Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เป็นมะเร็งปากมดลูกก็ท้องได้

เป็นมะเร็งปากมดลูกก็ท้องได้



















แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งในผู้หญิงจุดความหวังให้ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามสามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้ อาศัยทักษะความชำนาญควบคู่กับเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง เฉือนเฉพาะปากมดลูกทิ้ง แทนวิธีเดิมที่ตัดทิ้งทั้งยวง


นพ.ฉันทวัฒน์เชนะกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งนรีเวช โรงพยาบาลวัฒโนสถ ในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม สามารถที่จะตั้งครรภ์ได้เช่นเดียวกับสตรีทั่วไป ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยเฉพาะการผ่าตัดส่องกล้องที่ทำให้การลงมีดบนอวัยวะที่เล็กและแคบทำได้สะดวก รวดเร็วและแม่นยำขึ้น


เช่นการผ่าตัดช่องท้อง การผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก โดยทั่วไปการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม แพทย์จะตัดมดลูกออกทั้งหมด เช่นเดียวกับการรักษาด้วยการฉายแสง ทั้งสองวิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยหมดโอกาสในการตั้งครรภ์ แต่แนวคิดใหม่นี้จะตัดเฉพาะส่วนที่เป็นปากมดลูกออกไป จึงเหลือส่วนที่เป็นมดลูกซึ่งรองรับการตั้งครรภ์ได้

แนวคิดการรักษาที่ให้โอกาสผู้ป่วยสามารถตั้งครรภ์ได้นั้น มุ่งคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการรักษา โดยรักษาอวัยวะจำเป็นไว้ได้ ถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการแพทย์ไทย แต่ในต่างประเทศมีการเปิดเผยรายงานศึกษาเมื่อปี 2538 กระทั่งถึงปัจจุบันให้การรักษาไปแล้ว 2,000-3,000 คน ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีใครทำ

อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ถือเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่อายุไม่มาก และต้องการตั้งครรภ์ในอนาคต โดยเซลล์มะเร็งที่พบต้องมีขนาดไม่ใหญ่ หรือน้อยกว่า 2 ซม.

ข้อมูลการสำรวจผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่กลุ่มอายุน้อยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลที่วัยรุ่นไทยมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น ยกตัวอย่าง หากวัยรุ่นมีเซ็กส์ครั้งแรกเมื่ออายุ 13 ปี และรับเชื้อไวรัสเอชพีวีมาฟักตัวกระทั่งกลายเป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูก ก็ใช้เวลาประมาณ 10 ปี รวมแล้วผู้ป่วยในตัวอย่างมีอายุเพียง 20 กว่าปีเท่านั้น กรณีเช่นนี้จะพบมากขึ้น

ฉะนั้นการผ่าตัดรักษามดลูกไว้น่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น หากแพทย์มะเร็งนรีเวชยอมรับ พร้อมกับการฝึกเพิ่มทักษะควบคู่กับเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยที่ต้องการมีบุตรในอนาคต
ที่มา ::






"ศิริราช"เจ๋งผ่าตัดส่องกล้องรักษามะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 สำเร็จเป็นครั้งแรกในเอเซีย ช่วยสตรีมีโอกาสตั้งครรภ์ได้


ศิริราชผ่าตัดส่องกล้องรักษามะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
และในเอเซียยอาคเนย์ ช่วยสตรีมีโอกาสตั้งครรภ์ได้



ที่ รพ.ศิริราช วันนี้ ( 12 ม.ค.) เวลา 09.30 น. ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานแถลงข่าว “สำเร็จเป็นครั้งแรกในเอเซียอาคเนย์ ศิริราชรักษามะเร็งปากมดลูกโดยวิธีผ่าตัดส่องกล้อง ช่วยสตรีมีโอกาสตั้งครรภ์ได้” โดยศ.คลินิก นพ.ชาญชัย วันทนาศิริ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นผู้เปิดเผยถึงสถานการณ์มะเร็งปากมดลูกว่า เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยใหม่ประมาณ 6,000 ราย และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะเสียชีวิต เฉลี่ยวันละ 8 ราย สำหรับ รพ.ศิริราช พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละประมาณ 500 ราย นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ที่น่ากังวลคือ ขณะนี้พบผู้ป่วยในช่วงอายุที่น้อยลงและผู้ป่วยยังคงต้องการมีบุตรอยู่

