Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ใบบัวบก

                       ใบบัวบก



บัวบก เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในแถบเอเชีย



สรรพคุณของใบบัวบก




วิดีโอ YouTube


ใบบัวบกสามารถช่วยรักษาแผลให้หายได้เร็วขึ้นและยังช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้ดี เพราะมีกรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และสารอะเซียติโคไซด์ ยืนยันได้เพราะยาแผนปัจจุบันทำเป็นรูปครีมผงโรยแผล ยาเม็ดรับประทาน เพื่อใช้รักษาแผลสดและแผลผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นแผลไฟไหม้ หรือแผลฝีหนองหรือแผลสด บัวบกจัดการได้หมด โดยใช้ใบและต้นสดตำละเอียดคั้นน้ำทานวันละ 3 - 4 ครั้ง หรืออาจใช้กากพอกบริเวณแผลด้วยก็ดี



อ้างอิง



http://www.sistersandcompany.com สรรพคุณของใบบัวบก




บัวบก (Asiatic Pennywort)
บัวบก ชื่อพื้นเมือง บัวบก ผักหนอก ผักแว่น เตียกำเช้า บัวบกเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอติดติดเลื้อยไปตามดินเรียกว่า "ไหล" มีใบรากออกตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปร่างกล้ายไตหรือกลม ขอบใบหยักมีรอยเว้าลึกที่ฐานใบ ผิวใบด้านนอกเรียบ ด้านล่างมีขนสั้นๆ ก้านใบยาว ดอกเป็นช่อคล้ายร่ม ออกครั้งละ 2-3 ช่อ แต่ละดอกมีกลีบดอกสีม่วงเข้ม 5 กลีบ ผลมีเปลือกแข็งยาว 2-2.5 มิลลิเมตร สีเขียวหรือม่วง การปลูกบัวบกเป็นพืชเขตร้อน พบขึ้นทั่วไปตามที่ลุ่มแฉะ ตามคันนาและริมหนองน้ำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเห็ด ปักชำไหล ปลูกง่าย ชอบที่ชื้นแฉะและมีแสงแดดส่องถึง


ประโยชน์ทางยา

ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้นสด ใบและเมล้ด ช่วงเวลาที่เก็บยาเก็บตอนที่ใบสมบูรณ์เต็มที่ สรรพคุณทางยารวมทั้งต้นสามารถแก้เจ็บคอได้ ทำให้มีความสดชื่น ชุ่มคอ แก้ช้ำในก็ดีมาก สามารถแก้ความดันโลหิตสูงได้อย่างดีทีเดียว ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อดื่มน้ำบัวบกทุกๆวันเป็นประจำเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้นก็จะทราบได้ทันทีว่าความดันโลหิตลดลงอย่างน่าพิศวงโดยไม่ต้องไปรับประทานยา ทั้งยังใช้บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้โรคปวดเมื่อย แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค ตับอักเสบ ส่วนเมล็ดมีรสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ ปวดศรีษะ


ขนาดและวิธีใช้รักษา
- แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้บัวบกทั้งต้นสด 1 กำมือ ล้างแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาวันละ 3-4 ครั้งจนหาย
- รักษาแผลเก่าแผลเป็นให้หายได้ รักษาโรคเรื้อนกวาง นำบัวบกมาดองเหล้า 7 วัน เอายามาทาผิวหนังวันละ 3 ครั้ง
- ผู้ที่เป็นโรคตับ ตับโต ตับอักเสบ ใช้ต้นสด 240-550 กรัม ต้มคั้นเอาน้ำขนาดชามใหญ่ดื่มทุกวัน
- อาการร้อนในกระหายน้ำ อ่อนเพลีย ใช้น้ำคั้นจากใบสด ทำให้เจือจาง ปรุงรสด้วยน้ำตาลใส่น้ำแข็ง ดื่มเป็นเครื่องดื่มอาการดังกล่าวจะค่อยหายไป

