ยาอะไรที่คุณหมอไม่ได้สั่งให้โดยเด็ดขาด แม้ว่าคุณแม่จะรู้สึกว่ามันเป็นยาธรรมดาที่ใช้ประจำ ไม่มีอันตรายใดๆ เพราะยาบางชนิดอาจมีส่วนประกอบที่คุณไม่ทราบ อย่าลืมว่าคุณหมอของคุณยินดีที่จะตอบคำถาม และช่วยดูแลคุณแม่เสมอ


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ปวดปัสสาวะบ่อย



การที่มีฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะโปรเจสเตอโรนจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้กล้ามเนื้อเรียบผ่อนคลายมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะก็เป็นกล้ามเนื้อเรียบเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อมีปัสสาวะปริมาณเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดปัสสาวะได้ ซึ่งเป็นเหตุผลให้คุณแม่ต้องปัสสาวะบ่อยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าคุณแม่พบห้องน้ำที่ไหนให้เข้าไว้ก่อน และเมื่อปัสสาวะเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นั่งรอ 2 – 3 นาที บางทีคุณแม่ก็จะรู้สึกปวดขึ้นมาอีก


ท้องผูก


หากคุณแม่เป็นคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักมาก่อน การที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมใดๆและการนอนมากๆในช่วงนี้อาจทำให้คุณแม่ท้องผูกได้ ดังนั้น คุณแม่อาจเริ่มที่จะออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินเป็นเวลา 15 – 20 นาทีในตอนเช้า แล้วกลับมาดื่มน้ำอุ่นหรือนมอุ่นๆ และนั่งพัก คุณแม่อาจเริ่มปวดท้องขึ้นมาได้ หรือพยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น ดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ รับประทานพืชผักที่ให้กากอาหารมากขึ้นก็จะช่วยได้ แต่ถ้าคุณแม่เป็นคนที่ท้องผูกเป็นกิจวัตรและใช้ยาระบายมาตลอด ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยาระบายทุกชนิด เพราะยาบางชนิดอาจมีผลทำให้แท้งบุตรได้เลยทีเดียว


รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย


อาการอ่อนเพลียและง่วงนอนนี้เป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คุณแม่อาจคิดว่าคุณหมอกล่าวหาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้เป็นผู้ร้ายอยู่เสมอ แต่ความเป็นจริงก็คือ เคยมีนักวิจัยทำการทดลองโดยการฉีดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้กับหนูทดลอง ผลการทดลองพบว่าหนูหลับเพราะฮอร์โมนนี้ส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัวนั่นเอง ดังนั้น หากรู้สึกเหนื่อยก็นอนพัก นอนหลับให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถนอนได้ เพราะธรรมชาติต้องการให้เป็นเช่นนั้น หากการนอนกลางวันเป็นการฝืนใจคุณแม่ ให้ลองนึกว่ามีอีกคนที่กำลังง่วงและอยากจะนอนแล้ว


ท้องนอกมดลูก


คือ การที่ตัวอ่อนไปฝังตัวในที่อื่นที่ไม่ใช่โพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ หรือในช่องท้อง จะมีอาการเลือดออกกระปริบกระปรอยอยู่เรื่อยๆ และมีอาการปวดท้องซึ่งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งทนไม่ไหว ซึ่งถ้าเกิดการท้องที่ท่อนำไข่แล้วท่อนำไข่แตก เลือดจะไหลเข้าไปในช่องท้องทำให้เสียเลือดมากจนอาจช็อกหมดสติได้ การท้องนอกมดลูกสามารถทำการวินิจฉัยเบื้องต้นได้โดยการตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมน hCG และตรวจอัลตร้าซาวด์เปรียบเทียบจะไม่พบถุงน้ำคร่ำในโพรงมดลูก การวินิจฉัยที่แน่ชัดทำได้โดยการส่องกล้องตรวจทางหน้าท้อง Laparoscopy การวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มแรกจะช่วยให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีซึ่งจะทำให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นมาก



การตรวจต่าง ๆ

การตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)



อัลตร้าซาวด์ คือ คลื่นเสียงความถี่สูง 3.5 - 7 megahertz ที่ปล่อยออกมาจากหัวตรวจ (Transducer) ที่สัมผัสกับผนังหน้าท้องของแม่ คลื่นเสียงจะไปตกกระทบที่เนื้อเยื่อแล้วสะท้อนกลับมา เครื่องก็จะอ่านผลเป็นความเข้มหรือจางขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเนื้อเยื่อ ภาพที่แสดงให้เห็นทางจอภาพจะแสดงในรูปแบบของจุด (Pixel) เช่น ถ้าเป็นเนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นมาก เช่น กระดูก ก็จะแสดงให้เห็นเป็นสีขาว ถ้าเป็นเนื้อเยื่อก็จะเป็นส่วนที่มืดมากขึ้น ถ้าเป็นของเหลวก็จะเป็นสีดำ เป็นต้น การตรวจอัลตร้าซาวด์ในขณะตั้งครรภ์คลื่นเสียงจะผ่านผนังหน้าท้องของแม่ไปยังทารกในครรภ์แล้วสะท้อนกลับมาสร้างเป็นภาพให้เห็นทางจอภาพ



การตรวจอัลตร้าซาวด์ที่ใช้ในสูติกรรมมี 2 ชนิดคือ


  1. การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางหน้าท้องใช้ในการตรวจครรภ์ในระยะไตรมาสที่ 2 – 3 เพื่อที่จะได้เห็นภาพของทารกและรกที่ชัดเจนมากขึ้น
  2. การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดใช้ตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก เพื่อที่ได้เห็นภาพ ของปากมดลูก มดลูก ถุงน้ำคร่ำ ตัวอ่อน และโครงสร้างลึกๆของอุ้งเชิงกราน

    การตรวจอัลตร้าซาวด์ทั่วๆไปในการตรวจครรภ์จะใช้เพื่อ
  • คาดคะเนอายุครรภ์
  • ตรวจการเจริญเติบโตของทารก
  • ดูจำนวนของทารก
  • ตรวจครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
  • สงสัยว่ามีความผิดปกติ หรือทารกตายในครรภ์
  • เพื่อบอกตำแหน่งของรกและความผิดปกติของรก
  • เพื่อแยกการตั้งครรภ์นอกมดลูกและความผิดปกติในการตั้งครรภ์อื่นๆ
  • มีเลือดออกผิดปกติ


จำนวนวันหลัง
ประจำเดือนครั้งสุดท้าย
ระดับของฮอร์โมน hCG
สิ่งที่เห็นได้จากการตรวจ
อัลตร้าซาวด์
34 +/- 2 914 +/- 106 ถุงน้ำคร่ำ
40 +/- 3 3783 +/- 683 fetal pole
47 +/- 6 3178 +/- 2898 หัวใจเด็กเต้น


ตารางที่ 1.2 แสดงผลการตรวจอัลตร้าซาวด์ในระยะต่างๆของการตั้งครรภ์



การตรวจชิ้นเนื้อจากรกของเด็ก (CVS)


CVS (Chorionic villous sampling) คือ การดูดเอาตัวอย่างของรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม เช่นเดียวกันกับการตรวจน้ำคร่ำ สามารถบอกความผิดปกติของโครโมโซม เช่น Down’s syndrome ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง) โดยปกติการตรวจชิ้นเนื้อจากรกของเด็กสามารถทำการตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 2 เดือนขึ้นไป
การเตรียมตัวเพื่อทำการตรวจ การตรวจชิ้นเนื้อจากรกของเด็กไม่จำเป็นต้องให้ยาสลบ อาจใช้เพียงยานอนหลับชนิดฉีดเข้ากระแสเลือด ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้วิสัญญีแพทย์และต้องทำในห้องผ่าตัด ผู้ป่วยต้องงดน้ำงดอาหารก่อนทำอย่างน้อย 6 ชั่วโมง และนอนพักเพื่อสังเกตอาการในโรงพยาบาลอย่างน้อยหนึ่งวัน
วิธีการตรวจชิ้นเนื้อจากรกของเด็ก แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนหลับก่อนแล้ว แพทย์จะทำการตรวจครรภ์โดยจะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อคาดคะเนอายุครรภ์ที่แน่นอน จำนวนของทารก การเต้นของหัวใจ ท่าและตำแหน่งของทารก ตำแหน่งของรกว่าอยู่ที่ใดเพื่อป้องกันไม่ให้ไปถูกทารก สายสะดือ หรือรก หลังจากนั้นแพทย์จะทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกก่อนโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแล้วใส่เครื่องมือขยายช่องคลอด (Speculum) เข้าไปในช่องคลอดเพื่อให้สามารถมองเห็นปากมดลูกได้ แล้วแพทย์จะใช้ท่อพลาสติกเล็กๆสอดผ่านช่องคลอดเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อดูดเอาชิ้นเนื้อจากรกเด็กมาเพียงเล็กน้อยโดยดูตำแหน่งของรกเด็กผ่านทางการตรวจอัลตร้าซาวด์ ตลอดเวลาเพื่อเป็นการป้องกันการที่ท่อไปดูดส่วนอื่นของเด็ก เมื่อได้ตัวอย่างของชิ้นเนื้อจากรกเด็กมาแล้วก็จะนำไปตรวจหาความผิดปกติในห้องทดลองต่อไป และผลการตรวจจะทราบภายใน 3 วัน



การตั้งครรภ์ในเดือนที่่ 3



พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์



ขนาดของมดลูกในขณะนี้โตขึ้นเรื่อยๆ เปรียบเสมือนห้องที่กว้างขวางสำหรับทารกที่อยู่ในนั้นจะลอยไปมาในน้ำคร่ำอย่างสุขสบาย อบอุ่น และเคลื่อนไหวอย่างไร้น้ำหนัก เมื่อสิ้นสุดเดือนที่สามนี้ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 18 กรัม ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ทารกในตอนนี้มีรูปร่างเป็นมนุษย์ตัวจิ๋ว

เนื่องจากกล้ามเนื้อและระบบประสาทเริ่มทำงานได้สัมพันธ์กัน ดังนั้น ทารกของคุณจะเริ่มเคลื่อนไหวเป็นครั้งแรก ซึ่งอาจเป็นเหมือนการทดลองเคลื่อนไหวดูก่อน หลังจากนั้นจะเคลื่อนไหวจริงจังมากขึ้น และรุนแรงขึ้นเมื่อถึงปลายของเดือนที่ 3 นี้ ตอนนี้ทารกจะสามารถเตะ หมุนตัวไปรอบๆ บิดตัว ว่ายน้ำ แม้กระทั่งตีลังกาก็ได้ด้วย ทารกสามารถขยับนิ้วหัวแม่มือ อ้าปาก กลืน ซ้อมทำท่าหายใจเข้าออก หมุนข้อเท้า งอข้อมือและกำปั้นได้ แต่คุณแม่จะยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวต่างๆของทารกในตอนนี้ ต้องรอไปจนกว่าจะถึงเดือนหน้าจึงจะรู้สึกได้

รูปร่างของใบหน้าเริ่มแสดงเค้าโครงที่ชัดเจนแล้วว่าจะเหมือนใครในครอบครัว เริ่มจะมองเห็นส่วนของคาง หน้าผาก และจมูกที่เป็นเพียงปุ่มเล็กๆ ตาทั้งสองข้างจะเข้ามาอยู่ใกล้กันมากขึ้น เปลือกตายาวพอที่จะปิดคลุมตาได้และจะหลับตาอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ตำแหน่งของหูจะเคลื่อนสูงขึ้นมาอยู่ด้านข้างของศีรษะแล้ว และสามารถมองเห็นเป็นรูปร่างใบหูชัดเจน ส่วนหลอดเสียงนั้นจะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วแต่จะยังไม่สามารถก่อให้เกิดเสียงได้

ตอนนี้ทารกอาจจะเริ่มดูดได้แล้ว ปุ่มรับความรู้สึกที่ลิ้นที่จะทำหน้าที่รับรู้รสชาติของอาหารและต่อมน้ำลายมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และเมื่อมีการพัฒนาการกลืนได้แล้วทารกก็จะเริ่มกลืนน้ำคร่ำเข้าไป น้ำคร่ำนี้จะเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหารที่เพิ่งจะสร้างเสร็จใหม่ๆเช่นกัน ในน้ำคร่ำจะมีสารอาหารที่จะช่วยให้ทารกเจริญเติบโต และการกลืนน้ำคร่ำเข้าไปก็จะทำให้ไตเริ่มทำงาน เมื่อไตทำงานมีการกรองเกิดขึ้นทารกก็จะมีการปัสสาวะ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลเพราะปัสสาวะของทารกจะสะอาดปราศจากเชื้อและหมุนเวียนกลับไปเป็นน้ำคร่ำใหม่

ทารกอาจสูดเอาน้ำคร่ำเข้าไปในทางเดินหายใจบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ต้องกังวลเพราะทารกยังไม่มีการหายใจจนกว่าจะออกมาสู่โลกภายนอกเท่านั้น แม้จะพบว่าทารกมีการซ้อมหายใจก็ตาม แต่ออกซิเจนทั้งหมดที่ทารกใช้ได้มาจากคุณแม่ผ่านทางสายสะดือ

อวัยวะเพศเริ่มปรากฏรังไข่ และอัณฑะได้ถูกสร้างขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้วภายในร่างกาย แต่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกยังไม่ชัดเจนและยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก ดังนั้น การตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์อาจจะยังไม่เห็นว่าทารกเป็นเพศใดได้ ผิวหนังของทารกจะเป็นสีแดงและบางใสมากจนเห็นเครือข่ายของเส้นเลือดอย่างชัดเจน ส่วนนิ้วมือและนิ้วเท้าตอนนี้มีห้านิ้วชัดเจนไม่ติดกันแล้ว และเริ่มมีการสร้างเล็บอีกด้วย

ตอนนี้หัวใจสามารถทำงานได้สมบูรณ์ สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้ หัวใจเต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอแต่เร็วมาก เร็วกว่าการเต้นของหัวใจแม่ คุณแม่อาจจะได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจลูกด้วยหากคุณหมอทำการตรวจด้วย Doppler

เซลล์กระดูกที่ได้วางตัวไว้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์นั้นได้มีการพัฒนาด้านโครงสร้างเสร็จเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามกระบวนการพัฒนากระดูกนั้นใช้เวลานานมาก โครงสร้างต่างๆของกระดูกและข้อนั้นจะสร้างเมื่อทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา แต่ความแข็งแรงของกระดูกจะมีการพัฒนาต่อไปจนสมบูรณ์ก็เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

ในปลายสัปดาห์ที่ 12 นี้ รกของทารกได้มีการพัฒนาจนสมบูรณ์แล้วและทำหน้าที่แทนถุงไข่แดงในการนำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงทารก และยังเป็นที่แลกเปลี่ยนของเสียจากเลือดทารกไปยังมารดา




การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่



ในเดือนที่ 3 นี้ คุณแม่จะเริ่มปรับตัวให้เข้ากับการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น คุณแม่หลายท่านตั้งตารอคอยกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ เนื่องจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆเกิดขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปด้วยดีมากยิ่งขึ้น ตอนนี้เสื้อผ้าอาจเริ่มคับเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ใครๆจะยังดูไม่ออกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ และยังต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์เลยทีเดียวกว่าคุณจะต้องการเสื้อผ้าสำหรับการตั้งครรภ์อย่างจริงจัง
หากคุณแม่มีความรู้สึกอ่อนล้าจากผลของการแพ้ท้อง ข่าวดีก็คือจากสัปดาห์ที่ 12 นี้เป็นต้นไป อาการแพ้ท้องจะเริ่มทุเลาลง แต่อย่าคาดหวังว่าทุกอย่างจะต้องสมบูรณ์แบบ มันอาจไม่ได้ดีขึ้นภายในวันสองวันนี้ แต่อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ก็ได้
ในระยะนี้คุณแม่อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดจากการตั้งครรภ์ (ประมาณ 1.2 kg / 4 ? lb) แม้ว่าบางทีน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นน้อยกว่านี้เนื่องจากผลของการแพ้ท้อง แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป และเริ่มรับประทานอาหารที่มีคุณค่าให้มากขึ้นก็พอ




คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่


ระวังเรื่องการใช้ยา



การใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง คุณแม่ไม่ควรไปซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด หากคุณแม่มีโรคประจำตัวใดๆควรแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย และหากไม่สามารถมาพบคุณหมอได้ในกรณีเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาจากหมอท่านอื่น ควรบอกคุณหมอด้วยว่าคุณกำลังตั้งครรภ์