ศ.คลินิก นพ.ชาญชัย กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส หรือเรียกย่อว่า "เอชพีวี" เชื้อนี้ส่วนใหญ่สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก มักไม่มีอาการ อาจพบจากการตรวจภายใน ในรายที่มีเลือดออกหรือตกขาวผิดปกติ มักพบว่ามะเร็งลุกลามไปมากแล้ว อย่างไรก็ตามการรักษาแบบมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก จะใช้การผ่าตัดมดลูกทิ้ง ร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน ซึ่งอัตราการหายหลังผ่าตัดมีถึง 90 % แม้จะให้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ผู้ป่วยจะสูญเสียความเป็นเพศหญิงนั่นคือ การมีประจำเดือน และยิ่งกว่านั้นไม่สามารถตั้งครรภ์มีบุตรได้อีกต่อไป

ด้าน รศ.นพ.พีรพงศ์ อินทศร แพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ประจำสาขาวิชามะเร็งนรีเวช ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา กล่าวว่า ในระยะหลายปีที่ผ่านมา วิทยาการทางการแพทย์ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ดีขึ้น โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก สำหรับการรักษาแบบใหม่นี้ จะผ่าตัดผ่านกล้องพร้อมเครื่องมือพิเศษที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร โดยแพทย์จะเปิดแผลเล็กๆ 5 แผล ขนาด 5 มิลลิเมตร แล้วสอดกล้องผ่านผนังหน้าท้องเข้าไปในช่องท้อง ทำการผ่าตัดเฉพาะปากมดลูกและช่องคลอดส่วนบนทิ้ง ร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานทั้งหมด ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีพยาธิแพทย์ตรวจชิ้นเนื้อที่ตัดทิ้งทันทีขณะที่ผู้ป่วยยังอยู่ใน ห้องผ่าตัดว่ายังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่หรือไม่ โดยขบวนการในการผ่าตัดจะเก็บรักษาตัวมดลูก เก็บรักษาเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูก รวมถึงเก็บรักษารังไข่และเส้นเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่ จากนั้นจะเย็บปากมดลูกติดกับช่องคลอดที่เหลือ ซึ่งทีมแพทย์จะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง โดยที่การผ่าตัดแบบใหม่นี้ มีบาดแผลเล็ก เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวเร็ว เสียเลือดน้อยกว่า ทั้งมีความแม่นยำสูง สามารถกลับไปทำงานหรือกิจวัตรประจำวันได้ภายใน 7-10 วัน ที่สำคัญสามารถเก็บมดลูกไว้สำหรับการมีบุตรในโอกาสต่อไป และยังคงมีประจำเดือนแสดงถึงความเป็นเพศหญิงอย่างสมบูรณ์ด้วย