การทดลองและวิจัยมีรายงานพอน่าเชื่อถือได้ ว่าแก้ปวดเมื่อย เจ็บหน้าอก เจ็บหลัง เอว ใช้ต้นแห้งบดเป็นผงรับประทานวันละ3-4 กรัม แบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง แก้ตับอักเสบใช้ต้นสด 120 กรัม ผสมน้ำ 500 มิลลิลิตร นำไปต้มให้เหลือ 250 มิลลิลิตร ใส่น้ำตาลกรวดลงไป 60 กรัม ขณะที่ยังร้อน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง ตอนท้องว่างติดต่อกัน 7 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา นอกจากนี้ใช้ใบบัวบกรักษาแผลเรื้อรัง แผลอักเสบได้ผลดี
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่ใช้ใบและเถา รสกรอบมัน รับประทานเป็นผัก ปรุงเป็นเครื่องดื่มได้ ใบบัวบกเอาไปรับประทานกับก๋วยเตี๋ยวผัดไทยได้อย่างเอร็ดอร่อยเข้ากันได้ดีมาก เคี้ยวก๋วยเตี๋ยวผัดไทยไปพลางแกล้มด้วยใบบัวบกได้รสชาติที่ดีจริงๆหรือใช้เป็นผักแกล้มกับแกงเผ็ดทางใต้ หรือนำมาหั่นแกงกะทิกับกุ้งก็อร่อยเช่นกัน ที่นิยมกันมากคือน้ำใบบัวบกมีผู้ไปทำขายเป็นเครื่องดื่มมีกลิ่มหอมรสดี บวกกับความหวาน ความเย็นแสนจะชื่นใจ ราคาก็ไม่แพงอย่างที่คิด มีประโยชน์คับแก้ว แต่ไม่ควรนำสีมาผสม เพราะไม่ใช่สีธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เราควรทำน้ำใบบัวบกดื่มเองจะดีกว่า ง่าย สะดวกไม่ยุ่งยากซับซ้อน
คุณค่าทางโภชนาการ ใบบัวบก 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 44 กิโลแคลอรี
ประกอบด้วยน้ำ 86.0 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม
โปรตีน 1.8 กรัม
ไขมัน 0.9 กรัม
กาก 2.6 กรัม
แคลเซียม 146 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
เหล็ก 3.9 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 10,962 IU
วิตามินบี 1 0.24 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.09 มิลลิกรัม
ไนอาซีน 0.8 มิลลิกรัม
วิตามินซี 4 มิลลิกรัม

จะเห็นว่าบัวบกเป็นสมุนไพรที่น่าสนใจมาก มีสารสำคัญที่มีประโยชน์ในทางยา ทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารสูง การใช้ใบบัวบกเป็นอาหารและเป็นเครื่องดื่มจึงดีกว่าซื้อยาบำรุงกำลังดื่มเสียอีก โดยเฉพาะมีวิตามินเอสูงมาก ควรรับประทานบ่อยๆเป็นประจำ




บัวบก บำรุงสมอง เพิ่มความเยาว์วัย





บัวบก บำรุงสมอง เพิ่มความเยาว์วัยมารดา (ไทยโพสต์)
เมื่อกล่าวถึงบัวบก หลายคนคงจะถึงบางอ้อกันเลยทันที เพราะเป็นสมุนไพรที่รู้กันดีว่ามีสรรพคุณแก้ร้อนใน ช้ำใน หรือใครที่กระหายน้ำสามารถดื่มน้ำใบบัวบกที่มีวางขายอยู่ทั่วไปให้ชื่นใจ หมดความกระหายได้เลยทันที น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักสมุนไพรที่เรียกว่า บัวบก
ในขณะที่อีกมุมหนึ่งของบัวบกที่น้อยคนนักจะรู้จัก นั่นคือ สรรพคุณในการบำรุงสมองไม่แพ้แปะก๊วย อันเป็นที่นิยมในกระแสโลก และมีการรณรงค์ให้ปลูกแปะก๊วยกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่รวมทั้งหมอยาในทุกภาคของไทยได้สืบทอดความรู้เรื่องบัวบกจากรุ่นสู่รุ่น และนำมาใช้ในการบำรุงร่างกาย บำรุงประสาท บำรุงความจำ บำรุงสายตา บำรุงผม บำรุงเอ็น เป็นยาอายุวัฒนะ ใช้ได้ทุกเพศทุกวัยทั้งเด็ก ผู้ใหญ่และคนชรา นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้กันดีอีกว่า ชนิดของบัวบกที่มีสรรพคุณที่ดีที่สุดคือ ผักหนอกขม ซึ่งขึ้นตามธรรมชาติ พบเห็นโดยทั่วไป