การดูแลผิวพรรณป้องกันท้องลาย


ท้องลายเกิดจากการที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้องมีการขยายออกอย่างรวดเร็วในขณะตั้งครรภ์ และผิวหนังไม่มีความยืดหยุ่นดีพอก็จะแตกลายได้ จะทำให้คันยิ่งถ้าไปเกาท้องก็จะลายมากขึ้น และเมื่อคลอดผิวหนังมีการหดกลับลงอย่างรวดเร็วก็จะทำให้ลายมากขึ้นเหมือนคนที่อ้วนแล้วผอมอย่างรวดเร็ว คนท้องทุกคนไม่จำเป็นที่จะต้องท้องลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพผิวหนังของแต่ละคนด้วย
การป้องกันท้องลายสามารถทำได้โดยทาครีมชนิดเข้มข้นและนวดเบาๆ ทาครีมให้ทั่วบริเวณท้อง ต้นขา หน้าอก ก้น ทาบ่อยๆได้ยิ่งดี หากผิวที่แตกจะทำให้คันแต่ไม่ควรเกาเพราะจะทำให้ท้องลายมากขึ้น เวลานอนให้ใช้หมอนเล็กๆหลายๆใบหนุนท้องเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักไว้ จะทำให้ท้องลายน้อยลงโดยเฉพาะบริเวณท้องด้านข้างท้องลายมักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 เนื่องจากขนาดของท้องจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเดือนที่ 3 นี้คุณแม่จะยังไม่พบว่าท้องลาย แต่ก็ควรทาครีมอย่างสม่ำเสมอทุกๆวันตั้งแต่นี้เป็นต้นไปเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว เตรียมความพร้อมเมื่อผิวต้องขยายออกอย่างรวดเร็วจะได้ไม่แตกลาย
นอกจากนี้คุณแม่ควรดูแลเล็บไม่ให้เล็บยาวเพราะจะทำให้เผลอเกาท้องได้ การตัดเล็บควรตัดเป็นเส้นตรงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเล็บขบ ควรแช่มือและเท้าในน้ำอุ่นสักสิบนาทีจะทำให้เล็บอ่อนลงจะช่วยให้ตัดง่ายขึ้น


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้


ภาวะเครียด



ความเครียด ความวิตกกังวลในการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจากการที่การตั้งครรภ์เป็นสิ่งใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และคุณแม่ยังมีความรักความห่วงใยต่อทารกในครรภ์ คุณแม่อาจไม่เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ซึ่งล้วนเป็นประสบการณ์ใหม่ เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นหากมีมากเกินไปก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารกได้ มีรายงานการวิจัยที่รายงานระบุว่า ความเครียดมีผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง คลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักน้อยเมื่อคลอด เป็นต้น การลดความเครียดนี้สามารถทำได้โดยปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำต่างๆ
การที่คุณแม่มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากขึ้นจะทำให้คุณแม่สามารถเตรียมรับ หรือเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าและสามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่า และความเครียดของคุณแม่ก็จะน้อยลง คุณแม่อาจพูดคุยถึงสิ่งที่วิตกกังวลกับคุณพ่อ หรือคุณยาย หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อนก็อาจช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นได้


การแท้งบุตร


การแท้งคือ การที่มีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนระยะที่ทารกจะสามารถมีชีวิตอยู่ในโลกภายนอกได้ คุณแม่อาจมีคำถามว่าแล้วเมื่ออายุครรภ์เท่าใดที่ทารกจึงจะสามารถมีชีวิตรอดได้หากมีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนกำหนด คำตอบอาจไม่ตรงกันในแต่ละประเทศ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ช่วยทารกที่คลอดก่อนกำหนดให้มีชีวิตอยู่รอดได้นั้นแตกต่างกัน เช่นทารกที่คลอดในสหรัฐอเมริกาตอนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์สามารถมีชีวิตรอดได้ ดังนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงถือเกณฑ์ที่ว่า หากมีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์ไม่ถึง 20 สัปดาห์และทารกมีน้ำหนักน้อยกว่า 500 กรัมถือเป็นการแท้ง ส่วนในประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยจะถือว่าการแท้งหมายถึงมีการสิ้นสุดการตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์หรือทารกมีน้ำหนักน้อยกว่า 1000 กรัม



สาเหตุของการแท้ง


  • ความผิดปกติของทารก ทารกที่แท้งในช่วงไตรมาสแรกมักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของ โครโมโซมของทารก สาเหตุของการแท้งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมของ ทารกและการตั้งครรภ์ไข่ฝ่อ (Blighted ovum) คือ การท้องที่มีการฝังตัวของรกแต่ไม่เกิดตัวเด็ก ซึ่งเชื่อว่าเป็นการสุ่มเลือกของธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่มีความผิดปกติหรืออ่อนแอก็จะตายไป
  • ความผิดปกติของฮอร์โมน พบว่ามารดาที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนต่ำ โดยฮอร์โมนมีผลต่อคุณภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวอ่อน และเป็นแหล่งอาหารสำหรับ การเจริญเติบโต หากฮอร์โมนน้อยเยื่อบุโพรงมดลูก ก็มีสภาพไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ตัวอ่อนก็เจริญต่อไม่ได้จะทำให้เกิดการแท้งขึ้น
  • มีความผิดปกติของกายวิภาคของมดลูกและ ปากมดลูกของมารดา เช่นโพรงมดลูกมี ผนังกั้นตรงกลางมีมดลูกสองอัน ปากมดลูกสองอัน ช่องคลอดสองอัน หรือมีเนื้องอกของมดลูก
  • ชนิดของเลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน ซึ่งมักพบในชาวผิวขาวมากกว่าผิวเหลือง
  • การติดเชื้อ เช่น ซิฟิลิส
  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ
  • ความเครียด นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานหนัก ยกของหนัก และการกระทบกระเทือน



    ประเภทของการแท้ง


    • การแท้งคุกคาม คือ การที่มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยที่ปากมดลูกยังปิดอยู่ เป็นอาการแสดงว่ากำลังจะแท้ง หากมาพบแพทย์ทันเวลาและอาการไม่รุนแรงมาก ประมาณ 50% ของผู้ป่วยสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้โดยที่แพทย์จะต้องดูแลเป็นพิเศษ แพทย์อาจให้ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อจนกว่าเลือดจะหยุด หรืออาจต้องทำการเย็บผูกปากมดลูก แพทย์อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดการบีบตัวของมดลูก อาจต้องนอนพักในโรงพยาบาลชั่วระยะเวลาหนึ่ง ผู้ป่วยต้องนอนพักมากๆ หลีกเลี่ยงการทำงานหนักโดยเด็ดขาด หลีกเลี่ยงการเดินทาง การมีเพศสัมพันธ์ และการสวนถ่ายอุจจาระ


    • การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การที่มีเลือดออกทางช่องคลอด มีน้ำคร่ำรั่วออกมา ปากมดลูกเปิดขยายตัวออก อาจมีชิ้นส่วนของรกออกมาจุกอยู่ที่ปากมดลูก เมื่อมาถึงระยะนี้แล้วจะไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ ในที่สุดก็จะแท้งออกมาเอง หรือหากมาพบแพทย์ แพทย์อาจทำการดูดเอาทารกออกมาให้เพื่อให้แท้งครบ


    • การแท้งไม่ครบ คือ การแท้งที่มีเลือด น้ำคร่ำ และชิ้นส่วนของการตั้งครรภ์ เช่น ทารก รก ถุงน้ำคร่ำบางส่วนหลุดออกมา มีบางส่วนค้างอยู่ภายในมดลูก ซึ่งการแท้งชนิดนี้จะทำให้มดลูกบีบตัวได้ไม่ดี เลือดจะไหลออกมาไม่หยุดจนทำให้ช็อกได้ ดังนั้น แพทย์จะให้น้ำเกลือหรือให้เลือดเพื่อทดแทนปริมาตรของเลือดในระบบไหลเวียนเลือดแล้วทำการดูดเอาชิ้นส่วนที่เหลือออกมาให้หมด หลังจากนั้นมดลูกจะบีบตัวได้ดีขึ้นเลือดก็จะหยุดไหลไปเอง


    • การแท้งค้าง คือ การแท้งที่ทารกเสียชีวิตไปแล้วแต่ยังคงค้างอยู่ในโพรงมดลูกต่อไป 4 – 8 สัปดาห์ อันตรายที่เกิดขึ้นจากการแท้งค้างก็คือมารดาจะเกิดภาวะเลือดแข็งตัวช้าผิดปกติ ทำให้มีเลือดออก เช่นเลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล มีจุดจ้ำเลือดตามผิวหนังทั่วตัว มีบาดแผลแล้วเลือดหยุดยาก วิธีการรักษาแท้งค้าง คือ ต้องรักษาภาวะเลือดแข็งตัวช้าผิดปกติก่อนแล้วจึงทำการดูดเอาทารกและรกออกมา


      การระมัดระวังป้องกันการแท้ง
      • ฝากครรภ์กับสูติแพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพโดยเร็วที่สุดเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
      • มารับการตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง
      • เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด มีน้ำคร่ำออกมาทางช่องคลอด หรือปวดท้องให้รีบมาพบแพทย์
      • ระมัดระวังเรื่องการทำงานหนัก ยกของหนัก การใส่รองเท้าส้นสูง การหกล้ม การกระทบกระเทือนต่างๆ
      • รับประทานอาหารให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ปริมาณมากเพียงพอ ระมัดระวังในการใช้ยาโดยเฉพาะยาระบาย งดสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
      • ทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน นอนให้หลับ



      การตรวจต่าง ๆ


      การตรวจปัสสาวะ



      เป็นการตรวจหาระดับน้ำตาล โปรตีน การติดเชื้อ คุณเพียงแต่ปัสสาวะใส่ในภาชนะที่ทางโรงพยาบาลได้จัดเตรียมเอาไว้ให้แล้วเขียนชื่อของคุณแม่ลงไปในสติกเกอร์สำหรับติดบนภาชนะ เมื่อคุณแม่ติดสติกเกอร์ที่มีชื่อคุณแม่อยู่เสร็จเรียบร้อยแล้วก็เพียงแต่ส่งให้เจ้าหน้าที่เท่านั้น การตรวจปัสสาวะแพทย์อาจให้ทำการตรวจทุกครั้งที่มารับการตรวจครรภ์ หรืออาจให้ตรวจเฉพาะบางครั้งก็ได้ ซึ่งสามารถตรวจได้ในทุกระยะของการตั้งครรภ์



      การตรวจเลือด


      ในเดือนที่ 3 นี้การตรวจเลือดจะกระทำเพื่อดูการติดเชื้อ ภาวะโลหิตจาง ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีปริมาตรของเลือดเพิ่มมากขึ้น ของเหลวและโปรตีนในเลือดจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นประมาณ 40 % ส่วนเม็ดเลือดแดงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 20% แต่พลาสม่าอาจเพิ่มขึ้นไม่เพียงพอซึ่งอาจทำให้คุณมีภาวะโลหิตจางได้ การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจางจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น หากมีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นก็จำเป็นที่จะต้องมีการให้ยารับประทาน แต่ถ้าหากเป็นรุนแรงก็จำเป็นต้องให้เลือด

      นอกจากนี้การตรวจเลือดเพื่อหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมันอาจจำเป็นหากคุณแม่จำไม่ได้ว่า เคยฉีดวัคซีนมาก่อนหรือไม่ หากคุณแม่ไม่มีภูมิคุ้มกันและติดเชื้อในขณะที่ตั้งครรภ์ก็อาจทำให้ทารกมีความพิการได้ อย่างไรก็ตามแต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์ไปแล้วและยังไม่มีภูมิคุ้มกันไม่ต้องกังวล เนื่องจากไม่มีการระบาดของโรคนี้มานานมากแล้ว ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ต้องขอร้องให้คุณหมอฉีดวัคซีนให้ระหว่างที่ตั้งครรภ์เพราะจะทำให้ทารกติดเชื้อและพิการได้ หากตรวจพบว่าคุณมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะต้องตรวจว่าคุณมีตัวเชื้อ (antigen) ของไวรัสหรือไม่ หากมีเมื่อคลอดเราก็เพียงแต่ฉีดยาให้กับทารกหลังคลอดภายในเวลาไม่เกินสองชั่วโมงเท่านั้นทารกก็จะไม่ติดเชื้อ การตรวจเลือดมักทำในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์และตรวจซ้ำอีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์



      การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 4


      พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์



      ทารกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อวัยวะต่างๆบนใบหน้าที่มีการพัฒนาไปจนเกือบสมบูรณ์ มีแขนขานิ้วมือนิ้วเท้าที่ชัดเจน และมีรูปร่างที่ได้สัดส่วนมากขึ้น ทำให้ทารกในขณะนี้ดูมีรูปร่างของมนุษย์มากขึ้น ความยาวจากศีรษะถึงสะโพกตอนนี้จะยาวประมาณ 12 เซนติเมตร (4 3/4 นิ้ว) น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 130 กรัม (4 1/2 ออนซ์)

      แม้ว่าทารกจะยังตัวเล็กมากๆ แต่แขนขาและนิ้วมือนิ้วเท้านั้นมีการพัฒนารูปร่างไปมาก และได้สัดส่วนเกือบสมบูรณ์ ตอนนี้ขาเริ่มยาวมากกว่าแขน และที่ปลายนิ้วมือมีเล็บขึ้นมาแล้ว อีกทั้งเริ่มมีลายนิ้วมือแล้วด้วย แต่เล็บที่นิ้วเท้าจะงอกตามมาทีหลัง

      เนื่องจากในตอนนี้ทารกยังไม่มีเนื้อเยื่อชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ดังนั้น จะดูค่อนข้างผอม และผิวหนังที่ห่อหุ้มร่างกายอยู่นั้นก็บางมากเสียจนมองทะลุเข้าไปเห็นเส้นเลือดที่วิ่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเป็นเครือข่ายอยู่ภายใต้ได้

      ใบหน้าของทารกเริ่มมีคิ้วและขนตาบางๆขึ้น มีขนขึ้นตามใบหน้าตามตัว กระดูกของใบหน้าเริ่มมีโครงสร้างที่สมบูรณ์และได้สัดส่วนมากขึ้น การตรวจอัลตร้าซาวด์ในเดือนที่ 4 นี้จะสามารถมองเห็นอวัยวะเล็กๆบนใบหน้า เช่น จมูกและปากได้ชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้มีการพัฒนาขึ้นมาแล้ว ดังนั้นทารกจะสามารถแสดงสีหน้าได้ ยิ้มได้ ขยับอวัยวะต่างๆบนใบหน้าได้ แต่ยังไม่สามารถควบคุมการแสดงสีหน้าได้ ถึงแม้ว่าเปลือกตาจะยังคงปิดสนิทอยู่เช่นเดิมแต่ดวงตาของทารกจะเริ่มมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างได้แล้ว ที่บริเวณลิ้นของทารกก็เริ่มมีการสร้างปุ่มรับรสขึ้นมาอีกด้วย หูทั้งสองข้างจะเคลื่อนขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและภายในสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์นี้ กระดูกชิ้นเล็กๆที่อยู่ภายในหูของทารกที่แข็งตัวขึ้นจะทำให้ทารกสามารถได้ยินเสียงเป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูดของคุณแม่เอง เสียงหัวใจแม่เต้น หรือเสียงของระบบทางเดินอาหารของแม่

      ในเดือนที่ 4 นี้ความแข็งแรงในการเคลื่อนไหวร่างกายของทารกมีมากขึ้นตามการพัฒนาของระบบประสาท ทารกจะเริ่มสร้างเนื้อเยื่อชั้นไขมันที่มีชื่อเรียกว่า Myelin ขึ้นมาเคลือบเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างกล้ามเนื้อและสมองซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก เนื่องจากเมื่อมีการสร้างระบบประสาทเสร็จสมบูรณ์ การรับส่งข้อมูลจากกล้ามเนื้อสู่สมองและจากสมองสู่กล้ามเนื้อก็จะสามารถทำงานได้สมบูรณ์ นั่นหมายถึงมีการเคลื่อนไหวได้อย่างประสานสัมพันธ์กัน ทารกจะมีการหลับการตื่น มีการเคลื่อนไหว ยืดและงอแขนขาได้ เตะหรือตีลังกาก็ได้ ทารกจะเริ่มดูดนิ้วหัวแม่มือ กำมือและแบมือ แต่นี่เป็นเพียงการซ้อมการเคลื่อนไหวร่างกายเท่านั้น การเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กันนั้นยังต้องฝึกอีกมากหลังจากการคลอด

      ทารกจะกลืนน้ำคร่ำเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร และเริ่มมีการกรองที่ไตเป็นครั้งแรก แล้วจะปัสสาวะออกมาหมุนเวียนเป็นน้ำคร่ำอีก ทารกในครรภ์จะปัสสาวะออกมาประมาณทุกๆหนึ่งชั่วโมง

      ภายในถุงน้ำคร่ำ ทารกจะถูกล้อมรอบด้วยน้ำคร่ำ ซึ่งจะช่วยให้ทารกลอยไปมาอย่างอิสระราวกับอยู่ในสระน้ำอุ่น เพื่อให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวยืดแข้งยืดขาเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้อย่างเต็มที่ โดยมีสายสะดือที่เปรียบเสมือนเป็นท่อออกซิเจนสำหรับนักดำน้ำ บางครั้งทารกอาจหมุนศีรษะลง แล้วอีกนาทีต่อมาอาจหมุนเอาขาลง แต่ว่าที่คุณแม่จะไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวนี้เนื่องจากน้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวทารกจะกระจายแรงดันไปรอบด้านเท่าๆกันจนทำให้คุณแม่ไม่อาจรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเล็กๆนี้ได้

