Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

11 โรคอันตรายสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

11 โรคอันตรายสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์
เชื่อได้ว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทุกคน ก็อยากที่จะมีสุขภาพที่ดี แข็งแรงตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ แต่คงเป็นไปได้ยากที่จะไม่เจ็บป่วยอะไรเลย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่มีโอกาสเจ็บป่วยได้เท่ากับคนทั่วๆ ไป โดยเฉพาะโรคที่แพร่กระจายในกลุ่มคนใกล้ชิดได้ง่าย เช่น ไข้หวัด หัด คางทูม ฯลฯ ซึ่งบางโรคอาจมีผลกระทบต่อทารกครรภ์ ดังนั้นเราจึงควรหาทางป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้

 

 

อันดับที่ 1 – ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่


ากสถิตินั้นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่มีโอกาสที่จะเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน ซึ่งการเป็นไข้หวัดแบบปกติจะไม่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใด แต่การทานยาบางชนิดเพื่อลดอาการไข้ต่างๆ จะมีผลกระทบ ดังนั้นหากต้องทานยาควรปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตัวดังนี้
  • เมื่อเริ่มมีอาการเป็นหวัดให้ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นหวัดมากขึ้น
  • เวลานอนให้ยกศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้การหายใจสะดวกขึ้น
  • กินอาหารตามปกติแม้ว่าจะรู้สึกหิวหรือไม่ก็ตาม
  • ดื่มน้ำให้มากๆ
  • ใช้น้ำเกลืออุ่นๆ กลั้วคอ
  • ถ้ามีไข้ ควรลดไข้ด้วยการเช็ดตัว และดื่มน้ำเย็นบ่อยๆ เป็นการลดไข้ด้วยวิธีธรรมชาติ
  • ถ้ามีไข้สูงเกิน 38 องศา ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที
การเป็นไข้หวัดขณะตั้งครรภ์อาจจะหายช้ากว่าปกติเล็กน้อย เพราะขณะตั้งครรภ์ภูมิต้านทานจะลดลงเล็กน้อย หากอาการรุนแรงหรือเป็นไข้หวัดนานเกิน 1 สัปดาห์ควรรีบปรึกษาคุณหมอ
 
อันดับที่ 2 – โรคระบบทางเดินอาหาร
โรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหารที่มักพบบ่อย มักเกิดจากกระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส ซึ่งมักจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากเป็นเรื้อรังก็จะไม่เกิน 3 วัน และมักจะทำให้ทานอาหารไม่ได้มาก ดังนั้นควรจะพยายามดื่มน้ำให้มาก การติดเชื้อแบบนี้มักไม่มีอันตรายใดๆ ต่อทารกในครรภ์ แต่ควรปฏิบัติตนให้ถูกต้องดังนี้
  • นอนพักผ่อนให้มากขึ้น
  • ดื่มน้ำมากๆ อาจเป็นน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ หรือเลือกทานอาหารเหลวที่ชอบ
  • ควรจิบน้ำบ่อยๆ หรืออมน้ำแข็งตลอดเวลาก็ได้
  • ในช่วงที่เกิดอาการ 12 ชั่วโมงแรกไม่ควรทานอาหารใดๆ โดยเฉพาะคนที่กระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส ควรงดอาหารและน้ำ 12-24 ชั่วโมง จึงค่อยเริ่มกินอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย ที่ไม่ใช่น้ำผลไม้รสเปรี้ยว อาจเป็นซุปใส โจ๊ก ข้าวต้ม ผักต้มเปื่อย จนอาการดีขึ้นแล้วค่อยกินอาหารตามปกติ ไม่ต้องกังวลว่าจะขาดสารอาหาร และรีบไปพบแพทย์หากมีอาการแย่ลง
 
อันดับที่ 3 – หัดเยอรมัน
โดยปกติแล้วคนที่วางแผนจะตั้งครรภ์ คุณหมอมักจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันก่อนที่จะตั้งครรภ์และเว้นช่วงไม่ให้ตั้งครรภ์หลังจากฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เดือน แต่หากไม่ได้ฉีดก็จะต้องตรวจดูว่ามีภูมิต้านทานอยู่หรือไม่ บางคนอาจมีภุมิต้านทานอยู่แล้ว หรือบางคนอาจเคยสัมผัสมาแล้วแต่ไม่ติดเชื้อ เนื่องจากว่า 1 ใน 7 จะมีการติดเชื้อหัดเยอรมันเมื่อสัมผัสกับเชื้อ
โรคหัดเยอรมันจะมีอันตรายกับทารกในครรภ์ก็ต่อเมื่อมีการติดเชื้อ อาการของโรคใน 2-3 สัปดาห์แรกจะมีเพียงเล็กน้อยจนแทบไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตัว และต่อมน้ำเหลืองโตเล็กน้อย การติดเชื้อหัดเยอรมันนั้นมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์โดยไม่สามารถป้องกันได้
ผลกระทบที่ทารกในครรภ์จะได้รับนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ ถ้ามีการติดเชื้อในเดือนแรก โอกาสที่คลอดลูกออกมาแล้วเด็กจะพิการมีสูงมากถึงร้อยละ 35 ในขณะที่การติดเชื้อในเดือนที่ 3 จะมีผลน้อยกว่าคือร้อยละ 10-15 จะพิการและความรุนแรงก็จะลดลงด้วย ดังนั้นควรจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันก่อนจะดีที่สุด