ในตำราไทยกล่าวว่า บัวบกมีรสเฝื่อน ขม เย็น เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ท้องเสียหรือบิด แก้ลม แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า เป็นยาบำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ นอกจากนี้ยังมีผู้รจนาสรรพคุณของบัวบกว่า
"กิน 1 เดือน โรคร้ายหายสิ้นมีปัญญา กิน 2 เดือน บริบูรณ์น่ารักมีเสน่ห์ กิน 3 เดือน ริดสีดวงสิบจำพวกหายสิ้น กิน 4 เดือน ลมสิบจำพวกหายสิ้น กิน 5 เดือน โรคร้ายในกายทุเลา กิน 6 เดือน ไม่รู้จักเมื่อยขบ กิน 7 เดือน ผิวกายจะสวยงาม กิน 8 เดือน ร่างกายสมบูรณ์เสียงเพราะ.."
จากงานศึกษาวิจัยพบว่า บัวบกมีฤทธิ์เช่นเดียวกับแปะก๊วยในการบำรุงสมอง กล่าวคือเพิ่มความสามารถความจำและการเรียนรู้ มีการจดสิทธิบัตรสารสกัดในบัวบกด้านคุณสมบัติช่วยเพิ่มความสามารถในการจำ นอกจากนี้ยังมีการทดลองในสัตว์ด้วย ซึ่งพบว่าบัวบกทำให้ลูกหนูมีความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น ทำให้เซลล์สมองของหนูแรกเกิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความฉลาด ส่วน hippocampal CA3 และแขนงนำสัญญาณประสาทของสมองส่วนที่เรียกว่า อมิกดาลา (amygdala) ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมเหตุผลและอารมณ์ มีการพัฒนาการที่ดีกว่าหนูในกลุ่มควบคุม ทำให้ปฏิภาณไหวพริบในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางของหนูดีขึ้น ตลอดจนยังเพิ่มสมาธิและความสามารถในการตัดสินใจเฉพาะหน้าในหนูได้อีกด้วย

ส่วนการศึกษาในมนุษย์พบว่า เด็กปัญญาอ่อนที่กินบัวบกวันละ 500 มิลลิกรัมติดต่อกันสามเดือน มีความสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนการศึกษาในระดับเซลล์ถึงกลไกการออกฤทธิ์บำรุงสมอง พบว่า บัวบกทำให้การหายใจในระดับเซลล์ของสมองดีขึ้น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเสื่อมของเซลล์สมอง คงสภาพปริมาณของสารสื่อประสาท acetylcholine ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของสมอง เสริมฤทธิ์การทำงานของสาร GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาททำหน้าที่รักษาสมดุลของจิตใจ ทำให้ผ่อนคลายและหลับได้ง่าย นอกจากนี้บัวบกยังทำให้หลอดเลือดมีความแข็งแรง และสามารถนำเลือดไปเลี้ยงในอวัยวะต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เป็นต้น
จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าว ทำให้บัวบกมีแนวโน้มจะใช้เป็นอาหารเพิ่มไอคิว เพิ่มความฉลาด เพิ่มความสามารถในการจำและการเรียนรู้ในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กปัญญาอ่อนรวมไปถึงการใช้ในเด็กสมาธิสั้น เนื่องจากบัวบกทำให้สารในสมองมีความสมดุล คือ มีความสงบผ่อนคลาย และการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองทำให้เกิดความสามารถในเรียนรู้ได้ดีขึ้น ส่วนในคนทั่วไปบัวบกจะช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมในวัยชรา หรืออัลไซเมอร์ รวมทั้งช่วยคลายเครียด ทำให้มีสมาธิในการทำงานอีกด้วย

ประโยชน์ของใบบัวบก





ใครที่ชอบทานใบบัวบกกันบ้าง รู้หรือไม่ว่า ใบบัวบกนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง วันนี้เกร็ดความรู้มีเรื่องนี้มาฝากกัน...

ใบบัวบกมีคุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตาและมีสารแคลเซี่ยมมากเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีวิตามินบี 1 สูงกว่าผักหลาย ๆ ชนิด

ใบบัวบกมีสรรพคุณทางยา ในการแก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการปวดศรีษะข้างเดียว บำรุงสมอง แก้ความดันโลหิตสูง แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ และขับปัสสาวะ
นอกจากนี้

ในการศึกษาทางเภสัชวิทยาเพื่อค้นหาสารสำคัญ หรือหาสารออกฤทธิ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในใบบัวบก พบว่า ใบบัวบกจะให้สารไกลโคไซด์ (Glycosides) หลายชนิดที่ให้ผลต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidation) ซึ่งส่งผลให้การลดความเสื่อมของเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้

นอกจากนี้ยังพบว่า

สารไกลโคไซด์ที่ได้จากใบบัวบกยังส่งผลในการช่วยเร่งการสร้างสารคอลลาเจน (Collagen) ที่เป็นโครงสร้างของผิวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้เร็ว
ผู้ที่ควรทานใบบัวบก ได้แก่

1. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม อาทิ ผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง
2. ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องใช้สมองอย่างมาก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำ
3. ผู้ที่มีความเครียดสูงจากการทำงานหนัก
4. ผู้ที่มีความผิดปกติทางผิวหนัง และกล้ามเนื้อโดยมีอาการฟกช้ำ และผิวหนังอักเสบ
5. ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เพราะช่วยเร่งการสมานแผลให้เร็วยิ่งขึ้น

รู้ถึงประโยชน์ของใบบัวบกแล้ว ก็อย่าลืมหันมาหาทานกันได้ เพื่อสุขภาพที่ดี.

ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์เดลินิวส์








๑. บำรุงสมอง
นำใบบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด โขลกให้แหลกนำไปต้มกรองเอาแต่น้ำ มาดื่ม หรือจะคั้นสด ผสมกับน้ำดื่มก็ได้ อาจเติมน้ำตาลทราย และ เกลือ นิดหน่อย ให้ชวนดื่ม ดื่มไปทุกวันๆละ ๑ แก้ว

๒. บำรุงหัวใจ
ต้มดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว


๓. แก้ร้อนในกระหายน้ำ
จะต้มหรือคั้นสดก็ได้ ดื่ม ๑ แก้ว เวลากระหายน้ำ


๔. แก้ช้ำใน
นำใบบัวบกสะอาดสดมาโขลก แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล ไม่นานอาการช้ำในก็จะทุเลาลงไปเรื่อยๆ


๕. ความดันโลหิตสูง
ต้มน้ำใบบัวบกต้ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว เป็นเวลา ๕-๖ วัน แล้วลองวัดความดันโลหิตดู จะลดลงมาปกติ อาการของโรคจะหายได้ จากนั้น ควรควบคุมเรื่องอาหาร กับการออกกำลังกายและอารมณ์


๖. ลดอาการแพ้
ผื่นคัน ปวดแสบ ปวดร้อน อักเสบได้ นำใบบกสะอาดมาตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่แพ้ อักเสบ อาการที่เป็นจะค่อยๆทุเลาลง



๗. รักษาบาดแผลสด
ใช้ตำและพอกที่แผล สามารถทำลายเชื้อโรคได้
๘. ดับพิษไข้
คั้นเอาน้ำสด ดื่ม ๑ ถ้วยตะไล ไม่ต้องผสมน้ำเลย ดื่ม ๓ เวลา เช้า- กลางวัน - เย็น