      หัวใจของทารกมีการสูบฉีดเลือดอย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น และเสียงดังพอที่คุณจะสามารถได้ยินเสียงของการเต้นของหัวใจทารกได้จากการใช้หูฟังของแพทย์แนบกับหน้าท้อง ทารกมีการซ้อมหายใจ จากการตรวจอัลตร้าซาวด์จะเห็นภาพบริเวณทรวงอกของทารกมีการเคลื่อนไหว ขึ้นและลงเป็นจังหวะสม่ำเสมอ

      เลือดของทารกมีการสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกายเล็กๆ ด้วยความเร็วประมาณ 4 ไมล์ต่อชั่วโมง เลือดจากทารกจะออกสู่เส้นเลือดแดงใหญ่สองเส้นไปยังสายสะดือไปยังรกซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับจานมีเครือข่ายเส้นเลือดของมันเอง และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 3 นิ้วเท่านั้น ในตอนนี้เมื่อเลือดออกไปสู่รกก็จะมีการแลกเปลี่ยนอาหารและออกซิเจนกับเลือดแม่แล้วจึงไหลเวียนกลับมายังเส้นเลือดดำ 1 เส้นกลับสู่สายสะดือแล้วเข้าสู่ร่างกายทารกอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลา ประมาณ 30 วินาที

      รกเปรียบเสมือนอวัยวะที่ทำหน้าที่หลายๆอย่าง เช่น ทำหน้าที่เป็นปอด ไต ลำไส้ ตับ และผลิตฮอร์โมน รกมีสองด้าน คือ ด้านแม่และด้านลูก รกทำหน้าที่ให้สารอาหารและออกซิเจนผ่านจากแม่ไปสู่ทารก และรับของเสียต่างๆจากทารกเช่นปัสสาวะของทารกและคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่ร่างกายแม่ แล้วตับและไตของแม่ก็จะทำหน้าที่กำจัดของเสียเหล่านั้น

      สายสะดือของทารกยาวพอๆกับทารกและโตขึ้นเรื่อยๆเช่นเดียวกับทารก โดยเฉลี่ยความยาวของสายสะดือของทารกเมื่อคลอดจะมีขนาดยาวประมาณ 24 นิ้ว แต่อาจจะสั้นกว่านี้ได้ประมาณ 5 นิ้วและสามารถยาวได้ถึง 48 นิ้วเลยทีเดียว ซึ่งแรงดันของเลือดจะช่วยให้สายสะดือคงรูปเป็นเส้นตรงป้องกันการเกิดเป็นปม

      อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกได้มีการพัฒนารูปร่างอย่างชัดเจน ตอนนี้ทารกจะเป็นเพศใดก็สามารถมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นจากการตรวจอัลตร้าซาวด์ สำหรับทารกเพศหญิงนั้นจะมีการสร้างรังไข่ขึ้นมา ซึ่งเมื่อเริ่มแรกภายในรังไข่จะมีการสร้างเซลล์ไข่ขึ้นมาจำนวนมาก ในระยะ 16 สัปดาห์นี้ภายในรังไข่จะมีเซลล์ไข่บรรจุอยู่ประมาณ 2 ล้านฟอง แต่จะมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ จนเมื่อคลอดทารกจะมีเซลล์ไข่เหลืออยู่ประมาณ 1 ล้านฟอง และเมื่อเติบโตขึ้นเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็จะมีจำนวนเซลล์ไข่ลดลงไปอีก เมื่ออายุ 17 ปีเด็กผู้หญิงจะมีเซลล์ไข่เหลืออยู่ประมาณ 2 แสนฟองเท่านั้น แต่มันก็เพียงพอสำหรับการมีบุตรได้แล้ว




      การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่



      ในเดือนที่สี่นี้คุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างชัดเจน ขนาดของหน้าท้องจะโตขึ้นจนเห็นได้ชัด มดลูกมีเลือดมาเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นเป็น 5 เท่า จากก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยการเจริญเติบโตของทารก ไตมีเลือดผ่านมากขึ้น 25% อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และมีอัตราการสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้น 30-50% เทียบกับก่อนตั้งครรภ์ และคุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 2.45 – 4.5 kg / 5-10 lb เสื้อผ้าอาจเริ่มคับขึ้นอีก คุณแม่จะต้องเปลี่ยนมาใช้เสื้อผ้าที่ซื้อเตรียมเอาไว้ ในเดือนนี้จะเริ่มมีการเลี่ยนแปลงของสีผิวบริเวณหน้าท้องซึ่งจะมีลักษณะเป็นเส้นที่มีสีเข้มกว่าสีผิวจริงของคุณแม่ตรงกึ่งกลางของหน้าท้อง บริเวณหัวนมมีสีเข้มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และคุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกอย่างชัดเจนแล้ว ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น อาการแพ้ท้องต่างๆจะหมดไปโดยสิ้นเชิง คุณแม่จะมีความอยากอาหารมากขึ้น ดังนั้นจงให้ความสนใจกับสิ่งที่ร่างกายคุณแม่ต้องการ์




      คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่


      ในช่วงนี้คุณแม่อาจพบกับปัญหาของการท้องผูกและริดสีดวงทวาร อาหารว่างจำพวกผลไม้ หรือที่ทำจากธัญพืชต่างๆ จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น เนื่องจากตอนนี้คุณแม่อาจเริ่มมีปัญหาเรื่องท้องผูก ผลไม้แห้งให้ทั้งน้ำตาล ใยอาหาร และธาตุเหล็ก (แต่ระวังพวกของหมักดองซึ่งควรละเว้น) อาหารเหล่านี้ยังให้คุณค่าสารอาหารมากกว่าอาหารว่างพวกขนมขบเคี้ยว หรือลูกกวาด

      หากคุณแม่เพียงแต่ท้องผูกเนื่องมาจากลำไส้ใหญ่มีการดูดน้ำกลับจากของเสียทำให้อุจจาระแข็งตัวมากขึ้นคุณแม่จึงถ่ายอุจจาระลำบาก คุณแม่ต้องดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นไยเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น การใช้ยาระบายจะต้องให้แพทย์สั่งเท่านั้น เนื่องมาจากยาระบายบางชนิดอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ แต่ถ้าคุณแม่มีปัญหาของริดสีดวงทวารร่วมด้วยจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ ริดสีดวงทวาร คือ เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักที่โป่งพองออกจากการที่ท้องผูกแล้วเบ่งอุจจาระ เส้นเลือดที่โป่งพองออกนี้จะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บขณะถ่ายอุจจาระซึ่งจะทำให้อาการท้องผูกนั้นรุนแรงขึ้นไปอีกด้วย อาการริดสีดวงทวารสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาและการผูกหรือผ่าตัด

      เมื่อตั้งครรภ์คุณแม่อาจรู้สึกหายใจไม่เพียงพอได้เป็นบางครั้ง ไม่ต้องตกใจมันอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากความต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่เพียงแต่ตั้งสติและควบคุมการหายใจให้เป็นจังหวะ หายใจให้ยาวขึ้น ลึกมากขึ้นแล้วคุณแม่จะรู้สึกดีขึ้น

      คุณแม่อาจพบว่าบ่อยครั้งขณะที่แปรงฟันจะมีเลือดบนแปรงสีฟัน เรื่องนี้แก้ไขได้ง่ายมากเพียงแต่เปลี่ยนมาใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่มกว่า แต่ถ้าหากคุณแม่มีปัญหาอื่นๆเกี่ยวกับฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เท่านั้น เมื่อคุณแม่ไปพบทันตแพทย์ต้องบอกคุณหมอด้วยว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ คุณหมอจะได้ให้การดูแลเป็นพิเศษ เช่น หากว่าคุณแม่จำเป็นต้อง X – Ray ฟัน คุณหมอจะใช้ที่กำบังไม่ให้รังสีตกกระทบมายังท้องของคุณแม่ได้


      ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้


      มีตกขาวเหนียวข้น


      หากคุณแม่มีตกขาวที่เหนียวข้นมากขึ้นเหมือนในช่วงก่อนจะมีรอบเดือนไม่ต้องกังวล เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่การติดเชื้อหรือการอักเสบ ตราบใดที่ไม่มีสีผิดปกติหรือกลิ่นเหม็นผิดปกติ ตกขาวนี้อาจมีมากจนคุณแม่ต้องใช้แผ่นอนามัยเพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น แต่อย่าใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไปในช่องคลอดเพราะจะมีการสะสมของเชื้อโรคได้



      การติดเชื้อของช่องคลอด


      คุณแม่อาจมีการติดเชื้อในช่องคลอดได้ในขณะที่ตั้งครรภ์ ไม่วาจะเป็นแบคทีเรีย ยีสต์ หรือเชื้อรา ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะรักษาให้หายก่อนคลอด เนื่องจากการติดเชื้อที่ช่องคลอดนี้ไม่มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่อาจทำให้ทารกติดเชื้อได้ในระหว่างการคลอดทางช่องคลอด

      คุณแม่ต้องไปพบแพทย์เมื่อมีการอักเสบ บวมแดง หรือคันบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ มีตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นจากช่องคลอด เพื่อตรวจหาสาเหตุ แยกจากการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สารคัดหลั่งจากช่องคลอดจะถูกนำไปตรวจด้วย

      คุณแม่จะต้องรักษาความสะอาดของร่างกายมากขึ้น และหลังจากปัสสาวะหรืออาบน้ำต้องใช้ผ้านุ่มหรือกระดาษทิชชูนุ่มๆซับบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ให้แห้งสนิท อย่าใช้แป้งโรยบริเวณนั้น และรักษาความสะอาดของชุดชั้นใน ต้องตากแดดให้แห้งสนิทก่อนใส่


      แสบลิ้นปี่ (Heartburn)



      เป็นอาการที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหาร เนื่องมาจากการที่มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นดันกระเพาะอาหารขึ้นไป และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ทำให้กล้ามเนื้อของหลอดอาหารขยายตัว จึงมีกรดหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปได้ ซึ่งจะทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ และบริเวณทรวงอก

      วิธีการที่จะช่วยให้อาการเหล่านี้ทุเลาทำได้โดยหลีกเลี่ยงอาหารทอด และอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง ดื่มน้ำมากๆจะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร และอย่ารับประทานอาหารเมื่อคุณแม่กำลังจะเข้านอน หรือกำลังจะนอนพักตอนกลางวัน การนอนในท่าที่ศีรษะสูงอาจช่วยลดอาการลงได้ และอาจจำเป็นต้องใช้ยาลดกรดตามที่แพทย์สั่ง


      การตรวจต่าง ๆ


      การตรวจกรองทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติโดยวิธีการตรวจ Triple Marker


      โรค Down syndrome เป็นความผิดปกติของทารกแรกคลอดซึ่งมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ข้าง พบได้ประมาณร้อยละ 0.75 ของทารกแรกคลอดมีชีวิตทั้งหมด ซึ่งหญิงตั้งครรภ์แต่ละคนจะมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน โดยหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีจะมีอัตราเสี่ยงมากว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยดังนี้



      ช่วงอายุ (ปี)
      พบอัตราเสี่ยง
      18-34
      0.5%
      35-39
      1.0%
      40-44
      1.5%
      > 45
      4-6%


      ตารางที่ 4.1 แสดงความสัมพันธ์ของอายุมารดาที่เพิ่มขึ้นต่ออัตราเสี่ยงที่พบทารกมีความผิดปกติ



      การตรวจวินิจฉัยและการประเมินความเสี่ย


      โดยทั่วไปแล้วการตรวจน้ำคร่ำยังถือเป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ แต่เนื่องจากวิธีการเจาะน้ำคร่ำนี้อาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้จึงไม่เหมาะที่จะทำในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย โดยแพทย์จะทำการตรวจน้ำคร่ำในหญิงที่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี หรือมีความเสี่ยงที่จะมีบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมสูงเท่านั้น

      ดังนั้นปัจจุบันวิธีการตรวจคัดกรองที่จัดว่าเป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยสูง และมีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ทุกราย คือ การตรวจเลือดแม่ โดยการตรวจทางชีวเคมี ได้แก่ การตรวจ MSAFP, beta hCG และ UE3 ซึ่งจะสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ถูกต้องถึง 70% (Detection rate) วิธีนี้มีความแม่นยำสูง ที่สำคัญที่สุด คือ มีความปลอดภัยสะดวกรวดเร็ว


      Triple marker ประกอบด้วยการตรวจ


      1. Alpha-Fetoprotein (AFP) สามารถตรวจทารกในครรภ์ตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป และระดับ AFP ในทารกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะสูงสุดที่อายุครรภ์ประมาณ 13 สัปดาห์ และจะเริ่มลดลงหลังจากคลอด ในขณะที่ระดับ AFP ในเลือดมารดา (MSAFP) จะตรวจพบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 28-32 สัปดาห์ ซึ่งจะตรงข้ามกับระดับ AFP ในทารกที่จะเริ่มลดลง



      ปัจจัยที่มีผลต่อระดับ MSAFP ได้แก่


      1. การปนเปื้อนเลือดทารกเพียงเล็กน้อย จะทำให้ค่าตรวจ MSAFP สูงเกินจริงอย่างมาก
      2. น้ำหนักตัวมารดา
      3. โรคเบาหวานบางชนิด
      4. การตั้งครรภ์แฝด จะทำให้ระดับ MSAFP สูงขึ้นกว่า 2 เท่าของการตั้งครรภ์เดี่ยว
      5. เพศทารก โดยปกติทารกเพศชายจะให้ค่า MSAFP ในเลือดมารดาสูงกว่ามีทารกเพศหญิง
      6. อายุครรภ์ ควรตรวจควบคู่กับการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) เพื่อลดผลบวกลวงและลบลวง
      7. เชื้อชาติ พบว่าคนผิวดำจะมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคนผิวขาว 10-15 % หญิงชาวตะวันออกจะมีระดับต่ำกว่าหญิงผิวขาวประมาณ 6%

      2. hCG ระดับของ hCG ในเลือดมารดาจะสูงสุดที่อายุครรภ์ประมาณ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่ 2 และจะเริ่มคงที่หลัง 22 สัปดาห์ในขณะที่ระดับของ free beta hCG จะมีการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์และจะสูงสุดที่อายุครรภ์ประมาณ 36 สัปดาห์ ในมารดาของทารกกลุ่มอาการดาวน์ ระดับ hCG จะสูงกว่าครรภ์ปกติที่ 2 เท่า หากพิจารณาคู่กับระดับ MSAFP ในการตรวจกรองจะให้ผลถูกต้องเท่ากับร้อยละ 49 และหากพิจารณาร่วมกับอายุด้วยจะให้ผลถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็น 50%





      ปัจจัยที่มีผลต่อระดับ hCG ได้แก่


        • น้ำหนักตัวมารดา หากน้ำหนักมากจะมีระดับ hCG ต่ำกว่าปกติประมาณร้อยละ 13
        • เบาหวานชนิด IDDM ซึ่งจะมีผลให้ระดับ hCG ต่ำกว่าปกติประมาณร้อยละ 13
        • เชื้อชาติ (race) เชื้อชาติ African-Americans and Asian-Americans จะมีระดับสูงกว่าสตรีผิวขาวประมาณร้อยละ 8-9 และร้อยละ 16
        • การตั้งครรภ์แฝด ค่าจะสูงกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยวประมาณ 1.8-2.4 เท่าในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 15-19 สัปดาห์
        • uE3 (Unconjugate Estriol) ค่าของ uE3 ในเลือดมารดาจะเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ ในขณะที่มารดาตั้งครรภ์ทารกกลุ่มดาวน์จะพบค่าเฉลี่ยของ uE3 ในเลือดต่ำกว่าปกติประมาณร้อยละ 21


      คำแนะนำในการตรวจคัดกรอง



      สตรีมีครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี ควรได้รับการตรวจ Triple Screening เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 15-18 สัปดาห์ สำหรับสตรีที่มีอายุครรภ์ >35 ปี ควรใช้วิธีตรวจยืนยันโดยใช้วิธีตรวจน้ำคร่ำ และไม่ควรตรวจกรองเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะมีบุตรที่มีความผิดปกติสูง ทั้งนี้ วิธีการตรวจ triple screening หากตรวจร่วมกับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจให้แม่นยำยิ่งขึ้น ข้อมูลพื้นฐานของหญิงตั้งครรภ์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการตรวจ Triple marker จึงจำเป็นต้องประเมินข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์อย่างครบถ้วนทุกครั้งที่ทำการส่งตรวจ



      การเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis)


      น้ำคร่ำก็คือของเหลว ใส สีเหลืองอ่อนที่อยู่ล้อมรอบทารกในครรภ์ บรรจุอยู่ในถุงน้ำคร่ำอีกทีหนึ่ง น้ำคร่ำประกอบไปด้วยน้ำ 98% และสารต่างๆอีก 2% ซึ่งจะมีเซลล์ของทารกที่หลุดออกมาปนอยู่ด้วย ทารกในครรภ์จะลอยอยู่ในน้ำคร่ำ ระหว่างที่มีการตั้งครรภ์ปริมาณน้ำคร่ำจะเพิ่มมากขึ้นตามการเจริญเติบโตของทารก เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนด (40 สัปดาห์) จะมีปริมาณของน้ำคร่ำประมาณ 1,000 ml. ที่ล้อมรอบทารกอยู่ น้ำคร่ำจะไหลเวียนโดยการเคลื่อนไหวตัวของทารกทุกๆ 3 ชั่วโมง