 

 

อันดับที่ 4 – โรคท็อกโซพลาสโมซิส

โรคท็อกโซพลาสโมซิส เกิดจากการติดเชื้อที่เรียกว่า ท็อกโซพลาสมา สาเหตุมาจากการกินเนื้อดิบที่มีเชื้อนี้อยู่ หรือสัมผัสกับอุจจาระแมวที่ติดเชื้อนี้ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หากติดเชื้อนี้เข้าไปอาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ หรือทารกต้องคลอดก่อนกำหนด หรือเกิดความผิดปกติของสมอง การติดเชื้อนี้บางรายไม่มีการแสดงอาการ เพียงแค่มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต หลังจาก 2-3 สัปดาห์จะมีผื่นคันตามตัว แต่คนที่เลี้ยงแมวมักจะมีภูมิต้านทานโรคนี้อยู่ หากกังวลก็อาจจะตรวจเลือดดูระดับภูมิต้านทานโรคนี้ทุก 1-2 เดือน จนกว่าจะคลอด

 

อันดับที่ 5 – โรคไซโตเมกาไวรัส (CMV)

เด็กในวัยอนุบาลร้อยละ 25 – 60 สามารถแพร่เชื้อไซโตเมกาไวรัส ซึ่งอยู่ในน้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ ได้ โดยเชื้อนี้ไม่อันตรายรุนแรงต่อทารกในครรภ์เนื่องจากเชื้อไวรัสนี้ไม่ติดโดยการสัมผัส และส่วนมากตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะมีภูมิต้านทานโรคนี้อยู่แล้วเนื่องจากเคยมีเชื้อนี้ในวัยเด็ก ทำให้การติดเชื้อนี้ไม่รุนแรงเท่าคนที่ติดเชื้อครั้งแรก มีสถิติว่าทารก 1 ใน 100 รายเท่านั้นที่มีการแสดงอาการของโรคแต่กำเนิด คือมีอาการตัวเหลือง หูหนวก และตาพิการ วิธีป้องกันการติดเชื้อง่ายๆ คือใส่ถุงมือทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำ และหลีกเลี่ยงการกอดจูบเด็ก และกินอาหารเหลือของเด็ก
 
อันดับที่ 6 – โรคฟิฟท์ดิซีส หรือ “โรคที่ 5″
เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า ฮิวแมน พาร์โวไวรัส บี 19 เป็นกลุ่มไวรัสที่ 5 ของโรคไข้ออกผื่น 6 ชนิดในเด็ก โรคนี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันเนื่องจากไม่ค่อยมีอาการชัดเจน และมักจะหายไปเองโดยที่คนไข้ไม่ทราบ มีเพียงร้อยละ 15 – 30 เท่านั้นที่เป็นไข้ บางรายพบว่ามีผื่นคันทีโหนกแก้มใน 2 – 3 วันแรก มีลักษณะเป็นรอยแดงคล้ายถูกตบ ต่อมาจะลุกลามไปยังตัว ก้นและขา ผื่นนี้จะเป็นๆ หายๆ อยู่ 1 – 3 สัปดาห์ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ที่ต้องดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ หรือใกล้ชิดกับคนป่วยเป็นโรคนี้มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป ผลกระทบคือทำให้ทารกในครรภ์แท้งได้ แต่โดยมากแล้วจะมีภูมิคุ้มกันโรคนี้เนื่องจากมักจะเคยติดเชื้อนี้ในวัยเด็กมาแล้ว ดังนั้นจึงพบคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อนี้ได้น้อยมาก
 
อันดับที่ 7 – การติดเชื้อสเตรปกลุ่มบี
การติดเชื้อสเตรปกลุ่มบีในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ถือว่าเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์มาก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แต่เป็นสิ่งที่พบได้น้อย เนื่องจากทางการแพทย์จะระวังโรคนี้มาก โดยปกติการติดเชื้อนี้จะอยู่ในช่องคลอดโดยไม่ปรากฏอาการให้เห็น แพทย์จะนำมูกจากช่องคลอดไปตรวจหาเชื้อ หากพบเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะที่มากพอตั้งแต่ก่อนคลอด จึงทำให้ไม่มีการติดเชื้อในทารก

 

อันดับที่ 8 – โรคหัด

การฉีดวัคซีนป้องกันหัดเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะการฉีดวัคซีนเปรียบเหมือนกับร่างกายได้รับเชื้อโดยตรงเพื่อไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเชื้อที่ถูกฉีดเข้าไปอาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ อย่างไรก็ดีมักจะมีการฉีดวัคซีนป้องกันหัดกันตั้งแต่เด็กดังนั้นการติดเชื้อจึงไม่รุนแรงมาก แต่หากมีการติดเชื้อช่วงใกล้คลอดอาจทำให้ทารกเกิดภาวะติดเชื้อไวรัสในเลือด แพทย์จะให้แกมม่าโกลบูลินแก่ทารกทันทีที่เกิดเพื่อลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ

 

อันดับที่ 9 – การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

เป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อยมาก ร้อยละ 10 ของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะมีการติดเชื้อ 1 ครั้งและคนที่ติดเชื้อแล้ว 1 ใน 3 คนจะติดเชื้อซ้ำอีก อาการที่พบบ่อยคือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และมักจะไม่แสดงอาการ แต่จะพบเมื่อมีการตรวจปัสสาวะในตอนฝากครรภ์ หากพบการติดเชื้อจะต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อ
การรักษาจะต้องกินยาจนครบแม้ว่าจะหายแล้วก็ตาม นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจะนำไปสู่การติดเชื้อที่กรวยไตหากไม่ได้รับการรักษา ทำให้กรวยไตอักเสบซึ่งจะมีอันตรายต่อตัวแม่เองและทารกในครรภ์ หากเป็นกรวยไตอักเสบในช่วงหลังอายุครรภ์เดือนที่ 7 เป็นต้นไป จะทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้นหากมีอาการควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วนและดื่มน้ำสะอาดมากๆ หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยวที่ไม่ใส่น้ำตาล งดชากาแฟ ไม่กลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น ใช้กางเกงในผ้าฝ้ายที่ระบายอากาศได้ดี ทำความสะอาดอวัยวะเพศให้ถูกวิธี ระหว่างที่รักษาอยู่จะได้รับยาปฏิชีวนะ ควรกินโยเกิร์ตไม่ใส่น้ำตาล เพื่อช่วยให้แบคทีเรียในทางเดินอาหารสมดุล และกินอาหารที่มีประโยชน์
 
อันดับที่ 10 – โรคตับอักเสบ
ตับอักเสบชนิดเอ เป็นโรคที่พบได้มากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี และมีอาการไม่รุนแรงมาก และไม่สามารถผ่านเข้าสู่ทารกในครรภ์ได้ จึงไม่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามควรที่จะหลีกเลี่ยงการติดเชื้อใดๆ ด้วยการล้างมือให้สะอาดก่อนทานอาหารและทุกครั้งที่ดูแลการขับถ่ายของเด็ก
ตับอักเสบชนิดบี พบได้ 1 ใน 3 ของคนไข้โรคตับ พบได้ในคนอายุ 15 – 39 ปี และสามารถถ่ายทอดจากแม่มาสู่เด็กทารกในครรภ์ได้ และเป็นโรคที่ติดต่อระหว่างบุคคล จึงไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกับคนที่ติดเชื้อนี้ หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ป่วยด้วยโรคตับอักเสบบี การรักษาที่สำคัญคือ กินอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ งดแอลกอฮอล์ทุกชนิด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยจะฟื้นคืนสภาพมาเป็นปกติเอง ร้อยละ 5 จะกลับรุนแรงมากขึ้น ทารกที่คลอดจากคุณแม่ที่มีเชื้อตับอักเสบบี ควรได้รับการอาบน้ำให้สะอาด ระวังการปนเปื้อน และให้วัคซีนตับอักเสบบีและแกมม่าโกลบูลินภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอดและให้วัคซีนซ้ำเมื่ออายุ 1 และ 6 เดือน แล้วตรวจสอบภูมิคุ้มกันเมื่ออายุ 12 และ 15 เดือน ส่วนตับอักเสบชนิดอื่นยังไม่มีรายงานหรือความรู้ที่แน่ชัดว่าติดต่อหรือไม่ทางใดและถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกหรือไม่
 
 
อันดับที่ 11 – โรคอีสุกอีใส
ส่วนมากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะเคยเป็นอีสุกอีใสในวัยเด็กมาแล้วจึงมีภูมิคุ้มกันอยู่ แต่หากมาเป็นในช่วงที่ตั้งครรภ์จะต้องได้รับแกมม่าโกลบูลินภายใน 96 ชั่วโมงหลังการสัมผัสโรค จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ เนื่องจากอาการของโรคนี้ในผู้ใหญ่จะรุนแรงกว่าในเด็ก โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์
ที่มา :: http://babytrick.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น