๙. แก้ปวดท้อง
มวนในท้อง ท้องเสียได้ โดยคั้นเอาน้ำสดๆเข้มข้นดื่มช่วยให้ทุเลาได้

๑๐. แก้บิด
ใช้ใบบัวบกสอเข้มข้น ดื่มสดๆ เพื่อทำลายเชื้อบิด ดื่มเช้า - กลางวัน - เย็น ประมาณ ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล

๑๑. แก้ดีซ่าน
เอาบัวบกมาคั้นน้ำดื่มสดๆ ๓ เวลา เช้า-กลางวัน-เย็น

๑๒. แก้อาเจียนเป็นเลือด
คั้นเอาน้ำสดๆ ดื่ม ๓ เวลา เช้า - กลางวัน -เย็น

๑๓. รักษาอาการตาแดง
ตำใบบัวบกสดๆหลับตาแล้วพอกที่ตาเป็นเวลานานๆ แล้วเปลี่ยนยา บ่อยๆ หายได้ในที่สุด

๑๔. สร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง


๑๕. แก้เจ็บคอ
เอาบัวบกสดเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วจิบเอา แก้อาการเจ็บคอดี มาก จิบได้เรื่อยๆ

๑๖. ขับปัสสาวะ
นำใบบัวบกสดคั้นน้ำ ดื่มกันสดๆ อาจเติมความหวานเล็กน้อยก็ได้

๑๗. แก้กามโรค
เป็นน้ำกระสายยา ในการรักษากามโรค กินร่วมกับยาอื่นได้

๑๘. แก้โรคเรื้อน
ใช้ใบบัวบกคั้นน้ำดื่มทุกๆวัน เช้า-เย็น และตำพอกแผลด้วย

๑๙. ป้องกันมะเร็ง
ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ดื่มบ่อยๆ

๒๐. แก้อาการอ่อนเพลีย







วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับแนะลูกให้กินผัก

                     เคล็ดลับแนะลูกให้กินผัก

ต้องปลูกฝังแต่วัยเยาว์


ผักเป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กจำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบ5 หมู่ ทว่าเป็นเรื่องชวนปวดหัวของพ่อแม่ผู้ปกครอง เพราะเด็กๆ มักไม่ชอบรับประทานผัก ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่ามีเพียง 41% ของเด็กเท่านั้นที่รับประทานผักเป็นประจำ




ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้รับประทานผักครึ่งกิโลกรัม/วัน ขณะที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในบ้านเราทุกวันนี้มีค่าเฉลี่ยการรับประทานผักต่ำกว่าที่ WHO แนะนำไว้มาก
สุจิตต์ สาลีพันธ์ นักโภชนาการกลุ่มพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กรมอนามัย แนะนำผู้ปกครองที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ว่า วิธีการจะสอนให้เด็กมีนิสัยชอบรับประทานผักนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกันตั้งแต่วัยเยาว์กันเลย โดยหลังจาก 6 เดือนแรกของลูกที่ดื่มแต่น้ำนมอย่างเดียวและเมื่อเริ่มรับประทานข้าว พ่อแม่ควรแทรกอาหารประเภทผักให้ลูกด้วย เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย โดยต้องเป็นผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน เช่น ผักกาดขาว ผักกะหล่ำปลี ฟักทอง ตำลึง ผักบุ้ง เป็นต้น

วิธีการคือ หั่นผักให้เป็นคำเล็กๆ หรือบดละเอียดผสม

ในอาหารให้ลูกรับประทานโดยช่วงแรกๆ ที่ฝึกไม่ต้องใส่ผักในปริมาณมากก็ได้ แต่ให้ใช้แค่ใบเท่านั้น ไม่ควรมีก้านเพราะทำให้เด็กเคี้ยวยาก
“เมื่อเด็กโตจนเริ่มมีฟันก็ควรแนะให้เด็กถือผักเล่น หรือกัดแทะเล่นก็ได้ หรือให้กินประเภทแกงจืดต่างๆ พอเขาโตขึ้นมาอีกหน่อยก็ให้แทรกเข้าไปในอาหารประเภทข้าวผัดหรือน้ำซุปต่างๆ สลัด หรือแม้แต่ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน” สุจิตต์ แนะนำ
สำหรับเด็กที่ไม่ได้ถูกฝึกให้รับประทานผักตั้งแต่เล็กๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองก็จะต้องพยายามหาวิธีการทำให้หันมารับประทานผัก โดยต้องชี้ชวนให้ลูกทราบถึงประโยชน์ของการรับประทานผัก จากนั้นให้เริ่มผสมผักลงในอาหารทีละน้อยๆ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ลูกลองรับประทานดู แต่ถ้าเด็กไม่ยอมรับประทานอีกก็ไม่ควรไปบังคับ