แพทย์ผู้นี้ ยังระบุว่าจากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า อัตราการหายจากมะเร็งปากมดลูกมีสูงถึง 90% เช่นเดียวกับการรักษาแบบมาตรฐาน โดยการรักษาแบบใหม่นี้เป็นที่นิยมและยอมรับในต่างประเทศทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา สำหรับราคาในการผ่าตัดประมาณ 5 หมื่นบาท โดยครอบคลุมระบบการรักษาพยาบาลทุกระบบ โดยใช้ทีมแพทย์ประมาณ 7 คน ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ 4 คน วิสัญญีแพทย์ 1 คน วิสัญญีพยาบาล 2 คน ทั้งนี้ระหว่างผ่าตัดจะส่งชิ้นเนื้อให้พยาธิแพทย์ไปตรวจทันทีว่าชิ้นเนื้อที่ตัดนั้นครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นมะเร็งหรือไม่ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หากมะเร็งมีการกระจายมากกว่านั้น่จะได้ตัดสินใจตัดมดลูกทิ้งไปเลย สำหรับข้อจำกัดในการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ คือ เวลาคนไข้เป็นมะเร็งปากมดลูกส่วน่ใหญ่ไม่อยากเก็บมดลูกเอาไว้ เพราะกลัวแพร่กระจาย ดังนั้นก่อนที่จะรักษาคนไข้ทาง รพ.ก็จะเสนอทางเลือกให้กับคนไข้ จึงขอเรียนว่าการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีนี้โอกาสหายประมาณ 90-95% ส่วนโอกาสกลับมาเป็นซ้ำน้อยพอ ๆกับการตัดมดลูกทิ้ง

“จากการสืบค้นข้อมูลพบว่า การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ทั่วโลกมีการทำในคนไข้ประมาณ 50 รายเท่านั้น โดยที่ รพ.ศิริราชถือเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและในเอเชียอาคเนย์ โดยคนไข้อายุ 30 กว่าปีได้รับการผ่าตัดเมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้คนไข้แข็งแรงกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ แต่ยังไม่พร้อมมีบุตรเนื่องจากตั้งการคุมกำเนิดอยู่ ทั้งนี้หลังการผ่าตัด ควรทิ้งช่วงประมาณ 1 ปีขึ้นไปคนไข้จึงสามารถมีบุตรได้ โดยโอกาสมีบุตรจะต่ำกว่า 70 % สำหรับวิธีการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะทำในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 ซึ่งยังไม่แพร่กระจาย โดยใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 5 ชม.”รศ.นพ.พีรพงศ์ กล่าว

ขณะที่ ผศ.นพ.ชัยรัตน์ ลีลาพัฒนดิษฐ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา กล่าวว่า ในปัจจุบันเรายังคงพบมะเร็งปากมดลูกในสตรีวัยเจริญพันธุ์อยู่เสมอ เนื่องจากความละเลยและความเข้าใจผิดว่าตัวเองมิใช่กลุ่มเสี่ยง ซึ่งโดยธรรมชาติของมะเร็งปากมดลูก ถ้าเป็นระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการอะไร จึงทำให้ผู้ป่วยมากกว่า 80% มาพบแพทย์เมื่อมะเร็งลุกลามไปแล้ว โดยที่การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุปากมดลูกจนกลายเป็นมะเร็งใช้เวลาเป็น 10 ปี ดังนั้นการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณๆ ผู้หญิงควรใส่ใจอยู่เสมอ ด้วยวิธีง่ายๆ และประหยัด นั่นคือ การตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หากพบความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกหรือมะเร็งระยะเริ่มแรก จะสามารถรักษาหายขาดได้ และแม้ภายหลังจากที่ตรวจแล้ว ไม่พบความผิดปกติ ก็ควรรับการตรวจเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ โดยสตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรรับการตรวจปีละ 1 ครั้ง ส่วนผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรรับการตรวจเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป.

ที่มา :: http://www.dailynews.co.th/society/7185

























มะเร็งปากมดลูกในหญิงตั้งครรภ์

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นอันดับสองของสตรีทั่วโลก โดยในแต่ละปีมีผู้หญิงที่ถูกค้นพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกถึง 500,000 ราย และกว่า 250,000 ต้องเสียชีวิตลง ด้วยมะเร็งปากมดลูก แต่เนื่องจากกว่า 80% ของผู้ป่วยซึ่งเสียชีวิตเกิดขึ้นในประเทศที่ยากจน และนอกจากนี้เรายังพบว่ากว่า 70%ของมะเร็งปากมดลูกมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV) ซึ่งปัจจุบันในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเราก็ได้มีการนำเข้าวัคซีนที่ช่วยเราในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้ว