      น้ำคร่ำมีหน้าที่มากมายสำหรับทารก เช่น


      1. ป้องกันทารกจากการกระทบกระเทือนจากภายนอก
      2. ให้อิสระในการเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อและกระดูกให้เจริญเติบโต
      3. ควบคุมอุณหภูมิที่แวดล้อมทารกให้คงที่
      4. ป้องกันการสูญเสียความร้อนของทารก
      5. เป็นแหล่งของน้ำที่ทารกกลืนเข้าไป
      6. ทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนารูปร่างสมสัดส่วนตามปกติ


      การมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่าปกติจะเรียกว่า Polyhydraminos เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สำหรับการตั้งครรภ์แฝด หรือ อาจเกิดจากความพิการแต่กำเนิดของทารกบางอย่าง เช่น Hydrocephalus และการมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติจะเรียกว่า Oligohydraminos สภาวะดังกล่าวจะเป็นสาเหตุทำให้ทารกไม่เจริญเติบโตตามปกติ



      การตรวจน้ำคร่ำจะเป็นการวินิจฉัย สุขภาพของทารก ความสมบูรณ์ และเพศของทารก การเจาะเอาน้ำคร่ำออกมาตรวจเรียกว่า Amniocentesis
      การตรวจน้ำคร่ำสามารถบอกความผิดปกติของโครโมโซมได้ เช่น Down’s syndrome ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง)

      การตรวจน้ำคร่ำในการตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอดสามารถใช้วินิจฉัยปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาของกลุ่มเลือด หรือ การติดเชื้อ และยังช่วยบอกถึงความพร้อมของทารกว่าเติบโตเต็มที่ ปอดสมบูรณ์พอที่จะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่หากเกิดการคลอดก่อนกำหนด


      โดยปกติการเจาะน้ำคร่ำจะเจาะในไตรมาสที่ 2 – 3 การเจาะน้ำคร่ำจะทำเวลาใดขึ้นอยู่กับเหตุผลที่ต้องการเจาะ เช่น ถ้าต้องการเจาะเพื่อตรวจความผิดปกติของโครโมโซมก็จะเจาะเมื่ออายุครรภ์ได้ 15 –18 สัปดาห์เป็นต้น
      การเจาะน้ำคร่ำไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนทำ ก่อนเจาะ 3 – 4 ชั่วโมงควรดื่มน้ำมากๆเพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณของน้ำคร่ำเพียงพอและไม่จำเป็นต้องให้กระเพาะปัสสาวะเต็มก่อนทำ


      การเจาะน้ำคร่ำ แพทย์จะทำการตรวจครรภ์โดยจะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อคาดคะเนอายุครรภ์ที่แน่นอน จำนวนของทารก การเต้นของหัวใจ ท่าและตำแหน่งของทารก ตำแหน่งของรก ว่าอยู่ที่ตรงไหนเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มแทงไปถูกทารก สายสะดือ หรือรก ก่อนเจาะแพทย์จะเตรียมผิวหนังหน้าท้องบริเวณที่จะเจาะโดยทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อ บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดใต้ผิวหนัง แพทย์จะใช้เข็มเล็กๆ ยาวๆเจาะผ่านผนังหน้าท้อง ผ่านลงไปที่มดลูก เข้าไปในถุงน้ำคร่ำแล้วดูดเอาน้ำคร่ำปริมาณ 15 -30 ml. (1ml. / อายุครรภ์ 1 สัปดาห์) ออกมานำไปปั่นหาเซลล์ของทารกเพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมต่อไป


      การเจาะน้ำคร่ำใช้เวลาเพียง 2 –3 นาที คุณแม่สามารถกลับบ้านได้เลย ไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล ภายใน 12 ชั่วโมงร่างกายจะสร้างน้ำคร่ำมาทดแทนได้เหมือนเดิม การเจาะน้ำคร่ำอาจมีความรู้สึกเจ็บเหมือนถูกเข็มแทงสัก 2 -3 วินาที แต่เมื่อเข็มแทงผ่านลงไปแล้วความรู้สึกนั้นก็จะหายไป ความกลัวเข็มและเกร็งหน้าท้องขณะทำจะทำให้เจ็บมากขึ้น คุณแม่บางท่านจะมีควมรู้สึกเหมือนถูกกดบริเวณท้องน้อยขณะที่มีการดูดน้ำคร่ำออกไป หลังจากเจาะน้ำคร่ำเสร็จแล้วบางรายอาจรู้สึกเกร็งเล็กน้อย การนอนพักสักระยะจะทำให้ดีขึ้น ผลการตรวจจะทราบภายใน 2 – 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของเซลล์ และขั้นตอนในห้องปฏิบัติการ




      การตั้งครรภ์ในเดือนที่่ 5


      พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์



      เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 20 ตอนนี้ทารกจะมีความยาวจากศีรษะถึงสะโพกยาวประมาณ 16 เซนติเมตร (6 1/3 นิ้ว) น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 340 กรัม (12 ออนซ์) อัตราการเจริญเติบโตของขนาดและรูปร่างซึ่งพัฒนาอย่างรวดเร็วมาตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา ตอนนี้เริ่มที่จะช้าลงเล็กน้อยเพื่อพัฒนาส่วนของรายละเอียดและความสมบูรณ์ของอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ปอด ระบบทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

      เปลือกตาทั้งสองข้างยังคงปิดสนิทเช่นเดิม แต่กล้ามเนื้อกลอกตาได้พัฒนาไปอย่างมาก และมีความแข็งแรงพอที่ทารกจะเริ่มกลอกตาจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งได้

      ร่างกายของทารกในเดือนนี้จะดูอ้วนขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว เนื่องจากได้มีการสร้างเนื้อเยื่อชั้นไขมันขึ้นมา ไขมันชนิดที่มีสีออกน้ำตาล เรียกว่า Brown fat จะพบบริเวณต้นคอ ไต และใต้กระดูกทรวงอก ในขณะที่เนื้อเยื่อชั้นไขมันชนิดปกติ White fat นั้นจะปกคลุมพื้นที่ทั่วร่างกาย

      ผิวหนังยังคงมองเห็นทะลุผ่านเข้าไป สามารถมองเห็นเส้นเลือดเป็นเครือข่ายโยงใยอยู่ทั่วร่างกาย ผิวหนังมีขนอ่อนๆ ที่เรียกว่า Lanugo ปกคลุมอยู่ทั่วร่างกาย และมีไขสีขาวขุ่นเคลือบผิวอีกที ไขนี้มีหน้าที่ปกป้องผิวจากน้ำคร่ำนั่นเอง่

      แขนและขาสมบูรณ์มากขึ้น กระดูกมีความแข็งแรงมากขึ้น และตอนนี้ทารกสามารถกำมือเพื่อหยิบจับอะไรต่ออะไรได้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

      ทารกจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นเนื่องจากกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงมากขึ้นและระบบประสาทมีการพัฒนาไปมาก การเคลื่อนไหวจึงสัมพันธ์กันมากขึ้น ในเดือนนี้คุณแม่จะสามารถรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหว และความแข็งแรงนั้น

      เสียงจากโลกภายนอกสามารถทำให้ทารกได้ยิน ทารกจะสามารถจำเสียงของคุณแม่ได้ เสียงของการหายใจ เสียงที่เกิดจากการย่อยอาหาร เสียงหัวใจคุณแม่เต้น สามารถได้ยินอย่างชัดเจนจากภายใน ทารกมีการตอบสนองต่อเสียงจากภายนอก เช่น เมื่อได้ยินเสียงดนตรี ทารกจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นและมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น คุณแม่บางท่านสามารถทราบได้ว่าลูกมีแบบแผนการเคลื่อนไหวร่างกายแตกต่างกันไปตามดนตรีแต่ละประเภท นั่นหมายถึงลูกได้ยินเสียงจากภายนอกแน่นอน


      การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่



      ร่างกายของคุณแม่ขณะนี้จะขยายใหญ่ขึ้น ไม่เพียงแต่หน้าท้องเท่านั้น แต่ต้นขาและน่องก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย ตอนนี้ส่วนยอดของมดลูกจะอยู่ที่บริเวณสะดือ หากลองวางนิ้วลงไปบริเวณนั้นบางทีคุณแม่อาจจะรู้สึกได้ มดลูกจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆและมีขนาดโตขึ้นสัปดาห์ละประมาณ 1 เซนติเมตร สีผิวบริเวณกึ่งกลางของท้องจะเข้มมากขึ้น และคุณแม่อาจพบว่ามีสีผิวเข้มขึ้นเป็นบางจุดบนใบหน้าด้วย คุณแม่จะมีเหงื่อออกมากในช่วงนี้เนื่องจาก อัตราการเผาผลาญพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความร้อน

      เต้านมยังคงขยายใหญ่ขึ้นไปอีก และสีผิวบริเวณหัวนมจะเข้มขึ้น คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างน้อย 6 ปอนด์แล้วในตอนนี้

      เมื่อคุณแม่นอนลงหรือนั่งพัก ในท้องของคุณไม่หยุดพักตามไปด้วย เมื่อทารกมีการเคลื่อนไหวและพัฒนากล้ามเนื้อต่างๆ ในช่วงเย็นๆคุณแม่จะพบว่าเป็นช่วงที่ทารกมักมีการเคลื่อนไหวมากที่สุด

      คุณอาจจะยังคงมีอาการท้องผูกเช่นเดิม อาจมีอาการแสบลิ้นปี่และอาการที่เกิดจากอาหารไม่ย่อย เช่น ท้องอืด เรอ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากผิดปกติ

      คุณแม่ยังคงต้องเข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะบ่อยๆ (คุณแม่จะปัสสาวะถี่ขึ้นอีกครั้งเมื่อถึงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากขนาดของมดลูกที่โตขึ้นจะทำให้ไปกดกระเพาะปัสสาวะ)

      คุณแม่อาจวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาการอ่อนเพลีย กังวล หรือแม้แต่ความหิวก็อาจเป็นสาเหตุ หากคุณแม่มีอาการปวดศีรษะรุนแรงแบบไมเกรน ควรปรึกษาแพทย์ อย่าใช้ยาเองโดยเฉพาะแอสไพริน

      คุณแม่อาจจะรู้สึกคัดจมูกและมีน้ำมูก เหมือนกับเป็นภูมิแพ้นอกฤดูกาล

      คุณแม่จะรู้สึกหิวมากขึ้น และค้นหาของกินอยู่ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน



      คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่



      คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บแปลบที่บริเวณท้องด้านล่าง เป็นอาการที่ปกติเนื่องจากเมื่อมดลูกขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วกล้ามเนื้อที่ยึดมดลูกเอาไว้ก็จะต้องรับน้ำหนักมากขึ้น และถูกดึงรั้งมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อคุณแม่หมุนตัวหรือเคลื่อนไหวเร็วๆ กล้ามเนื้อที่ตึงอยู่นี้ก็จะถูกดึงให้ยืดออกอีกโดยเร็วทำให้รู้สึกเจ็บแปลบๆได้ หากคุณแม่รู้สึกเจ็บพยายามงอตัวไปด้านที่รู้สึกเจ็บก็จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น

      อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นที่บริเวณท้อง ทำให้กล้ามเนื้อต้องรับน้ำหนักมากขึ้น หรือท่าเดิน ยืน นั่ง ที่ไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดจากการที่กระดูกสันหลังส่วนล่างโก่งงอออกเพื่อรองรับการขยายตัวของมดลูก กระดูกสันหลังจะบิดตัวเองซึ่งเป็นสาเหตุให้คุณแม่รู้สึกปวดหลังได้

      เล็บมือและเล็บเท้าของคุณแม่จะอ่อนและเปราะมากขึ้น เนื่องมาจากการเพิ่มมากขึ้นของฮอร์โมน ดังนั้นในระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่จำเป็นที่จะต้องมีการดูแลเล็บให้ดีกว่าปกติ

      เส้นผมของคุณแม่ก็จะมีความมันมากยิ่งขึ้น บางทีคุณแม่อาจรู้สึกได้ว่าผมหนามากขึ้นแต่ไม่ได้เป็นเพราะมีการผลิตเส้นผมใหม่มากขึ้น สาเหตุเพราะว่าฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงทำให้ผมร่วงน้อยลง คุณจึงจำเป็นต้องดูแลเส้นผมให้มากขึ้น ต้องสระผมให้บ่อยขึ้น เวลาใช้ครีมนวดผม conditioner หรือ treatment ต่างๆ ควรใส่เฉพาะบริเวณปลายผมเท่านั้น

      ผิวหนังของคุณแม่ก็จะผลิตน้ำมันออกมามากขึ้นด้วยเช่นกัน ผิวหน้าจะมันมากขึ้น เกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนมากขึ้นนั่นเอง การที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะไปกระตุ้นการผลิตเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดฝ้าขึ้นได้ ในผู้หญิงที่มีสีผิวเข้มอยู่แล้วจะพบเป็นรอยจางๆ แต่หากมีผิวสีขาวก็จะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น แต่มันก็จะจางหายไปหลังจากการคลอด ดังนั้น อย่าไปกังวลกับมันมากนัก เวลาออกนอกบ้านเพียงแต่ใช้ครีมกันแดด และกางร่มก็จะช่วยให้เกิดฝ้าน้อยลง เพราะแสงแดดก็จะเป็นสิ่งที่ไปกระตุ้นการผลิตเม็ดสีให้เพิ่มมากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

      เมื่อทารกมีการเคลื่อนไหวคุณแม่ก็มักจะรู้สึกได้ แต่บางครั้งที่กำลังยุ่งอาจไม่ทันได้สังเกตการเคลื่อนไหวที่เบาๆนั้น แต่เมื่ออายุครรภ์ได้ 24 – 32 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวของทารกมักจะชัดเจน แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่นับจำนวนครั้งที่ทารกมีการเคลื่อนไหวในแต่ละวัน คุณแม่อาจจะนับได้มากกว่าสิบครั้งต่อวันก็ถือว่าใช้ได้แล้ว หากคุณสังเกตว่าทารกดิ้นน้อยลงมาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อให้เห็นว่าทารกมีการเคลื่อนไหวดีเป็นปกติ

      คุณแม่บางท่านอาจพบกับปัญหาของการนอนไม่หลับ ซึ่งอาจทำให้หงุดหงิด การนอนไม่หลับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและมีวิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันไป



      อะไรคือสาเหตุของการนอนไม่หลับระหว่างตั้งครรภ์

        • มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย
        • เมื่อคุณแม่ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆในเวลากลางคืน เนื่องจากขนาดของมดลูกที่โตขึ้นไปกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยๆ หรือจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงไตรมาสแรกที่ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัวทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยได้เช่นกัน เมื่อกลับมานอนต่อบางคนไม่สามารถหลับต่อได้อีก
        • เมื่อท้องมีขนาดโตขึ้นมากทำให้หายใจไม่สะดวก เพราะตัวเด็กจะไปกดปอดได้ในท่านอน บางทีไม่สามารถหาท่านอนที่สุขสบายได้จึงทำให้นอนไม่หลับ
        • เนื่องจากทารกมีการเคลื่อนไหว อาจเตะโดนมดลูกของแม่ทำให้เจ็บหรือสะดุ้งตื่นได้
        • ความรู้สึกตื่นเต้นกังวลกับการคลอดอาจทำให้ไม่สามารถผ่อนคลายได้ ก็เป็นสาเหตุให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน


      จะทำอย่างไรจึงจะนอนหลับ


        • มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
        • ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ ที่ไม่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ผสมอยู่ก่อนที่จะเข้านอน
        • อาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน
        • หาหนังสือสักเล่มมาอ่านบนเตียง
        • ให้คุณพ่อนวดบริเวณหลัง ไหล่ และคอให้ก่อนนอนด้วยโลชั่นที่มีกลิ่นที่ทำให้ผ่อนคลาย
        • ฟังเพลงที่ทำให้ผ่อนคลายหรือเสียงของธรรมชาติก่อนนอน
        • ใช้หมอนเล็กๆหนุนที่บริเวณท้องและระหว่างขาทั้งสองข้างจะช่วยให้ได้ท่านอนที่สุขสบายขึ้น
        • หากรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออกเมื่อนอนอาจใช้หมอนหลายใบหนุนศีรษะให้สูงเพื่อที่จะได้หายใจสะดวกขึ้น



      ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้


      เส้นเลือดขอด



      ระหว่างการตั้งครรภ์เส้นเลือดดำที่ขาจะต้องรับแรงกดดันเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของปกติ ยิ่งถ้าหากว่าที่คุณแม่มีน้ำหนักมากกว่ามาตรฐานด้วยแล้ว และถ้าหากการตั้งครรภ์เริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ก็มักจะพบเส้นเลือดขอดเกิดขึ้นได้เสมอ วิธีที่จะช่วยแก้ไขให้ดีขึ้นหรือป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดนั้นสามารถทำได้โดย ทำให้การหมุนเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงขาสามารถไหลเวียนได้สะดวกขึ้น เมื่อมีเวลาว่างอยู่ที่บ้าน อาจยกขาสูงพิงไว้กับข้างฝาชั่วขณะหนึ่ง หรือในระหว่างวันก็สามารถทำกายบริหาร ออกกำลังโดยหมุนข้อเท้าไปรอบๆ ทำบ่อยๆ เมื่อนึกขึ้นได้ จะช่วยให้เลือดดำไหลกลับได้ดีขึ้นและไม่ขังอยู่ทำให้เป็นเส้นเลือดขอด