“พ่อแม่ต้องใช้ความอดทนและพยายามอีกหน่อย อย่าไปบังคับ แต่ให้เขาลองชิมดูบางคนชิมแล้วติดใจรับประทานบ่อยๆ ก็มีหรือพวกผลไม้ก็ให้รับประทานชดเชยผักได้ เพราะมีวิตามินเช่นกัน แต่ต้องระวังผลไม้ที่มีรสหวาน เพราะจะทำให้ลูกอ้วน” นักโภชนาการ กล่าว

สุจิตต์ ย้ำว่า วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องได้รับสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วน ในผักมีทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ ที่จะช่วยในเรื่องการมองเห็นวิตามินซีช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง วิตามินเคทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดและสร้างแคลเซียม การที่เด็กไม่ยอมรับประทานผัก ก็จะได้สารอาหารไม่ครบถ้วนที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอเมื่อเติบโตขึ้น
ที่สำคัญคืออาจจะเป็นโรคอ้วน เพราะเมื่อลูกไม่รับประทานผักก็จะหันไปรับประทานขนมขบเคี้ยวอื่นๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน แต่หากหันมารับประทานผักจะทำให้อิ่มท้อง เด็กจะลดการรับประทานของขบเคี้ยวลงและปลอดภัยจากโรคอ้วนอีกด้วย
รู้เช่นนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายอย่าลืมนำเคล็ดลับดีๆ เหล่านี้ไปใช้เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างมีสุขภาพแข็งแรง และเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บในอนาคตอีกด้วย


ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
เทคนิคสอนน้องหนู กินผัก
คุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านสามารถสร้างทัศนคติ ส่งเสริมลูกน้อยกินผักได้ตั้งแต่ยังเล็กๆ ได้นะคะ

เพราะแค่นำเทคนิคง่ายๆ ต่อไปนี้ ไปสอนบอกต่อพี่เลี้ยงคนเก่งของลูก ก็สามารถเป็น ผู้ช่วยให้กับคุณแม่ได้แล้วค่ะ


เลือกผัก
- เปลี่ยนรูปร่างหรือนำผักไปเป็นส่วนผสมในอาหารแบบอื่น เช่น หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทำเป็นวุ้นน้ำผลไม้ หรือเมนูจานโปรด เช่น หั่น แครอทเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมปนอยู่กับน้ำซุป หมูปั้นผสมแครอททอด
- ที่สำคัญ บนโต๊ะอาหารของครอบครัวควรมีเมนูผัก อย่างน้อย 1 เมนูอยู่ด้วย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการกินผักให้กับลูก


เทคนิคจูงใจ



- ตั้งชื่อผักให้น่ากินมากขึ้น เช่น ฟักทองจอมพลัง นางฟ้าผักกาด อาจทำให้ลูกรู้สึกสนใจนึกอยากกิน

- ให้พี่เลี้ยงชักชวนลูกสนุกกับการกินผัก ด้วยการใช้นิ้วมือหยิบผักเข้าปากเอง เช่นแครอทต้ม ถั่วฝักยาวต้มหั่นเป็นท่อน ในที่สุดลูกก็จะกินผักเองได้

- เมื่อลูกกินผักได้ ควรชมเชย เป็นกำลังใจ เพื่อให้ลูกอยากเรียนรู้อาหารชนิดใหม่ๆ ครั้งต่อไป