ดังนั้นมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นมะเร็งที่ป้องกันได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามในสตรีที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนนี้มาก่อน และไม่เคยรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยก็ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก สถิติของการเกิดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยจึงยังคงสูงอยู่คือประมาณ 6,000 รายต่อปี และเสียชีวิตจากโรคนี้ปีละกว่า 3,000 รายเลยทีเดียว
มะเร็งปากมดลูกยังเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในมะเร็งที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ด้วย อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกพบได้ 1.6 -10.6 รายต่อผู้ป่วยตั้งครรภ์ 10,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น ผู้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกก็มักไม่มีอาการใดๆ แต่จะมาพบแพทย์ด้วยการมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ซึ่งเมื่อได้รับการตรวจ Pap Smear แล้วอาจพบว่ามีความผิดปกติของเซลล์ที่ปากมดลูก แพทย์ก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อที่บริเวณปากมดลูกไปทำการตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
หากพบว่าเป็นมะเร็งจริงก็ต้องทำการรักษาตามภาวะของโรค อายุครรภ์ขณะที่พบโรค และความต้องการบุตร หากตรวจพบในระยะแรกของการตั้งครรภ์และเป็นมะเร็งที่ยังไม่ลุกลาม อาจให้ตั้งครรภ์ต่อไปได้ แต่ต้องตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งคลอดและหลังคลอด ถ้าเป็นระยะที่เริ่มจะลุกลามแล้วและพบในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ควรจะต้องทำการรักษาเลยโดยไม่คำนึงถึงการตั้งครรภ์ แต่ถ้าเป็นระยะหลังของการตั้งครรภ์ แพทย์ต้องประเมินว่าสามารถรอให้ปอดทารกมีความสมบูรณ์พอที่จะมีชีวิตรอดเมื่อคลอดออกมาได้หรือไม่ ส่วนมากจะไม่รอเกินกว่า 8 สัปดาห์ ซึ่งการคลอดทารกต้องทำการผ่าตัดทารกออกทางหน้าท้องเสมอ เพื่อป้องกันการตกเลือด และการกระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ส่วนการรักษามะเร็งปากมดลูกในแม่นั้นก็ใช้วิธีเดียวกันกับในหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ ได้แก่
การผ่าตัด - ถ้ามะเร็งอยู่เฉพาะปากมดลูกอาจจะตัดแค่บริเวณปากมดลูก แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายมากแพทย์อาจจะตัดมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
การให้รังสีรักษาทำได้ 2 วิธี

โดยการให้รังสีรักษาจากเครื่อง แพทย์จะให้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 5วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 5-6 สัปดาห์ โดยการฝังแร่อาบรังสีบริเวณปากมดลูกฝังแต่ละครั้งนาน 1-3 วันต้องอยู่โรงพยาบาลใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์
การให้เคมีบำบัด โดยการให้เคมีเข้าในเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำลายมะเร็ง ยาที่ใช้บ่อยคือ Interferon

การป้องกันมะเร็งปากมดลูกทำได้

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap test สำหรับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว หรืออายุ 30 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละครั้ง และผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อจะได้พบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกตั้งแต่ในระยะแรก ซึ่งจะสามารถรักษามะเร็งก่อนลุกลามได้
ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆได้แก่ การสูบบุหรี่ การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากเชื่อว่าเชื้อ Human Papilloma Viruses ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งปากมดลูกติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Viruses) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้




2 ความคิดเห็น:

  1. ไวรัสเอชพีวีกับการตั้งครรภ์



    “คุณหมอคะ ดิฉันเป็นนักเรียนพยาบาลมีญาติสนิทกำลังตั้งครรภ์ได้สองเดือน คุณหมอที่ฝากครรภ์ตรวจพบว่ามีเชื้อเอชพีวีที่ปากมดลูก อยากเรียนถามว่าเชื้อนี้จะทำให้เด็กในครรภ์และคนท้องเกิดอันตรายหรือเปล่าคะ จะดูแลรักษาอย่างไรในขณะตั้งครรภ์?”





    ตอบ : เชื้อไวรัสเอชพีวีเป็นเชื้อที่ฮิตมาไม่กี่ปีนี้เอง หลังจากค้นพบว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งปากมดลูก อันที่จริงไม่ใช่เชื้อไวรัสเอชพีวีทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง แต่แบ่งเป็นสองชนิด เชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดเสี่ยงต่ำ ไม่ก่อมะเร็งแต่อาจทำให้เกิดหูดชนิดต่างๆ ส่วนเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดเสี่ยงสูง ทำให้เกิดมะเร็งที่ปากมดลูก ทวารหนัก หรือมะเร็งช่องคลอด




    เมื่อตรวจพบเชื้อเอชพีวีในหญิงตั้งครรภ์ เป็นธรรมดาที่จะทำให้เกิดความวิตกกังวล แต่โชคดีที่เชื้อไวรัสเอชพีวีไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของทารกในครรภ์ และไม่เปลี่ยนแปลงการดูแลมารดาในขณะตั้งครรภ์ แต่สำหรับการคลอดในคุณแม่บางรายอาจจะพิจารณาผ่าตัดคลอด ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ค่ะ

    1.หลักฐานการวิจัยในปัจจุบันไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีกับการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ความพิการของทารก รวมถึงภาวะแทรกซ้อนของมารดาในขณะตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ น้ำคร่ำรั่วก่อนเจ็บครรภ์คลอด ฯลฯ

    2.สำหรับทารกที่คลอดทางช่องคลอดในกรณีที่มารดามีเชื้อไวรัสเอชพีวี พบว่าความเสี่ยงที่ทารกจะติดเชื้อไวรัสเอชพีวีมีน้อยมาก และส่วนใหญ่ของทารกที่ติดเชื้อ (ร้อยละ 80-90) เชื้อไวรัสเอชพีวีสามารถหายไปเองได้

    3.ในกรณีที่มารดาติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดเสี่ยงสูง แต่ปากมดลูกปกติยังไม่เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง ให้เฝ้าระวังโดยเมื่อตั้งครรภ์ 1-3 เดือน ควรตรวจแปปสเมียร์เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกหนึ่งครั้ง หากปกติก็ตรวจอีก 1 ครั้งหลังคลอด

    4.ในกรณีที่มารดาติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดเสี่ยงสูงและปากมดลูกมีเซลล์ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็ง แพทย์จะพิจารณารักษาแล้วแต่ความรุนแรงของโรค หากไม่รุนแรงมากอาจจะรอจนคลอดบุตรแล้วจึงจะรักษา

    5.ในกรณีที่มารดาติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดเสี่ยงต่ำ และเกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ อาจจะรักษาโดยใช้สารเคมีจี้ทำลายหูด เช่น ซิลเวอร์ไนเตรท ซึ่งไม่มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ ในบางรายที่เป็นมาก อาจรอรักษาหลังคลอด เพราะในขณะตั้งครรภ์มักจะรักษาไม่หาย ด้วยหูดหงอนไก่มักจะเจริญงอกงามเพราะชอบความชุ่มชื้นของช่องคลอดและเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนของมารดาที่เปลี่ยนไป ส่วนช่องทางการคลอดในขณะเป็นหูดหงอนไก่ ส่วนใหญ่ให้คลอดทางช่องคลอด แต่หากหูดมีขนาดใหญ่มาก ปิดบังช่องทางการคลอด หรือมีโอกาสจะสัมผัสกับทารก ซึ่งทำให้ทารกเกิดหูดหงอนไก่ในหลอดลม ก็อาจจะพิจารณาผ่าตัดคลอดค่ะ



    "พญ.ชัญวลี ศรีสุโข"
    (chanwaleesrisukho@hotmail.com)





    .

    ตอบลบ
  2. มะเร็งปากมดลูกในขณะตั้งครรภ์




    พบมะเร็งปากมดลูกได้ 1 : 660-2,400 ในสตรีที่ตั้งครรภ์ แต่ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นมะเร็งปากมดลูก จะพบว่ามีการตั้งครรภ์ร่วมด้วยประมาณ 1-2% 15 อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ในขณะตั้งครรภ์นั้นน้อยกว่าผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ประมาณ 10-15 ปี และไม่พบว่ามี รายงานการแพร่กระจายของมะเร็งไปสู่ทารก


    เมื่อพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในขณะตั้งครรภ์ ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงแค่การรักษาให้แม่หาย จากโรคเท่านั้น แต่ยังจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทารกในครรภ์ร่วมด้วย หลักการพิจารณาต้องดูที่ อายุของทารกในครรภ์และระยะของโรคมะเร็งปากมดลูกของแม่ บางคนเชื่อว่าการตั้งครรภ์เร่งการเจริญ เติบโตของมะเร็ง แต่ผลจากการพิสูจน์ในปัจจุบันพบว่า การพยากรณ์ของโรคไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่า




    จะตั้งครรภ์หรือไม่

    1. Microinvasive carcinoma with pregnancy

    การรักษาอาจขึ้นกับความปรารถนาของมารดา โดยเฉพาะถ้าเป็นบุตรคนแรก เนื่องจากไม่พบ ว่าการล่าช้าในการรักษา 3-4 เดือน เพื่อรอให้ทารกคลอดมีชีวิตจะมีผลกระทบต่อผลการรักษาแต่อย่างใด 45 ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นหลัก


    2. Invasive carcinoma during the first trimester of pregnancy
    การที่จะรอให้แม่คลอดทารกที่มีชีวิตออกมา ยังต้องรออีกยาวนาน ดังนั้นแนะนำพิจารณาให้ การรักษาเหมือนประหนึ่งว่าไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ถ้าเป็นโรคในระยะที่ 1 อาจเลือกใช้วิธีการผ่าตัดหรือใช้รังสีรักษาก็ได้ ถ้าเลือกรังสีรักษา ก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำ therapeutic abortion ก่อน แต่จะแนะนำให้ใช้การฉายรังสีจากภายนอกก่อน 70% ของทารกจะแท้งออกมาได้เองใน 4-6 สัปดาห์ หรือก่อนปริมาณรังสีครบ 4,000 cGy46 แต่ถ้าไม่แท้ง ก็จะต้องทำผ่าตัดทำแท้ง แล้วตามด้วยการใส่แร่ในโพรงมดลูกและช่องคลอดทันที หลังจากมดลูกหดรัดตัว เข้าสู่ภาวะปกติ


    3. Invasive carcinoma during the second trimester of pregnancy ภาวะนี้จะต้องพิจารณาทำ Hysterotomy ก่อน แล้วค่อยตามด้วยการรักษาตามระยะของโรค ดังได้กล่าวไว้แล้วตอนต้น


    4. Invasive carcinoma in the last trimester of pregnancy

    การรักษาในภาวะนี้ อาจจะรอจนกระทั่งเด็กในครรภ์คลอดมีชีวิตก่อน โดยการทำผ่าตัดเด็ก ออกทางหน้าท้อง (cesarean operation) ซึ่งส่วนใหญ่จะรอนานไม่เกิน 8 สัปดาห์ แล้วรักษาตามระยะ ของโรค ดังกล่าวแล้วข้างต้น การใช้รังสีรักษา สามารถจะเริ่มการรักษาได้ภายใน 10 วัน หลังการผ่าตัดเด็กออกทางหน้าท้อง โดยเริ่มจากการฉายรังสีจากภายนอกก่อนแล้วค่อยตามด้วยการใส่แร่ในโพรงมดลูกและช่องคลอด







    .

    ตอบลบ