      การตรวจต่าง ๆ


      การตรวจปัสสาวะ



      ในการตรวจปัสสาวะบางครั้งอาจพบว่ามีปริมาณน้ำตาลสูงซึ่งอาจหมายถึง การเป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์ อย่าเพิ่งตกใจ เมื่อคุณรับประทานอาหารมากขึ้น มีการเผาผลาญมากขึ้น บางครั้งตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้มีน้ำตาลเหลือ และกรองผ่านไตออกมากับปัสสาวะ คุณหมออาจจะให้ตรวจซ้ำ หากผลการตรวจครั้งที่ 2 ปกติ เนื่องมาจากร่างกายสามารถปรับตัวและผลิตอินซูลินออกมาได้เพียงพอ ก็จะมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจ GTT (Glucose tolerance test) เพื่อยันยันผลการตรวจว่าปกติแน่นอน




      การตั้งครรภ์ในเดือนที่่ 6


      พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์



      เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 24 ทารกจะมีความยาวประมาณ 13 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 2 ปอนด์ และอวัยวะต่างๆได้มีการพัฒนาไปจนเกือบสมบูรณ์แล้ว

      ใบหน้าเล็กๆและเรียว ทำให้ดูตาโต และเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 22 - 24 เปลือกตาเริ่มที่จะเปิดออกได้ ทารกจะสามารถลืมตาได้แล้ว และมีขนคิ้วขึ้นบางๆ

      หากในเดือนนี้คุณได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ คุณอาจกำลังพยายามนึกถึงคนในครอบครัวว่าทารกจะคล้ายกับใคร แต่อย่าเพิ่งกังวลเพราะหน้าตาจะยังเปลี่ยนไปอีกมากกว่าจะคลอด

      ผิวหนังของทารกยังคงบางมาก แต่ตอนนี้ไม่สามารถมองทะลุลงไปเห็นเครือข่ายเส้นเลือดได้แล้ว ผิวหนังของทารกตอนนี้จะเห็นเป็นสีออกแดงระเรื่อ และอาจจะดูเหี่ยวย่นเนื่องจากยังมีไขมันมาสะสมตามร่างกายไม่มากนัก และต่อมเหงื่อได้มีการพัฒนาขึ้นภายใต้ผิวหนัง

      นิ้วมือกำลังพัฒนา ทารกของคุณมีลายนิ้วมือแล้วในตอนนี้เช่นเดียวกับนิ้วเท้า

      ทารกจะถูกล้อมรอบด้วยน้ำคร่ำ 500 มิลลิลิตร ซึ่งจะช่วยให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระและช่วยให้ทารกสามารถพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคล้ายกับการซ้อมเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย หรือบิดขี้เกียจยืดเส้นยืดสายให้หายเมื่อย ทารกสามารถเตะ ดูดนิ้ว หรือ อ้าปาก นอกจากนี้ทารกของคุณสามารถไอหรือสะอึกได้ด้วย แต่ไม่ต้องกังวลเพราะทารกสามารถช่วยตัวเองได้โดยกลืนน้ำคร่ำอุ่นๆเข้าไป เพราะนี่เป็นกลไกของธรรมชาติ

      ทารกยังสามารถตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวหรือเสียงดังจากภายนอกได้ กระดูกในหูของทารกเริ่มแข็งขึ้นและช่วยให้สามารถได้ยินเสียงต่างๆได้ดีขึ้น ทารกสามารถแยกเสียงที่เกิดขึ้นจากภายในมดลูกและจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ ดังนั้น หากจะเริ่มพูดคุยกับลูกในตอนนี้ลูกก็จะสามารถจดจำเสียงของคุณได้ ว่าที่คุณพ่อก็ควรเริ่มพูดคุยกับลูกด้วยเช่นกัน มีรายงานการวิจัยว่าเสียงทุ้มต่ำของคุณพ่อจะช่วยให้ลูกได้ยินได้ง่ายกว่าเสียงแหลมสูงของแม่

      บางทีการที่คุณมีกิจกรรมมากในแต่ละวันอาจทำให้พลาดโอกาสดีๆไป ควรหาเวลาพักบ้าง คอยสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกว่ากำลังทำอะไรอยู่ภายในนั้น บางทีคุณจะรู้สึกได้ว่าการเคลื่อนไหว หมุนตัว เตะ หรือชก เกิดจากอวัยวะใดของทารก ส่วนที่นูนขึ้นมาตรงหน้าท้องของคุณคือส่วนไหน อาจทำให้คุณสามารถจินตนาการถึงกิจกรรมต่างๆของทารกได้

      อัตราการเต้นของหัวใจของทารกในขณะที่จะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 140 – 150 ครั้ง/นาที และตอนนี้อวัยวะทั้งหมดยกเว้นปอดสามารถทำงานได้แล้ว

      หากเราได้ทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองของทารกเมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์นั้น เราจะพบว่าเซลล์สมองได้มีการพัฒนาส่วนที่รับรู้สติและทารกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอกมากขึ้น และได้มีการพัฒนาวงจรของการหลับและการตื่น

      ปอดของทารกตอนนี้ยังเต็มไปด้วยน้ำคร่ำ และยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อไปอีกหลายสัปดาห์จนกว่าถุงลมปอดเล็กๆนั้นจะสามารถทำการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้

      ระบบทางเดินอาหารมีการพัฒนาจนสามารถดูดซึมน้ำคร่ำได้และทำงานอย่างเป็นระบบ ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำเข้าไปและขับถ่ายออกมาหมุนเวียนเป็นน้ำคร่ำใหม่



      การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่



      ร่างกายคุณแม่จะมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดด้วย มดลูกจะมีการซ้อมหดรัดตัว ซึ่งทางการแพทย์จะเรียกว่า Braxton Hicks contractions ซึ่งกล้ามเนื้อมดลูกจะมีการหดรัดตัวแข็งขึ้นประมาณ 2 -3 วินาที แต่อาจจะเป็นได้บ่อยๆ และคุณแม่สามารถรับรู้ได้ถึงการทำงานของกล้ามเนื้อนั้นด้วย

      ตอนนี้ตำแหน่งของยอดมดลูกจะอยู่เหนือสะดือคุณแม่ขึ้นมาเล็กน้อย เมื่อทารกมีการเคลื่อนไหวร่างกายบางครั้งคุณแม่พอจะเดาได้ว่าส่วนที่นูนขึ้นมาที่หน้าท้องนั้นเป็นเท้าหรือขา คุณแม่อาจรู้สึกคัดตึงเต้านมมากขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพื่อเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมบุตรภายหลังการคลอดทำให้เต้านมยังขยายโตขึ้นเรื่อยๆ ในสัปดาห์ที่ 24 นี้คุณแม่อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเสื้อยกทรงอีกครั้ง ในระยะนี้จะมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว เนื่องจากร่างกายมีการสะสมน้ำไว้มาก และคุณแม่อาจรู้สึกร้อนได้บ่อยๆในช่วงนี้



      คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่


      อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กนั้นจำเป็นสำหรับระบบไหลเวียนเลือดของทารกและของคุณแม่ด้วย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้ได้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ โดยรับประทานเนื้อแดง เป็ด ไก่ ผักใบเขียวต่างๆ และธัญพืชที่มีธาตุเหล็กสูง นอกจากนี้ควรรับประทานผลไม้ซึ่งมีวิตามิน C สูงด้วย เนื่องจาก Vitamin C นั้นช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก

      อยแตกของผิวหนังบริเวณหน้าท้องอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากผิวหนังมีการขยายออกอย่างรวดเร็วและถูกดึงให้ตึงมากขึ้นโดยขนาดของมดลูกที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณแม่ควรทาครีมบำรุงผิวบ่อยๆจะช่วยลดการแตกของผิวหนังและลดอาการคันได้

      รองเท้าของคุณแม่ตอนนี้อาจจะไม่พอดีกับเท้าอีกต่อไป คุณแม่อาจไม่เชื่อว่าคุณต้องใส่รองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอีกเบอร์เลยทีเดียว เท้าของคุณแม่จะบวมขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้มีน้ำอยู่ในเซลล์มากขึ้น ดังนั้นควรมองหารองเท้าคู่ใหม่ที่ใส่สบายกว่า และลืมรองเท้าส้นสูงไปเลย หารองเท้าที่คุณแม่เดินได้สะดวก และไม่สะดุดหกล้มได้ง่ายๆก็จะปลอดภัยมากขึ้น



      ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้


      ภาวะครรภ์เป็นพิษ Preeclampsia



      เป็นภาวะที่มีความดันโลหิตสูง เกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นครรภ์แรก และมักพบหลังจากอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ อาการของ preeclampsia ได้แก่ น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว (เกิดจากน้ำในร่างกายไม่ใช่จากการเจริญเติบโตของทารก) ข้อต่างๆ รวมถึงมือและเท้าบวม ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูงขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmhq ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย Preeclampsia นั้นเป็นเรื่องสำคัญ แต่สามารถรักษาได้ เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นคุณแม่จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จะต้องนอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลา ต้องได้รับการดูแลเฝ้าระวังระดับของโซเดียมในร่างกาย และจะต้องได้รับยาที่จะช่วยลดความดันโลหิตลงมา ซึ่งมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะนี้ แต่คุณหมอจำเป็นจะต้องตรวจดูอย่างละเอียดก่อนที่จะกลายเป็นภาวะ Eclampsia เพราะถ้าหากคุณมีความดันโลหิตสูงถึง 160/110 mmhq หรือมากกว่าจะทำให้เกิดอันตรายกับระบบประสาทได้ เช่น ทำให้ชัก โคม่า ทำให้ไตล้มเหลวและการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว แต่อาการอย่างรุนแรงนี้เกิดขึ้นได้น้อยมากเมื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์ หากเกิดภาวะนี้ในการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3 แพทย์อาจแนะนำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ โดยทำการผ่าตัดคลอด ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ Preeclampsia ที่ไม่รุนแรงบางครั้งเมื่อคลอดแล้วระดับของความดันโลหิตจะลดลงสู่ปกติได้โดยเร็ว บางทีในวันแรกที่คลอดเลยด้วยซ้ำ


      ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด


      โดยปกติแล้วในระหว่างการตั้งครรภ์ปากมดลูกจะปิดอยู่เสมอจนกระทั่งเริ่มเจ็บครรภ์จะคลอด ปากมดลูกจึงจะเริ่มเปิดออก ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดเกิดจากการที่ทารกมีการเจริญเติบโตมากขึ้นและมีแรงกดดันลงไปที่ปากมดลูกซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งขึ้นได้ การแท้งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ แต่ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุของการแท้งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เนื่องมาจากทารกยังไม่พร้อมที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกภายนอก ถ้าปากมดลูกเปิดโดยที่ไม่มีการบีบรัดตัวของมดลูกแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจภายใน การมีเลือดออกทางช่องคลอดก็เป็นอาการแสดงของการที่กำลังจะแท้งซึ่งเกิดจากปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด

      ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม เคยได้รับการผ่าตัด การแท้ง การที่ตั้งครรภ์โดยมีจำนวนทารกมากกว่าหนึ่งคน

      การที่ปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดนั้นถือเป็นกรณีที่ฉุกเฉินจะต้องมีการเย็บผูกปากมดลูกเอาไว้เพื่อป้องกันการแท้ง



      การเย็บผูกปากมดลูก (Cervical Cerclage)


      การเย็บผูกปากมดลูก เป็นวิธีการที่จะช่วยให้ปากมดลูกปิดอยู่เสมอระหว่างที่ตั้งครรภ์ ปากมดลูกเป็นส่วนที่อยู่ต่ำที่สุดของมดลูกและต่อกับช่องคลอด ระหว่างที่มีการตั้งครรภ์ปกติ ปากมดลูกจะต้องปิดอยู่จนกระทั่งเข้าสู่ไตรมาสที่ 3

      การเย็บผูกปากมดลูกใช้เพื่อป้องกันการแท้ง หรือป้องกันการคลอดก่อนกำหนด หากมีการเปิดของปากมดลูกก่อนกำหนดโดยไม่มีการคลอด การเย็บผูกปากมดลูกไว้จะช่วยให้ ปากมดลูกปิดและเด็กสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ การเย็บผูกปากมดลูกจะใช้เมื่อผู้ป่วยมีประวัติว่าเคยแท้งในระยะไตรมาสที่ 2 หรือ 3 มาก่อน หรือตามแต่ดุลยพินิจของแพทย์

      หากผู้ป่วยมีประวัติว่าเคยแท้งในระยะไตรมาสที่ 2 แพทย์ก็จะทำการเย็บผูกปากมดลูก ตั้งแต่เริ่มระยะไตรมาสที่ 2 ในกรณีอื่นๆก็จะทำการเย็บผูกปากมดลูกตามความเห็นของแพทย์ ที่จะช่วยทำให้ปากมดลูกแข็งแรงขึ้น และสามารถรับน้ำหนักของการตั้งครรภ์ได้ดี

      ในการเย็บผูกปากมดลูก ผู้ป่วยเพียงงดน้ำและอาหารนานประมาณ 6 ชั่วโมงล่วงหน้าก่อนทำการผูกปากมดลูก ผู้ป่วยจะได้รับยานอนหลับชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด หรือบล๊อคไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึก แพทย์จะใช้เชือกเส้นเล็กๆเย็บรอบปากมดลูก เมื่อเย็บรอบแล้วก็จะดึงและผูกให้แน่น เพื่อให้ปากมดลูกปิดสนิท หลังการเย็บผูกปากมดลูก ผู้ป่วยจำเป็นต้องพักในโรงพยาบาลอย่างน้อยหลายชั่วโมงหรือค้างที่โรงพยาบาล แพทย์จะให้ยาเพื่อลดโอกาสเกิดมดลูกบีบตัวจากการเย็บผูกปากมดลูก

      โดยปกติแพทย์จะทำการตัดเชือกออกเมื่ออายุครรภ์ได้ 37 สัปดาห์ หากมีการบีบตัวของมดลูกหรือน้ำเดินก่อนกำหนดต้องรีบมาพบแพทย์

      การเย็บผูกปากมดลูกช่วยป้องกันการแท้ง ป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ถึง 85 – 90 % และความเสี่ยงของการเย็บผูกปากมดลูก ได้แก่ เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ติดเชื้อ และถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด



      มีเลือดออก


      การมีเลือดออกระหว่างการตั้งครรภ์ไม่ว่าจะเป็นในช่วงใดก็ตามจะต้องรายงานแพทย์ให้ทราบ ในช่วงของไตรมาสที่ 2 การมีเลือดออกทางช่องคลอดมักมีสาเหตุมาจาก รกเกาะต่ำ เมื่อตัวอ่อนไปฝังตัวที่ส่วนล่างของมดลูกใกล้กับปากมดลูกทำให้รกเกาะอยู่ใกล้ หรือปิดปากมดลูกไปเลย เป็นสาเหตุให้มีเลือดออก และจำเป็นต้องผ่าตัดคลอด รกเกาะต่ำสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ หากคุณแม่มีรกเกาะต่ำและเป็นสาเหตุให้มีเลือดออก คุณแม่อาจจำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล อาจต้องให้ธาตุเหล็กและวิตามินซีเพิ่มเติม และถ้าจำเป็นก็ต้องให้เลือดด้วย จะเป็นการดีกว่าและปลอดภัยต่อทารกหากอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ จนกระทั่งอายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ ซึ่งการผ่าตัดคลอดก็สามารถกระทำได้อย่างปลอดภัย

      หากมีเลือดออกและมดลูกมีการหดรัดตัวอาจเป็นอาการแสดงของรกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉิน หมายถึง รกมีการลอกตัวออกจากผนังมดลูกต้องรีบไปโรงพยาบาลด่วน



      การตรวจต่าง ๆ


      การตรวจอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ



      อัลตร้าซาวด์นั้นเป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความถี่สูงเกินกว่า 20,000 Hz คลื่นเสียงอัลตร้าซาวด์นี้ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย รวมทั้งในทางการแพทย์ ซึ่งได้พัฒนาอัลตร้าซาวด์มาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ จนกลายมาเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มหาศาลสำหรับแพทย์และผู้ป่วย หลักการทำงานของเครื่องอัลตร้าซาวด์ก็คือ เครื่องจะทำการส่งคลื่นเสียงอัลตร้าซาวด์ออกไปจากหัวตรวจ ผ่านผิวหนังลงไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในร่างกายแล้วสะท้อนกลับออกมา แต่เนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายของเรานั้นมีความสามารถในการดูดซับคลื่นอัลตร้าซาวด์ไม่เท่ากันจึงสะท้อนคลื่นกลับออกมาแตกต่างกัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมาในระดับต่างๆ และคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครื่องอัลตร้าซาวด์จะทำการประมวลสัญญาณที่สะท้อนกลับมาและสร้างเป็นภาพขึ้นมาได้

      การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์นี้ นอกจากสามารถตรวจดูว่ามีความผิดปกติใดๆในร่างกายของผู้ป่วยได้แล้ว ยังสามารถตรวจดูทารกที่อยู่ในท้องของคุณแม่ได้อีกด้วยว่ามีสุขภาพสมบูรณแข็งแรงหรือไม่ แตกต่างจากในสมัยก่อนที่ยังไม่มีอัลตร้าซาวด์ ซึ่งคุณหมอจะต้องใช้มือคลำๆดูว่าทารกโตขึ้นหรือไม่ในแต่ละเดือนร่วมกับใช้หูฟังดูว่าทารกที่อยู่ในท้องของคุณแม่นั้นมีการเต้นของหัวใจเป็นปกติหรือไม่ แต่ปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ คุณหมอจะสามารถมองเห็นตัวของทารกได้อย่างชัดเจน สามารถวัดขนาดได้ว่าตอนนี้ทารกตัวยาวกี่เซนติเมตร สามารถเห็นการเต้นของหัวใจ และบอกได้เลยว่าทารกมีความผิดปกติของรูปร่างหรือไม่ มีหน้าตาเป็นอย่างไร อ้วนหรือผอม เป็นเพศชายหรือเพศหญิง

      ในปัจจุบัน เครื่องอัลตร้าซาวด์นั้นมีการทำงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เครื่องอัลตร้าซาวด์เมื่อ 2 3 ปีก่อนสามารถมองเห็นภาพทารกได้แบบสองมิติ คือ ภาพที่มีความกว้างและความยาว หรือภาพตัดขวางตามแนวของคลื่นเสียงที่ถูกส่งออกไป แต่ในเครื่องอัลตร้าซาวด์สมัยใหม่นั้นเครื่องจะเก็บภาพสองมิติหลายๆภาพตามแนวที่หัวตรวจเคลื่อนผ่านไปและนำมาประกอบกันขึ้นเป็นภาพสามมิติซึ่งมีความลึกของภาพ ทำให้ดูเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นเครื่องตรวจอัลตร้าซาวด์บางรุ่นยังสามารถเก็บภาพสามมิติแต่ละภาพไว้แล้วนำมาแสดงผลเรียงต่อกันกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับภาพยนต์ จึงเรียกชื่อว่าอัลตร้าซาวด์สี่มิติ โดยที่มิติที่สี่คือ “เวลา” นั่นเอง




      การตั้งครรภ์ในเดือนที่่ 7


      พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์



      ในเดือนที่เจ็ดนี้ทารกมีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม และยาวประมาณ 26 เซนติเมตรแล้ว ส่วนยอดของมดลูกอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างสะดือกับใต้อก ตอนนี้ทารกมีไขมันมาสะสมตามร่างกายมากขึ้น ผิวหนังถูกปกคลุมด้วยไขสีขาวที่ช่วยปกป้องผิวหนังจากน้ำคร่ำ หากคลอดทารกในตอนนี้ ทารกยังมีโอกาสรอดชีวิตได้สูงภายใต้การดูแลพิเศษในโรงพยาบาล

      สมองได้มีการพัฒนาขนาดโตขึ้นมาก และมีชั้นไขมันที่ปกคลุมเส้นประสาททั้งหมดเอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการรับส่งกระแสประสาทได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ทารกสามารถเรียนรู้ได้ สมองมีการพัฒนาส่วนที่จะใช้คิดคำนวณ และตอนนี้ทารกสามารถรู้สึกเจ็บ ร้องไห้ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยเสียง หรือแสง ทารกจะตอบสนองโดยการลืมตา จะเห็นว่าทารกมีพฤติกรรมเกือบจะเหมือนกับทารกที่ครบกำหนดแล้ว

      เสียงดังจากภายนอกมีผลต่อทารกในครรภ์ ทารกจะได้ยินเสียงนั้น และมีรายงานการวิจัยซึ่งพบว่าเสียงดังทำให้ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น แม้แต่เสียงเพลงที่ดังเกินไปก็ตาม ดังนั้นคุณแม่ที่ทำงานในโรงงานที่มีเสียงเครื่องจักรดังๆ ควรปรึกษากับหัวหน้าเพื่อย้ายไปทำงานในจุดอื่นซึ่งเงียบสงบระหว่างการตั้งครรภ์ หรือการขอลาพัก

      ตอนนี้ทารกขดตัวอยู่ในท้องคุณแม่เนื่องจากตัวเริ่มโตขึ้นและยาวขึ้น ทำให้พื้นที่มีจำกัด อย่างไรก็ตามทารกยังสามารถที่จะเปลี่ยนท่าได้ในขณะที่ทารกกำลังเคลื่อนไหว เนื่องจากปริมาณน้ำคร่ำน้อยลง คุณแม่จึงสามารถรู้สึกได้จากการเคลื่อนไหวของทารกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวนั้นขึ้นอยู่กับว่า ทารกอยู่ในท่าใด ตำแหน่งของรก และโครงสร้างร่างกายของคุณแม่เองบางครั้งชัดเจนมากจนสามารถมองเห็นจากผนังหน้าท้องของคุณแม่ได้เลย ลองให้คุณพ่อวางมือลงบนหน้าท้องในช่วงเวลาเย็นที่คาดว่าทารกจะมีการเคลื่อนไหวมากที่สุด บางทีคุณพ่ออาจสามารถรับรู้ได้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกจากโลกภายนอก

      ทารกสามารถรับรู้รสชาติได้ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่าปุ่มรับรสของทารกที่อยู่ในครรภ์สามารถรับรู้รสได้ดีกว่าตอนที่อยู่ในโลกภายนอกเสียอีก

      สารหล่อลื่นภายในปอดของทารกหรือ Surfactant ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทารกสามารถหายใจในโลกภายนอกได้ โดยที่สารหล่อลื่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ถุงลมเล็กๆนั้นแฟบติดกัน แต่สารหล่อลื่นนี้จะมีปริมาณมากพอก็ต่อเมื่อทารกมีอายุครบกำหนดแล้ว หากทารกคลอดก่อนกำหนด อาจเกิดภาวะหายใจลำบากขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคลอดเร็วก่อนกำหนดมากๆ การตั้งครรภ์โดยมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องคลอดก่อนกำหนด เช่น มารดามีภาวะความดันโลหิตสูง มีทารกในครรภ์มากกว่าสองคน แพทย์อาจให้ยาฉีดแก่แม่เพื่อช่วยเพิ่มระดับของ Surfactant ในปอดของทารกในครรภ์ได้ แต่ถ้าหากถุงน้ำแตกก่อนกำหนด หรือคลอดก่อนกำหนดโดยที่ไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน กุมารแพทย์อาจพิจารณาให้ surfactant สังเคราะห์แก่ทารกเมื่อหลังคลอดทันทีเพื่อป้องกันการแฟบติดกันของถุงลมทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก



      การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่



      อาการท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหารมาก และท้องผูกยังคงเป็นอาการที่รบกวนคุณแม่อยู่ ขนาดของมดลูกที่โตขึ้นจะดันกระเพาะอาหารขึ้นไป หากคุณแม่รับประทานอาหารแล้วแน่นท้องมาก ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆอีกครั้ง

      ในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์นี้ อาการบวมตามมือและเท้าเกิดขึ้นเป็นปกติ เพราะร่างกายสะสมน้ำไว้มาก อาจจะสังเกตได้จากแหวนที่คับมากขึ้น

      ผิวหนังของคุณแม่จะแพ้ง่ายมากในช่วงนี้ อาจมีผื่นขึ้น หรือเป็นสิว ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าหากเป็นมากควรไปปรึกษาแพทย์ผิวหนัง

      อัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น เพราะหัวใจต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี่ยงร่างกาย รก และทารก ดังนั้นอัตราการเต้นของหัวใจของคุณแม่มักจะสูงกว่าปกติประมาณ 10 – 15 ครั้งต่อนาที คุณแม่บางท่านอาจถูกตรวจพบว่ามีเสียงผิดปกติของการเต้นของหัวใจ แต่มันจะหายไปเมื่อคลอดแล้ว

      านมของคุณแม่ยังขยายต่อไปอีก รวมถึงต่อมผลิตน้ำนมก็มีความพร้อมแล้วที่จะผลิตน้ำนมออกมาเลี้ยงทารก ในไตรมาสสุดท้ายนี้คุณแม่อาจมีน้ำนมสีเหลืองไหลออกมาเล็กน้อย เป็นเรื่องปกติ ข้อควรระวังก็คือระวังการกระตุ้นที่บริเวณนมเพราะจะทำให้มดลูกบีบตัวและเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

      อาการปวดหลังของคุณแม่จะเป็นมากขึ้นและบางทีส่งผ่านลงไปที่ขาทั้งสองข้าง ครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์มีอาการปวดหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินเข้าสู่ไตรมาสที่สาม อาการเจ็บที่หลังและส่งผ่านลงไปที่ขาอาจเกิดขึ้นได้จากการที่กระดูกสันหลังส่วนล่างนูนออก จากการที่ถูกมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นดัน ทำให้เส้นประสาทเกิดการบาดเจ็บ หรือถูกกด หรือบางทีการที่คุณแม่ก้มยกของโดยท่าทางไม่ถูกต้อง หรือบิดตัวเร็วเกินไป อาจเป็นสาเหตุให้ปวดหลัง และบางครั้งอาการปวดหลังก็หายไปเมื่อทารกเปลี่ยนท่า

      หากคุณแม่นอนเอนหลังลงไปแล้วทำให้ไม่สุขสบาย นั่นเกิดจากการที่มดลูกที่มีขนาดใหญ่ลงไปกดอวัยวะต่างๆตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เลือดที่ไปหัวใจมีปริมาณน้อยลง ลองนอนตะแคงจะช่วยให้รู้สึกสบายมากขึ้น

      คุณแม่จะเริ่มลุกจากเตียงลำบากขึ้น ให้นอนตะแคงก่อนแล้วใช้มือช่วยดันตัวขึ้นมา

      หากคุณแม่มีอาชีพที่จำเป็นต้องยืนนานๆ อาจขอถุงเท้าที่ช่วยพยุงขาจากคุณหมอ หรือพยาบาล เนื่องจากอาการของเส้นเลือดขอดอาจเป็นมากขึ้น



      คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่


      อาการเจ็บเตือน



      อาการเจ็บท้องเกิดขึ้นจากการที่มดลูกมีการบีบรัดตัว คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่ากล้ามเนื้อที่อยู่ล้อมรอบทารกตึงและแข็งขึ้น อาการที่มดลูกบีบตัวนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ แต่ในช่วงไตรมาสที่สามนี้จะชัดเจนมากยิ่งขึ้น

      อาการเจ็บเตือนและเจ็บครรภ์จะคลอดจริงๆนั้น แตกต่างกันตรงที่ เจ็บเตือนนั้นปากมดลูกยังคงปิดสนิท แต่เจ็บจริงปากมดลูกจะเปิดออก อาการเจ็บเตือนมดลูกจะหดรัดตัวไม่สม่ำเสมอจะเกิดขึ้นเมื่อใด เวลาใดก็ได้ แต่เจ็บจริงนั้น มดลูกจะหดรัดตัวสม่ำเสมอ และถี่มากขึ้น เจ็บนานขึ้น มดลูกอาจบีบตัวอยู่นานถึงสองนาทีและรุนแรงมากขึ้น การเจ็บเตือนเหมือนเป็นการซ้อมความพร้อมของการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ในการคลอดที่กำลังจะเกิดขึ้น



      ทางเลือกในการคลอด


      ในกรณีที่การตั้งครรภ์เป็นปกติ คุณแม่สามารถเลือกที่จะคลอดทารกทางช่องคลอดแบบธรรมชาติโดยไม่ใช้เทคโนโลยีใดๆเข้ามาช่วยได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ โรงพยาบาลมีอุปกรณ์ต่างๆครบครันที่จะเตรียมพร้อมไว้ให้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นยาระงับความรู้สึก อุปกรณ์ช่วยในการคลอดในกรณีที่คลอดยากเช่น คีม (Forceps) แวคคูอัม (Vacuum) หรือในกรณีที่ทารกอยู่ในภาวะที่ต้องทำการช่วยเหลือในทันทีต้องผ่าตัดออกมาก็สามารถใช้ห้องผ่าตัดได้เลย รวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆที่คุณต้องการ เช่นวิสัญญีแพทย์ กุมารแพทย์ มีเครื่องมือเตรียมพร้อมในกรณีที่ฉุกเฉิน มีเครื่องมืออีเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ตรวจสอบสภาวะของทารกในครรภ์ สามารถรองรับทารกที่คลอดออกมาแล้วอยู่ในภาวะวิกฤต เป็นต้น

      เมื่อมาถึงโรงพยาบาล คุณแม่จะถูกจัดให้อยู่ในห้องรอคลอดที่สบาย สะอาด มีพยาบาลคอยดูแลและตรวจความก้าวหน้าของการคลอด ตรวจสภาวะของทารกในครรภ์ เมื่อคลอดทารกจะถูกส่งไปที่แผนกเด็กอ่อนเพื่อทำความสะอาดและ สังเกตอาการ โรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์ครบครันจะสังเกตอาการทารกที่คลอดใหม่ทุกรายในตู้อบ เพื่อที่สามารถสังเกตการหายใจของทารกได้อย่างชัดเจน และทารกอยู่ในตู้ที่มีอุณหภูมิอบอุ่นคงที่เหมือนกับในร่างกายของแม่ ทำให้ทารกสามารถปรับตัวกับโลกภายนอกได้ดีขึ้น ดังนั้นหากพบว่าลูกของคุณต้องอยู่ในตู้อบอย่าเพิ่งตกใจ หากทารกอาการปกติแข็งแรงดี แผนกเด็กอ่อนก็จะส่งทารกไปที่ห้องคุณแม่ในแปดชั่วโมง



      ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้


      การคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor)



      การคลอดก่อนกำหนดคือ การคลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ เด็กที่คลอดออกมาอาจยัง เจริญเติบโตไม่สมบูรณเต็มที่ ความสมบูรณ์ของเด็กจะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์เมื่อคลอด เด็กที่คลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 25 สัปดาห์อาจเสียชีวิต เด็กที่คลอดด้วยอายุครรภ์ น้อยๆแต่รอดชีวิตก็อาจจะมีปัญหาในการหายใจ อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในขณะที่เด็กที่เป็นแฝดที่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดก่อนกำหนดแต่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจได้รับยากระตุ้นปอดให้สมบูรณ์ก่อนคลอด ทารกที่คลอดออกมา อาจมีน้ำหนักน้อยเมื่อเทียบกับเด็กที่คลอดเมื่อครบกำหนดแต่ปอดมีความสมบูรณ์ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ



      การคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นจากสาเหตุใด



        • การที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
        • ครรภ์แฝด
        • ได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องท้องในขณะตั้งครรภ์ เช่นไส้ติ่งอักเสบ
        • มีน้ำคร่ำปริมาณมากหรือน้อยเกินไป
        • มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว 16 สัปดาห์
        • มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ
        • มารดาอายุน้อยกว่า 16 ปี
        • รกลอกตัวก่อนกำหนด
        • มารดาสูบบุหรี่
        • ทำงานที่ต้องออกแรงมากๆ


      อาการแสดงของการคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ การมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด มีอาการเกร็งท้องเป็นๆหายๆ เป็นจังหวะ และมีน้ำเดิน การวินิจฉัยสามารถทำได้โดย แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจครรภ์เพื่อดูการบีบตัวของมดลูก ตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ ตรวจการบางและขยายตัวของปากมดลูก

      แพทย์จะทำการยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด หรือจะดำเนินการคลอด ที่ปลอดภัยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของทารก สุขภาพของมารดาและทารก ศักยภาพของหน่วยบริบาลทารกแรกเกิดอาการวิกฤต (Intensive care nursery) ที่จะสามารถดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด



      การยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด



        • พักในโรงพยาบาล และมีการสังเกตการบีบตัวของมดลูกอย่างต่อเนื่อง
        • นอนบนเตียงตลอดเวลา เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อมดลูก และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
        • ในน้ำเกลือทางเส้นเลือดดำเพื่อให้ยาทางเส้นเลือดที่จะช่วยลดการบีบตัว ของมดลูก
        • ตรวจเลือด ปัสสาวะ และเซลล์จากปากมดลูกเพื่อ ตรวจการติดเชื้อ
        • อัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจสภาพของรก สุขภาพของทารก ประเมินอายุของทารก ตรวจความผิดปกติของทารก และท่าของทารก
        • ตรวจน้ำคร่ำเพื่อตรวจการติดเชื้อ และประเมินความสมบูรณ์ของปอดของทารก



      แพทย์จะไม่ให้ยาเพื่อยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดในกรณีที่


        • มีเลือดออกมากทางช่องคลอด
        • มีความดันโลหิตสูงในระดับรุนแรง
        • มีการติดเชื้อในมดลูก
        • ทารกมีความผิดปกติ หรือเสียชีวิตแล้ว
        • สภาวะอื่นๆที่การตั้งครรภ์ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้


      หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะดูแลตนเองอย่างไร เพื่อป้องกัน การคลอดก่อนกำหนด