- การให้พี่เลี้ยงสังเกต บันทึก หรือสอบถามว่าลูกชื่นชอบ พอใจ หรือปฏิเสธกับผักชนิดใดบ้าง
ก็สามารถช่วยให้คุณแม่รู้จักนิสัยการกินผักของลูกได้ค่ะ



ซ่อนผักเทคนิคเบบี๋กินผักง่าย



อาหารเด็ก

ซ่อนผักเทคนิคเบบี๋กินผักง่าย
(modernmom)


เพราะผักเป็นอาหารสารพัดประโยชน์ โดยเฉพาะบทบาทหน้าที่สำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการ และเสริมความแข็งแรงให้กับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ผักจึงเป็นอาหารที่แม่ ๆ ควรเริ่มปลูกฝังให้กับลูกเล็ก โดยเพาะตอนที่เริ่มอาหารเสริมนี่แหละค่ะ เพราะเป็นการปูพื้นการกินผักได้ดีทีเดียว แต่การเริ่มอาหารเสริมให้ลูกรักด้วยผักมีสิ่งที่แม่ ๆ ควรทำความเข้าใจในเบื้องต้น 3 เรื่องดังนี้



1. กลิ่น ผักที่เลือกมาใช้ ไม่ควรมีกลิ่นฉุน หรือกลิ่นเหม็นเขียว เพราะเด็ก ๆ เขาจมูกไวและจะยี้เอาได้ง่าย ๆ

2.รสชาติของผัก โดยเฉพาะผักที่มีรสขมหรือเผ็ดร้อน อาจทำให้เจ้าตัวเล็กไม่ประทับใจ จนขยาดผักอื่น ๆ ตามไปด้วย

3.เนื้อสัมผัส ผักแต่ละชนิดมีลักษณะเนื้อสัมผัสที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงใยอาหารที่มีในผักก็ต่างกันด้วย สำหรับผักที่แนะนำให้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารเสริมเจ้าตัวเล็ก ได้แก่ มะเขือเทศ แครอต ปวยเล้ง ฟักทอง บร็อกโคลี และใบตำลึง ค่ะ



ผัก...วัตถุดิบที่คุ้นเคยกันดีว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ก็มักตั้งตัวเป็นศัตรูกับผักทั้งหลาย ปัญหานี้แก้ไขได้ง่ายนิดเดียว เพียงแม่ ๆ อาศัยเคล็ดวิชาแปลงกายสักนิด ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน แต่รับรองว่าได้ผลเกินคาด


นอกจากผักต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นยังมีผักใบที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่มีสี เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ที่สามารถนำมาปรุงอาหารได้นะคะ นอกจากสารอาหารต่าง ๆ แล้วข้อดีของผักที่มีหลายสี คือจะช่วยให้อาหารน่ากินมากขึ้น อาหารที่วางตรงหน้าถ้ามีสีสันที่สวยงามชวนกินแล้ว ก็ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่งนะคะ



3 เทคนิคซ่อนผัก




1.ซ่อนกลิ่น ผักที่มีกลิ่น เช่น หอมหัวใหญ่เป็นผักที่มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดร้อน แต่เมื่อนำมาปรุงโดยผ่านความร้อนจะต้มหรือลวก ก็หมดกลิ่นฉุน แถมยังได้รสหวานเพิ่มมาอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้อาหารอย่างอื่นแต่งกลิ่นได้ เช่น การใช้ไข่แดง เป็นต้น

2.ซ่อนรส ผักที่มีรสแต่แก้ได้ไม่ยาก เพราะบ้านเรามีผักหลายชนิดที่เมื่อนำมาปรุงอาหารแล้วให้รสหวาน ได้แก่ กลุ่มของผักที่มีแป้งมาก มีรสหวาน เช่น ปวยเล้ง ฟักทอง แครอต หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ ลูกท้อ กะหล่ำปลี บร็อกโคลี ใบตำลึง ฟักเขียว หัวผักกาด ผักหวาน ข้าวโพดอ่อน ถั่วฝักยาว บวบ ฯลฯ