        • ไปพบแพทย์ทุกสองสัปดาห์หลังจากที่อายุครรภ์ 20 – 24 สัปดาห์เพื่อตรวจครรภ์
        • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลกระทบของงานที่ทำต่อการคลอดก่อนกำหนด
        • พักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
        • หยุดการออกกำลังทุกชนิด ไม่ยกของหนัก ไม่เดินทางไกล
        • ต้องทำใจให้สบายปราศจากความเครียด
        • หาวิธีที่จะจดจำการเกิดการบีบตัวของมดลูกจากการใช้มือสัมผัส ทำการบันทึกการบีบตัวของมดลูก ความสม่ำเสมอของการบีบตัว และความรุนแรงของการบีบตัว
        • ระวังการกระตุ้นที่บริเวณหัวนม เนื่องจากเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบตัว
        • ระวังเรื่องการมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบตัว



      การตรวจต่าง ๆ


      Nonstress Test (NST)


      คือการประเมินสภาพของทารกในครรภ์จากภายนอก ผ่านจากมารดา และบันทึกการเต้นของหัวใจของทารก เมื่อทารกที่มีสุขภาพแข็งแร็งมีการเคลื่อนไหว อัตราการเต้นของหัวใจจะสูงขึ้น ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจของทารกอยู่ในช่วง 120 – 160 ครั้ง / นาทีและเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 15 วินาที 2 ครั้งภายใน 20 นาทีการแปลผลคือ Reactive ซึ่งแสดง ถึงทารกมีสุขภาพดี



      Nonstress Test จะทำเมื่อใด


        • เมื่อเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
        • เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ที่ผ่านมาเช่น ทารกตายในครรภ์
        • เมื่อมารดาสังเกตว่าทารกดิ้นน้อยลง
        • เลยกำหนดคลอดแล้วยังไม่คลอด


      Nonstress Test จะให้ผลที่น่าเชื่อถือเมื่อ


        • ทำใน 6 – 8 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์
        • ทำในช่วงเวลาที่ทารกมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดของแต่ละวัน (เช่นหลังจากมารดา รับประทานอาหาร 1-2 ชั่วโมง)



      การตรวจ Nonstress Test จะมีการติดตัวรับสัญญานที่ผนังหน้าท้องของมารดาสองจุดคือที่ ส่วนยอดของมดลูก และบริเวณที่สามารถได้ยินหัวใจของทารกเต้น มารดาจะได้รับปุ่มสำหรับกดเมื่อได้รู้สึกถึงการดิ้น ของเด็ก เครื่องมือจะบันทึกการเต้นของหัวใจของทารกเป็นเวลา ~ 30 นาที ผลจะแสดงเป็นรูป กราฟ และเมื่อมารดากดปุ่มผลของการตรวจก็จะถูกแปลตามสภาวะนั้น



      การแปลผล



      Reactive: ทารกเคลื่อนไหวอย่างน้อยสองครั้งใน 20 นาที ในสองครั้งที่ทารกมีการ เคลื่อนไหวอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นอีก ~15 ครั้งต่อนาทีและสูงขึ้นอย่างน้อย 15 วินาที


      Nonreactive: ทารกไม่มีการเคลื่อนไหวหรือ ไม่มีการเพิ่มขึ้นของการเต้นของหัวใจ ในระหว่างที่ทำ

      บ่อยครั้งในการตรวจที่จะได้ผล Nonreactive เนื่องจากทารกไม่มีการเคลื่อนไหวเพียงพอ ที่เครื่องจะทำการอ่านผลได้ แพทย์จะทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่อเด็ก Active มากขึ้น แต่ถ้าผลยังคงเป็น Nonreactive ก็จะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์แบบที่เรียกว่า Biophysical แต่ถ้าผลยังคงไม่ชัดเจนแพทย์ก็จะต้องทำ Contraction Stress Test (CST) และถ้าหากผลการตรวจแสดงว่าทารกมีสุขภาพไม่แข็งแรงแพทย์อาจแนะนำให้ ทำการคลอดก่อนกำหนด



      การตั้งครรภ์ในเดือนที่่ 8

      พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
      เมื่อจะสิ้นสุดปลายเดือนที่แปดนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 36 เซนติเมตร และหนักประมาณ 3.5 กิโลกรัม ทารกมีการพัฒนารูปร่างและการทำงานของร่างกายไปจนเกือบสมบูรณ์แล้ว จะจะมีชีวิตรอดได้หากคลอดออกมาในเดือนนี้ โดยอาจไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจในหน่วยบริบาลทารกแรกเกิดของโรงพยาบาล เพราะปอดมีความสมบูรณ์มาก แต่ทารกก็ยังมีการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาเพื่อช่วยให้ปอดสมบูรณ์มากขึ้น เป็นการเตรียมพร้อมในการหายใจหลังคลอด ในสี่สัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอดทารกจะมีการพัฒนาในเรื่องของน้ำหนัก และการสร้างชั้นไขมันใต้ผิวหนังเพื่อป้องกันและรองรับแรงที่จะเกิดขึ้นระหว่างการคลอด

      สมองมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในเดือนนี้ ทารกสามารถเรียนรู้สิ่งที่อยู่ภายนอก ลองคุยกับลูก หรือ เปิดเพลงเบาๆให้ฟัง เพื่อสร้างความคุ้นเคย
      ใบหน้าของทารก เมื่อคลอดจะมีลักษณะกลมและขอบตาอาจมีสีคล้ำ แต่หลังจากนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและสีผิว
      แขนขาของทารกนั้นได้มีการพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ และนิ้วมีนิ้วเท้ามีเล็บขึ้นเต็มปลายนิ้วพอดี
      ขนอ่อนๆตามตัวของทารกนั้นได้หายไปเกือบหมดในเดือนที่แปด แต่บางส่วนก็ยังมีเหลืออยู่ให้เห็นหลังคลอด ผิวหนังของทารกจะมีสีซีด ลอกเป็นขุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฝ่ามือทั้งสองข้าง
      อวัยวะของระบบสืบพันธุ์ในทารกเพศหญิงจะมีเนื่อเยื่อที่จะเจริญไปเป็นเต้านมและหัวนมเริ่มเห็นชัดเจน ในทารกเพศชาย ลูกอัณฑะที่เคยอยู่ในช่องท้องตอนนี้ได้เคลื่อนตัวลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว
      ในเดือนที่แปดนี้จะหมุนตัวกลับเอาศีรษะลงไปสู่เชิงกรานของแม่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด แต่บางทีก็ไม่เป็นเช่นนั้น คุณหมอสามารถตรวจพบได้จากการตรวจอัลตร้าซาวด์ และคุณสามารถพบว่าส่วนที่แข็งๆและเป็นศีรษะของทารกอยู่บริเวณชายโครง และเท้าเล็กๆถีบลงบนบริเวณท้องส่วนล่างของคุณ หากในเดือนที่เก้าทารกยังคงไม่หมุนศีรษะกลับลงมาสู่อุ้งเชิงกราน การผ่าตัดคลอดก็จะถูกกำหนดขึ้น

      การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่
      อาการปวดที่รอยต่อของกระดูกเชิงกรานสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อทารกมีขนาดใหญ่และเคลื่อนตัวลงสู่อุ้งเชิงกราน กระดูกรอยต่อ และกล้ามเนื้อที่ยึดมดลูกจะถูกกดดันหรือดึงรั้งทำให้เมื่อเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายจะรู้สึกเจ็บได้
      ว่าที่คุณแม่จะรู้สึกว่าตัวเองนั้นเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่วเหมือนก่อน หรือจะเรียกว่าอุ้ยอ้ายก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะเดินหรือวิ่ง
      ว่าที่คุณแม่บางคนมักจะมีปัสสาวะเล็ดเมื่อหัวเราะ หรือไอ เป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ร่างกายสร้างออกมามากขึ้นเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อคลายตัว รวมถึงกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะปัสสาวะ
      ริดสีดวงทวาร แรงกดดันที่ศีรษะของทารกกดลงบนอุ้งเชิงกราน เพิ่มแรงดันในหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดเป็นริดสีดวงทวารขึ้นทำให้เจ็บปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าที่คุณแม่ที่ท้องผูกบ่อยๆมักจะเป็นริดสีดวงทวารได้โดยง่าย บางทีริดสีดวงทวารทำให้เลือดออกได้ อย่าอายที่จะบอกคุณหมอ เพราะเป็นเรื่องธรรมดามากที่จะเกิดริดสีดวงทวารขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ และคุณหมอจะมียาที่ช่วยให้คุณบรรเทาอาการเจ็บปวด พยายามอย่ายืนนานๆจะเพิ่มแรงดันให้เพิ่มมากขึ้น
      อาการหายใจไม่พอจะมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนที่แปดและเก้า ยอดของมดลูกจะอยู่สูงถึงระดับซี่โครงชิ้นล่างสุด และดันกระบังลมของคุณแม่ขึ้นไป ทำให้คุณรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก หรือหายใจไม่พอ ลองหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ แต่ลึกๆ จะช่วยให้ดีขึ้น และไม่มีผลกับการเจริญเติบโตของทารก พยายามยืนหรือนั่งให้หลังตรงอยู่เสมอจะช่วยให้อากาศไหลเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น ในเวลานอนมดลูกจะดันกระบังลมขึ้นไปอีก ให้เอาหมอนหลายๆใบหนุนไหล่และศรีษะให้สูงขึ้น หรือนอนท่ากึ่งนอนกึ่งนั่ง จะทำให้คุณหายใจสะดวกและหลับสบายขึ้น
      คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าร่างกายของุณแม่นั้นอ้วนฉุ เนื่องมาจากการบวมขึ้นของอวัยวะต่างๆ ที่มีของเหลวมาสะสมอยู่ เช่น ใบหน้า รอบตา ริมฝีปาก มือ ขา เข่า และเท้า เนื่องจากมีน้ำมาสะสมในเซลล์ไม่ถือเป็นความผิดปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องลดเกลือในอาหารลง เพียงแต่หลับพักผ่อนให้มากพอ
      คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่
      คุณแม่บางท่านอาจกังวลว่าทารกจะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงหรือไม่ จะมีความพิการหรือความผิดปกติหรือไม่ เป็นเรื่องปกติที่ว่าที่คุณแม่จะกังวล แต่ถ้าหากว่าคุณรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องแล้วก็ไม่ควรต้องกังวล ทารกมีโอกาสที่จะเกิดความพิการขึ้นได้น้อยมากหากคุณแม่อายุน้อยกว่าสามสิบห้าปี และหากได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติ (Triple markers) ตรวจน้ำคร่ำ หรือได้ทำการตรวจ 4D-อัลตร้าซาวด์แล้ว ก็ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงอีก
      บางครั้งคุณแม่อาจกลัวและวิตกเกี่ยวกับการคลอด ความเจ็บปวด หรือคุณแม่จะสามารถคลอดเองได้หรือไม่ ทารกจะได้รับอันตรายจากการคลอดหรือไม่ โดยปกติแล้วหากทารกอยู่ในท่าที่ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ หรือมีภาวะรกเกาะต่ำ หรือคุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์บางอย่าง การผ่าตัดคลอดจะถูกกำหนดไว้อยู่แล้ว คุณหมอจะต้องประเมินเอาไว้แล้วว่าคุณแม่สามารถคลอดเองได้ ซึ่งถ้าหากเกิดการคลอดลำบากขึ้นและทารกยังอยู่ในสภาวะปกติดี เครื่องมือที่ช่วยการคลอดทางช่องคลอดบางอย่างจะถูกนำมาใช้ เช่น คีม (Forceps) หรือแวคคิวอัม (Vacuum) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่เป็นอันตรายต่อทารก แต่ถ้าหากการรอคลอดที่ยาวนาน ปากมดลูกไม่เปิดเต็มที่และมีผลให้ทารกอยู่ในสภาวะที่ขาดอ๊อกซิเจน การผ่าตัดคลอดจะเป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้
      คุณแม่บางท่านมีความวิตกกังวลว่าจะสามารถรับผิดชอบดูแลทารกได้หรือไม่ แม้ว่าคุณแม่จะมีวุฒิภาวะที่เหมาะสมแต่บางครั้งความรู้สึกนี้ก็เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะกับคุณแม่มือใหม่ จำไว้ว่าคุณทำได้แน่ๆ เมื่อทารกคลอดออกมาคุณแม่จะรู้สึกว่าทำได้แน่ๆ การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์นั้น จะช่วยให้ความวิตกกังวลนั้นหายไป ลองอ่านหนังสือเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูทารก หาพี่เลี้ยง หัดเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือชงนมผสม จะช่วยให้คุณแม่มีความพร้อมและมั่นใจมากขึ้น
      ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
      ทารกท่าก้น
      ในเดือนที่แปดนี้ทารกควรจะกลับศีรษะลงมาเรียบร้อยแล้ว แต่บางทีก็ไม่เป็นเช่นนั้น คุณหมอสามารถตรวจพบได้จากการตรวจอัลตร้าซาวด์ และคุณสามารถพบว่าส่วนที่แข็งๆและเป็นศีรษะของทารกอยู่บริเวณชายโครง และเท้าเล็กๆถีบลงบนบริเวณท้องส่วนล่างของคุณ หากในเดือนที่เก้าทารกยังคงไม่หมุนศีรษะกลับลงมาสู่อุ้งเชิงกราน การผ่าตัดคลอดก็จะถูกกำหนดขึ้น ทารกท่าก้นหมายถึง เด็กในครรภ์มารดาที่มีส่วนนำเป็นก้นหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของขาหรือร่วมกันอยู่ทางส่วนล่างของมดลูก และศีรษะอยู่ทางยอดมดลูก สาเหตุที่แท้จริงที่เกิดทารกท่าก้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักพบสาเหตุที่ส่งเสริมให้เกิดทารกท่าก้นในกรณีดังต่อไปนี้
        • เด็กในครรภ์มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่ากว่าปกติ เช่น มีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ หรือมารดามีหน้าท้องหย่อนในการตั้งครรภ์หลังๆ
        • มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ
        • ส่วนหัวเด็กไม่สามารถปรับเข้ากับอุ้งเชิงกรานได้เช่น เด็กมีภาวะ Hydrocephalus หรือรกเกาะต่ำ
        • ทารกแฝด
      ในทารกท่าก้นบางกรณีสามารถคลอดเองทางช่องคลอดได้ แต่พบว่าภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดทารกท่าก้นมีสูงเช่น ทารกขาดอ๊อกซิเจน และมีเลือดออกในสมอง เนื่องจากศีรษะเด็กคลอดช้าเกินไป ปัจจุบันพบว่าการผ่าตัดคลอดเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับกรณีนี้

      ภาวะกรวยไตอักเสบ

      กรวยไตอักเสบเกิดขึ้นในช่วงใดของการตั้งครรภ์ก็ได้ แต่มักพบในไตรมาสที่สามเนื่องจากมีความสัมพันธ์กับขนาดของมดลูกที่โตขึ้นด้วย โดยที่มดลูกขยายตัวใหญ่ขึ้นและไปกดทับหลอดไต อีกสาเหตุหนึ่งคือหลอดไตมีการเคลื่อนไหวน้อยลง ด้วยผลจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทั้งสองสาเหตุนี้ทำให้มีการคั่งค้างของปัสสาวะทำให้มีการติดเชื้อตามมา เชื้อที่พบบ่อยมักจะเป็น E.Coli
      อาการที่เกิดจากกรวยไตอักเสบได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน กดเจ็บบริเวณหลังระหว่างชายโครงและกระดูกสันหลัง และอาจมีการถ่ายปัสสาวะบ่อย คุณหมอสามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจโปรตีน และPus cell ในปัสสาวะ หากคุณเป็นกรวยไตอักเสบ คุณจำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาลเนื่องจากแพทย์ต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและยาปฏิชีวนะ
      กรวยไตอักเสบอาจเกิดขึ้นเรื้อรังได้ หากก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมานแก่ว่าที่คุณแม่มาก คุณหมออาจทำการเหนี่ยวนำให้เกิดการคลอด หากการตั้งครรภ์ครบกำหนดแล้ว
      การตรวจต่าง ๆ
      Contraction Stress Test (CST)
      คือการประเมินสภาพของทารกในครรภ์จากภายนอก ผ่านจากมารดาโดยการ บันทึกการเต้นของหัวใจของทารกในขณะที่มีการบีบตัวของมดลูก อัตราการเต้นของ หัวใจของทารกและการบีบตัวของมดลูกจะถูกบันทึกไว้
      การบีบตัวของมดลูกจะทำให้เลือดมาเลี้ยงทารกน้อยลงเป็นช่วงเวลาสั้นๆ จากการสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจของทารกขณะที่มีการบีบตัวของมดลูก แพทย์จะสามารถบอกได้ว่าทารกสามารถรับมือกับสภาวะตึงเครียดของการบีบตัวของมดลูก นั้นได้ดีเพียงใด
      Contraction Stress Test จะทำเมื่อใด
        • เมื่อ Nonstress Test ได้ผล Nonreactive
        • เมื่อผลของการตรวจ Biophysical profile ได้คะแนนต่ำ
        • เมื่อแพทย์สงสัยว่าทารกอยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยงสูง
      การตรวจ Contraction Stress Test แพทย์จะวัดการบีบตัวของมดลูกโดยพันก๊อซรอบผนังหน้าท้องของมารดาหัวใจของทารกจะถูกวัดจากเครื่องอัลตร้าซาวด์ เครื่องมือจะบันทึกการเต้นของหัวใจของทารก และการบีบตัวของมดลูก ผลจะแสดงเป็นรูปกราฟสองเส้นแยกจากกัน


      การแปลผล

      Negative: หากในระหว่างการตรวจไม่มีการลดลงของการเต้นของหัวใจของทารก แสดงว่าทารกมีสุขภาพดี
      Positive: หากในระหว่างการตรวจมีการลดลงของการเต้นของหัวใจของทารก แสดงว่าทารกมีความผิดปกติบางอย่าง
      หลังจากการตรวจ Contraction Stress Test จะต้องมาตรวจซ้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับผลการตรวจ หากผล Positive มารดาอาจจำเป็นต้องพักในโรงพยาบาล หากทารกมีสุขภาพไม่แข็งแร็งโดยที่ไม่สามารถแก้ไขได้แพทย์อาจแนะนำให้ทำการคลอดก่อนกำหนดโดยเร็วที่สุด
      ความเสี่ยงของการทำ Contraction Stress Test อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดดังนั้นจึงไม่ทำในรายที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

      แพทย์จะไม่ทำการตรวจ Contraction Stress Test ในกรณีต่อไปนี้

        • เคยมีการผ่าตัดคลอดโดยลงมีดในแนวตั้ง
        • อาจทำให้รกลอกตัวจากมดลูกดังนั้นจะไม่ทำในกรณีที่สงสัยว่ารกอาจลอกตัวก่อนกำหนด
        • จะไม่ตรวจในทารกแฝด
        • ในรายที่รกเกาะต่ำเพราะจะทำให้มีเลือดออก


      การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 9 - 10


      พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์


      ตอนนี้ทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นวันละ 1 ออนซ์ ซึ่งอาจมีน้ำหนักมากถึง 3.5 กิโลกรัม (7 ปอนด์ 11 ออนซ์) และยาวประมาณ 36 เซนติเมตร (14 นิ้ว) เมื่อครบกำหนด 40 สัปดาห์พอดีทารกอาจยาวถึง 20 นิ้ว หรือมากกว่านี้เล็กน้อย

      เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 36 สัปดาห์ ทารกจะมีความสมบูรณ์ของร่างกายเกือบร้อยเปอร์เซนต์แล้ว และจะสามารถมีชีวิตรอดได้หากมีการคลอดก่อนกำหนด โดยอาจไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในหน่วยบริบาลทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลนานนัก เนื่องจากปอดสมบูรณ์เต็มที่แล้ว พร้อมที่จะทำงานเมื่อทารกออกสู่โลกภายนอก

      ในช่วงสี่สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ทารกจะมีการเพิ่มน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังจะทำให้ทารกดูอ้วน แก้มยุ้ย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการรองรับแรงกดที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการคลอดนั่นเอง

      ขนที่ปกคลุมร่างกายอยู่มากมายจะเริ่มหายไป และมีไขมันมาเคลือบผิวหนังอยู่แทน ไขมันเล่านี้จะช่วยปกป้องผิวที่บอบบางของทารกเอาไว้ ผิวหนังอาจจะลอกและแห้งแตกบ้างโดยฌพาะอย่างยิ่งบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า และผิวหนังมักมีสีค่อนข้างซีดเมื่อแรกคลอด

      ใบหน้าเมื่อแรกคลอดจะค่อนข้างกลม และรอบขอบตาอาจดูคล้ำเล็กน้อยซึ่งจะหายไปเองถึงแม้บางคนจะใช้เวลานานถึงหกเดือนก็ตาม

      แขนและขาจะอยู่ในท่างอ นิ้วมือและนิ้วเท้ามีความสมบูรณ์เต็มที่ และนิ้วมือและนิ้วเท้าเล็กๆนั้นจะมีเล็บที่บางและคมซึ่งอาจทำให้ข่วนตัวเองได้ซึ่งคุณอาจจะเห็นรอยข่วนนั้นได้เมื่อทารกคลอดออกมา

      หากเป็นทารกเพศชาย ตอนนี้ลูกอัณฑะจะเคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะสามารถมองเห็นได้จากการตรวจอัลตร้าซาวน์ สำหรับทารกเพศหญิงจะมีเนื้อเยื้อของเต้านมและหัวนมได้เคลื่อนขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว

      ขี้เทาที่อยู่ในลำใส้ของทารกจะทำให้ระบบขับถ่ายเริ่มมีการเคลื่อนไหวและขับถ่ายเป็นครั้งเมื่อทารกออกสู่โลกภายนอก

      ทารกจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงเมื่อคุณใกล้คลอด แต่ทารกที่อยู่ในสภาวะที่ไม่ดีนักก็จะเคลื่อนไหวน้อยลงเช่นกันเพื่อเก็บพลังงานเอาไว้ ดังนั้นเมื่อคุณตื่นนอนขึ้นในตอนเช้าและก่อนเข้านอน นั่งอยู่บนเตียงสักสามสิบนาทีและนับจำนวนครั้งของการเคลื่อนไหวของทารก หากคุณนับได้จำนวน 5 – 6 ครั้งก็ถือว่าเพียงพอแล้วและคุณก็สบายใจได้ว่ามีความปลอดภัยภายในโลกส่วนตัวเล็กๆนั้น ทารกเคลื่อนไหว 10 ครั้งต่อวันถือว่าปกติดี

      ปอดของทารกนั้นมีการพัฒนาจนสมบูรณ์เต็มที่ มีการผลิตฮอร์โมนบางชนิดออกมาซึ่งช่วยในการพัฒนาความสมบูรณ์ของปอดภายหลังการคลอด

      หัวใจของทารกจะเต้นประมาณ 110-150 ครั้งต่อนาที เมื่อทารกคลอดออกมาจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นในระบบไหลเวียนเลือด เมื่อปอดมีการขยายตัวออก ทำให้เลือดมีการไหลผ่านไปยังปอด และเกิดระบบไหลเวียนเลือดที่สมบูรณ์

      รกซึ่งให้อาหารและออกซิเจนแก่ทารกมาเป็นเวลานานจะมีความสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุครรภ์ 34 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเริ่มมีการเสื่อมสภาพลง เมื่อมีการคลอดรกออกมา รกจะมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 6 ของน้ำหนักของทารก



      การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม่



      บริเวณท้องส่วนล่างจะรู้สึกหน่วงมากขึ้น เนื่องมาจากศีรษะของทารกที่เคลื่อนลงต่ำเพื่อเตรียมพร้อมต่อการคลอด จะมีน้ำหนักไปถ่วงบริเวณท้องส่วนล่างมากยิ่งขึ้น

      ตอนนี้คุณแม่เลิกกังวลกับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นได้แล้ว เพราะว่ามันกำลังจะหายไปในไม่ช้า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแบ่งเป็น ส่วนทารก 38% ส่วนของเลือดและของเหลวที่เพิ่มขึ้น 22% ส่วนของมดลูก เต้านม ก้นและขา ที่ขยายใหญ่ขึ้น 20% เป็นน้ำหนักของน้ำคร่ำ 11% และ อีก 9% เป็นน้ำหนักของรก ปากมดลูกจะอ่อนนุ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมที่จะขยายออก หรือเปิดออกให้ทารกเคลื่อนผ่านออกมาได้ ช่องคลอดจะมีการขยายความยาวออกด้วยเช่นกัน เส้นเลือดดำจะมีเลือดมาคั่งอยู่ทำให้บริเวณช่องคลอดมีสีออกม่วงๆ และคุณแม่ก็จะมีตกขาวออกมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากปากมดลูกมีการผลิตเยื่อเมือกออกมามากขึ้น คุณแม่ต้องระมัดระวังในการทรงตัวให้มากยิ่งขึ้น เพราะน้ำหนักของหน้าท้องที่มากขึ้นจะทำให้เสียสมดุลย์ของการทรงตัว เป็นสาเหตุให้ปวดหลัง



      คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่



      คุณแม่อาจจะเหนื่อยกับการตั้งครรภ์ ในเดือนสุดท้ายนี้คุณจะอุ้ยอ้ายมากขึ้น จะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวกเหมือนอย่างแปดเดือนแรก แต่อาการที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆเช่น หายใจไม่พอ อาหารไม่ย่อย Heartburn จะลดลงเนื่องจากทารกเคลื่อนตัวลงสู้ช่องเชิงกราน แต่ก็จะทำให้คุณเคลื่อนไหวหรือเดินได้ลำบากมากขึ้น

      ทาครีมให้ผิวหนังชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยแตกของผิวหนังบริเวณหน้าท้องเต้านม สะโพกและต้นขา รอยแตกนี้อาจจางลงได้บ้าง

      พักให้มากขึ้น ลดกิจกรรมต่างๆลง ผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะมีทฤษฎีที่พบว่าฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในขณะที่มีความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบตัวทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

      ในหญิงตั้งครรภ์ที่ใกล้จะคลอดจะมีของเหลวสะสมอยู่ตามเข่า เท้า ขาส่วนล่าง ทำให้อวัยวะเหล่านั้นบวมขึ้น การยกขาสูง หรือการแช่ขาในอ่างน้ำเย็น จะช่วยให้อาการบวมดีขึ้น

      คุณแม่บางท่านอาจมักจะหงุดหงิดรำคาญ ในช่วงนี้สิ่งที่มากระทบเล็กๆน้อยๆมักทำให้คุณแม่หงุดหงิดอยู่เสมอ ความอดทนของคุณแม่จะลดลง คุณแม่อาจจะหงุดหงิดกับการที่ต้องเดินเข้าห้องน้ำบ่อยมากนับครั้งไม่ถ้วนในตอนกลางคืน หรืออารมณ์เสียที่ไม่สามารถก้มลงไปผูกเชือกรองเท้าของตัวเองได้

      ความกลัวจะทำให้คุณแม่รู้สึกกังวลใจ อย่าเก็บความกลัวความกังวลเอาไว้กับตัว ลองพูดคุยกับคนอื่นจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และจะทำให้คุณแม่หายกลัวได้หากถามถูกคน

      เมื่อมาถึงขั้นที่ทารกมีการเจริญเติบโตเต็มที่ และพร้อมที่จะออกมาดูโลกแล้ว บางทีคุณแม่จะย้อนกับไปคิดถึงเรื่องราวในแปดเดือนที่ผ่านมา เรื่องราวบางอย่างที่เป็นสาเหตุให้คุณกังวลใจในอดีตอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ขบขันได้ในตอนนี้

      และเหมือนเป็นสัญชาติญาณของการทำรัง คุณแม่จะลุกขึ้นมาทำความสะอาดและตระเตรียมพื้นที่สำหรับต้อนรับสมาชิกใหม่ แต่ขอให้มีคนช่วยทำ และอย่าหักโหมเกินไปเพราะมันอาจทำให้คุณแม่ต้องไปโรงพยาบาลก่อนกำหนด



      อาการแสดงว่าจะคลอด



      การเริ่มการคลอดหมายถึงการที่มดลูกมีการบีบรัดตัวเพื่อที่จะขับเคลื่อนทารกในครรภ์ให้ออกสู่โลกภายนอก โดยปกติธรรมชาติของมดลูกขณะตั้งครรภ์จะมีการบีบตัวเป็นพัก ๆ เสมือนกับการเตรียมตัว ฝึกซ้อมการหดรัดตัวมาตลอดช่วงการตั้งครรภ์ แต่เป็นการหดรัดตัวที่ไม่สม่ำเสมอ และไม่ก่อความเจ็บให้แก่คุณแม่ เมื่อเข้าสู่กระบวนการคลอด การหดรัดตัวของมดลูกก็จะเข้าสู่ระบบ คือการบีบรัดตัวจะรุนแรงขึ้น ๆ ระยะเวลาจะสั้นลงและสั้นลงจนเข้าสู่ความคงที่ 3 รอบการบีบตัวใน 10 นาที ในช่วงเวลานี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเริ่มกระบวนการคลอดแต่อาจจะแตกต่างกันไป อาการปวดท้องเป็นพัก ๆ จะเป็นอาการนำ แต่ในคุณแม่บางท่านจะรู้สึกถึงอาการปวดหลังนำมาก่อน และจะมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด แต่ก่อนปวดก็อาจพบมูกเลือดได้ เนื่องจากปากมดลูกเปิดขยายและเมือกที่อุดอยู่จะหลุดออกมา นอกจากนี้ภาวะน้ำเดินเป็นอาการสำคัญที่จะบอกว่า ภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้าการคลอดต้องสิ้นสุดลง ถ้ามีน้ำเดินมาก่อนเริ่มมีการคลอด ถือเป็นสภาวะผิดปกติที่จะต้องเข้าพบแพทย์โดยเร็ว



      การเตรียมตัวสำหรับการคลอด



      การเริ่มต้นเตรียมตัวแต่เนิ่นๆจะทำให้คุณแม่มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวไปคลอด สิ่งของที่ต้องนำไปด้วย หรือการเตรียมพร้อมเมื่อจะนำทารกกลับบ้าน เป็นต้น



      สิ่งที่จะต้องนำไปโรงพยาบาลสำหรับการคลอด


      1. ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แชมพู แป้งโรยตัว เครื่องสำอางต่างๆ ชุดชั้นในแบบที่คุณซื้อเตรียมไว้สำหรับการให้นมทารก เสื้อผ้าสำหรับใส่กลับบ้าน ถุงเท้า แผ่นซับน้ำนม สลิปสำหรับใส่พยุงหน้าท้องจะช่วยให้คุณเดินได้สะดวกขึ้นหลังคลอด ของใช้ส่วนใหญ่โรงพยาบาลมักจะมีเตรียมไว้ให้อยู่แล้วเช่น ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ผ้าอนามัย เสื้อผ้าทารก ผ้าอ้อม นมกระป๋องและขวดนมของทารกทางโรงพยาบาลจะมีเตรียมไว้ให้เสมอ แต่ถ้าคุณอยากจะนำไปเองก็สามารถทำได้
      2. ขนมหรือผลไม้ที่คุณชอบ
      3. กล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวิดีโอ สำหรับถ่ายตอนคลอด
      4. เทปหรือซีดีเพลงที่คุณชอบ อาจต้องนำเครื่องเล่นไปด้วยเพราะโรงพยาบาลมักจะมีแค่ทีวีเท่านั้น
      5. หนังสืออ่านเล่นหลายๆเล่ม เพราะหลังคลอดคุณแม่อาจต้องนอนบนเตียงหลายวัน
      6. สมุดโทรศัพท์ เอาไว้โทรบอกข่าวดี
      7. โทรศัพท์มือถือและเครื่องชาร์ทแบตเตอรี่
      8. คอมพิวเตอร์ LAP TOP เอาไว้หาข้อมูลทางอินเตอร์เนตหรือตอบ e-mail ขอบคุณสำหรับ e-card ที่เพื่อนๆ ส่งมาแสดงความยินดี


      ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้


      ตะคริว


      ตะคริวอาจเกิดขึ้นได้ มักจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เมื่อคุณแม่เข้านอนแล้ว และพบว่ามีอาการเกร็งอย่าง ฉับพลันที่ข้อเท้าและลามขึ้นมาที่ขาพร้อมกับความรู้สึกเจ็บ จะมีหดเกร็งอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อนั้นมีลักษณะเป็นก้อนแข็งร่วมด้วยอาการปวด มักพบตะคริวที่กล้ามเนื้อขาหรือแขน แต่บางครั้งก็เป็นที่เท้า มือ นิ้ว หน้าท้อง ตะคริวเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอเพราะต้องแบ่งไปให้ทารกสร้างกระดูกและฟัน หรือเกิดจากการที่ระดับของแคลเซียมและโปแทสเซียมไม่สมดุลย์กัน วิธีแก้ไขก็คือ เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม กุ้งฝอย ปลาตัวเล็กๆ งาดำ ถั่วแดงหลวง ใบยอ ตำลึง

      การบรรเทาอาการทำได้โดยเมื่อเกิดตะคริวขึ้นให้คุณแม่เหยียดคลายกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว หากเป็นที่ขาให้เหยียดขาออกให้ตรงหรือหย่อนขาลง การนวดขาจะช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้ อาจให้คุณพ่อช่วยดึงเหยียดให้ด้วยความนุ่มนวล ให้ความอบอุ่นและนวดกล้ามเนื้อนั้นเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด



      โลหิตจาง


      ช่วงที่ตั้งครรภ์ เม็ดเลือดแดงจะถูกสร้างเพิ่มขึ้น เพื่อนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายคุณแม่และทารก และยังต้องเผื่อการสูญเสียเลือดขณะคลอดอีกด้วย ถ้ารู้สึกเหนื่อย หน้าซีด มือเล็บซีด เป็นลมง่าย ก็น่าสงสัยว่าจะได้รับธาตุเหล็กน้อยไป โดยเฉพาะเมื่อใกล้คลอดคุณแม่บางท่านรับประทานอาหารได้น้อยลงเพราะรู้สึกแน่นท้อง จึงทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ คุณแม่ต้องพยายามรับประทานให้ได้มากขึ้น และอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ตับ เนื้อไม่ติดมัน อาหารทะเล นม ไข่ งา ถั่วเหลือง ผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักปวยเล้ง และมะเขือเทศ วิตามินซีช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น แต่ไม่ควรซื้อวิตามินสำเร็จรูปมากินเองควรปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีกว่า
































      .

      ไม่มีความคิดเห็น:

      แสดงความคิดเห็น