3.ซ่อนรูป ผักที่มีสีเขียวเข้มหรือผักที่เด็กมักจำได้ว่าเป็นใบ วิธีง่ายๆ ที่ใช้กัน คือการหั่น แต่เด็กก็ยังเขี่ยออกหรือคายทิ้งได้ จะให้ดีควรสับ บด หรือปั่นให้ละเอียด แล้วนำไปผสมกับอาหารอื่น ๆ เวิร์กกว่าค่ะ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว แป้งชนิดต่าง ๆ ที่เรียกว่าเป็นการดัดแปลงไม่ให้เด็กเห็นภาพของผัก




เลือกผักดีมีประโยชน์






การเลือกผัก เป็นการเริ่มต้นมอบสิ่งดี ๆ ให้กับลูก ที่สำคัญ หากเลือกอย่างถูกต้อง รับรองว่าลูกของคุณจะได้ประโยชน์มากกว่าที่คิดเสียอีกค่ะ

การเลือกผัก ควรเลือกซื้อโดยดูจากสีของผัก ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่ ความสดใหม่และไม่ช้ำ และเลือกซื้อตามฤดูกาล

เนื่องจากผักมีอยู่หลากหลายประเภท เราจึงมีหลักการเลือกที่ต่างกันไปในแต่ละชนิด เรารวบรวมหลักการเลือกผักแต่ละแบบ มาเป็นความรู้ก่อนจ่ายตลาดครั้งต่อไปให้แม่ ๆ ได้ประหยัดเวลา

เลือกซื้อผักหัว ควรจะมีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวเรียบไม่มีรูแมลง เช่น ฟักทอง ผลหนักแน่น เนื้อเหลืองอมเขียว ผิวเปลือกแข็งขรุขระ เป็นต้น

เลือกซื้อผักฝัก เช่น ผักประเภทถั่วต่าง ๆ ควรเลือกฝักอ่อน สีเขียว แน่น ไม่พอง และไม่คดงอ

เลือกซื้อผักใบ ดูจากใบสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ และไม่มีหนอน ต้นใหญ่อวบ และใบแน่นติดกับโคน

เลือกซื้อผักผล เลือกที่ขั้วติดแน่น สด มีน้ำหนักมาก ไม่เหี่ยว ผิวนวลและไม่มีรอยช้ำ




ล้างผักให้สะอาดปลอดสารเคมี






1. ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่น้ำสะอาดนาน 5-10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72

2.ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อกนาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39

3.การใช้ความร้อน ได้แก่ วิธีการลวก ต้ม สามารถลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 48-50

4.แช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น (น้ำส้มสายชูหรือเกลือใน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38

5.แช่น้ำซาวข้าวนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38

6.แช่น้ำด่างทับทิมนาน 10 นาที ด่างทับทิม 10-20 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-43

7.แช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที จากนั้น ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52


5 วิธี สงวนคุณค่าสารอาหารใบผัก

1. เมื่อซื้อผักมาแล้ว ควรเด็ดใบที่เน่าเสียทิ้งก่อน

2.ควรล้างผักด้วยน้ำที่ไหลผ่าน การแช่ผักในน้ำจะทำให้สูญเสียวิตามินที่ละลายน้ำได้ คือ วิตามินบีและซี

3.การต้มผักด้วยน้ำน้อยหรืออบในเตาไมโครเวฟ ช่วยให้สารอาหารต่าง ๆ ไม่สูญเสียไปกับน้ำ วิธีที่ดีที่สุดคือการนึ่ง

4.การผัดผักที่ดีที่สุดคือ การผัดผักด้วยไฟร้อนใช้เวลาน้อย

5.น้ำซุปผักที่ต้มไว้แล้สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยการแบ่งเป็นถุงเล็กแล้วแช่แข็ง

มีเทคนิคซ่อนผักดี ๆ แบบนี้แล้ว คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าเบบี๋จะยี้ผักอีกต่อไปแล้วนะคะ หากลองเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้แล้วได้ผลอย่างไร หรือปิ๊งเทคนิคดี ๆ เฉพาะตัวก็อย่ามัวเก็บเอาไว้เขียนมาเล่าสู่ Modern Mom ฟังด้วยนะคะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube