Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

การฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
โภชนาการมีบทาทต่อการเจริญเติบโตของทารกอย่างมาก หากแม่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะคลอดทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า ตัวสั้นกว่าทารกที่คลอดจากแม่ที่ได้รับอาหารเพียงพอ


การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

ประเภทอาหารที่ต้องการ


1.โปรตีน มีความต้องการมากขึ้น เพื่อใช้ในการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ของแม่และทารก ต้องการสูงสุดในระยะที่ 3-4 เดือนก่อนคลอด ซึ่งเป็นช่วงที่อัตราการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองจะเติบโตเร็วที่สุด อาหารที่มีโปรตีนสูงได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว เป็นต้น

2.สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไม่ควรรับประทานข้าว แป้ง น้ำตาล ขนมหวาน และไขมันมากเกินไป

3.เกลือแร่ เพื่อการเจริญเติบโตของทารก ได้แก่

-แคลเซียม ระยะตั้งครรภ์ ความต้องการแคลเซียมจะเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปสร้างกระดูกและฟันของทารก โดยจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในเดือนที่ 4 และสูงสุดในระยะก่อนคลอด ประเภทอาหารได้แก่ นม ปลาตัวเล็ก รับประทานทั้งกระดูก ผักบุ้ง ผักคะน้า

-เหล็ก ความต้องการเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงและร่างกายแม่ยังต้องการสะสมไว้สำหรับระหว่างการคลอด ความต้องการเพิ่มขึ้นในระยะ 3 เดือนก่อนคลอด หากได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ จะเกิดโรคโลหิตจาง มารดาจะทนต่อการสูญเสียเลือดในระหว่างการคลอดได้น้อย เพื่อป้องกันโรคโลหิตจางแพทย์จะสั่งยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กให้คุณแม่ได้รับประทานอาหาร

-ไอโอดีน ในระหว่างการตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์จะทำงานมากขึ้นทำให้ความต้องการไอโอดีนเพิ่มขึ้น ถ้าขาดไอโอดีนเพิ่มขึ้น จะทำให้ทารกตัวเล็กแคระแกร็น มีสติปัญญาต่ำ ไอโอดีนมีมากในอาหารทะเล

4.วิตามิน มีความสำคัญต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ช่วยให้การทำงานในร่างกายเป็นปกติ วิตามินที่สำคัญ คือ วิตามินเอ,ดี,อี และซี

-วิตามินเอ ต้องการเพิ่มจากเดิม 25% มีมากในผักใบเหลือง นม เนย

-วิตามินดี ช่วยสร้างกระดูกและฟัน ได้แก่ ไข่ ตับ เนย

-วิตามินอี ช่วยมิให้เกิดการแท้ง ได้แก่ ผักใบเขียว ถั่ว เนย ไข่แดง

-วิตามินซี สร้างเนื้อเยื่อช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก ได้แก่ ผลไม้ ส้ม มะเขือเทศ



การผักผ่อน


-นอนหรือพักผ่อนโดยยกปลายเท้าสูงเล็กน้อย

-ควรนอนให้ได้วันละ 8 ชั่วโมง

-การนอนในตอนบ่ายจะมีประโยชน์เพิ่มขึ้นแก่คุณแม่และทารกในครรภ์


อาการที่พบขณะตั้งครรภ์

คลื่นไส้อาเจียน ที่เรียกว่าแพ้ท้อง พบได้แต่ประจำเดือนเริ่มขาด ควรรับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง ควรลดอาหารทอดหรือที่มันมาก ไม่ควรเคร่งเครียดและกังวลจนเกินไป ถ้ามีอาการแพ้ท้องมากควรปรึกษาแพทย์

1.ท้องอืด ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก ของหมักดอง อาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดลมหรือแก๊ส

2.ท้องผูก ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยเช่นผัก ผลไม้ให้มากขึ้น หรือดื่มน้ำลูกพรุน ออกกำลังกสายบ้าง แนะนำให้ดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว ถ้าท้องผูกมากควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

3.ปัสสาวะบ่อยขึ้น เป็นเพราะมดลูกที่โตขึ้นไปเบียดกระเพาะปัสสาวะไว้นานๆ

4.ตกขาว พบได้ตลอดระยะตั้งครรภ์ ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามีตกขาวมากเป็นปกติ มีกลิ่นเหม็นหรือมีอาการคันร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์

5.ตะคริว มักเป็นที่ปลายเท้าและน่อง ควรนอนยกขาให้สูง รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่นดื่มนม 2-3 แก้วต่อวัน รับประทานกุ้ง ปลาตัวเล็กๆ ปลากระป๋อง ผักใบเขียวจัด เป็นต้น

6.ฝ้าและผิวหนังคล้ำขณะตั้งครรภ์ อาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเองหลังคลอด

7.ปวดหลัง ไม่ควรเดินทางระยะไกลจนเกินไป ควรเลือกเก้าอี้ที่เอนเล็กน้อย และควรสวมรองเท้าส้นเตี้ยพอดีกับเท้า สูงประมาณ 1 นิ้ว เพื่อป้องกันการปวดหลัง ข้อเท้าแพลงหรือหกล้มได้

สตรีมีครรภ์ที่ควรงดเพศสัมพันธ์

1.มีประวัติแท้งบ่อย ให้งดในช่วง 3 เดือนแรก

2.มีประวัติคลอดก่อนกำหนด ควรงดในระยะ 3 เดือนก่อนคลอด

3.มีเลือดออกทางช่องคลอด

4.ต้องครรภ์แฝด

5.รกเกาะต่ำ

6.มีน้ำเดิน



ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/


1 ความคิดเห็น:

  1. 6 ข้อปฏิบัติเมื่อเริ่มตั้งครรภ์


    สำหรับใครที่กำลังตั้งครรภ์โดยเฉพาะเป็นลูกคนแรก คุณแม่มือใหม่มักจะทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้ว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้ หรือควรทำตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้ลูกน้อยของคุณเกิดมาสมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด เช่นออกกำลังกายได้มั้ย มีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ทำงานแล้วจะแท้งลูกมั้ย วันนี้เรามีวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องมาให้ค่ะ



    1. หมั่นออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์

    การออกกำลังกายเบาๆ และสม่ำเสมอ อาจจะเดินหรือวิ่งเหยาะๆ ขณะที่ครรภ์ยังเล็กๆ อยู่จะช่วยให้กล้ามเนื้อขาและหน้าท้องแข็งแรง แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องเริ่มใหญ่ขึ้น ควรเปลี่ยนมาออกกำลังกายในน้ำแทนค่ะ เพราะว่าน้ำจะช่วยพยุงท้องขณะว่ายน้ำและยังช่วยให้ปอดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อขาและหน้าท้องแข็งแรงทำให้คลอดได้ง่ายขึ้นอีกด้วยค่ะ แต่ในการออกกำลังกายในน้ำ ควรจะมีผู้ช่วยที่มีความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะคอยดูแลตลอดเวลานะคะ และออกกำลังกายแค่พอเหนื่อยอย่าหักโหมเกินไป นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมว่า หากมีการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์จะช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมอีกด้วยค่ะ

    2. ฝึกกล้ามเนื้อช่วงอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมตัวเบ่งคลอด

    ควรฝึก 2-3 เดือนก่อนคลอดนะคะ คุณแม่สามารถฝึกได้ง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
    •ท่าที่ 1
    ให้นั่งลงช้าๆ จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนท่าเป็นท่านั่งคลาน โดยให้หัวเข่าและฝ่ามือทั้ง 2 ขัางยันพื้นไว้ (ท่าจะเหมือนเด็กที่กำลังจะคลานค่ะ) ให้หายใจออกช้าๆ แล้วเคลื่อนก้นและอุ้งเชิงกรานมาข้างหน้าอย่างช้าๆ พร้อมกับบังคับให้กล้ามเนื้อท้องบริเวณกระเพาะหดลง หลังของคุณจะโค้งนูนขึ้น (ท่าจะคล้ายๆ กับแมวที่กำลังขู่ หลังจะโก้งโค้งสูงขึ้นมาค่ะ) ค้างอยู่ในท่านี้ 10 วินาที แล้วคลายท่า ทำซ้ำ 10 ครั้ง ควรฝึกทำวันละ 2 ครั้ง จะช่วยให้มีแรงเบ่งคลอดได้ดีค่ะ
    •ท่าที่ 2
    ฝึกขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดค่ะ คล้ายกับการอั้นปัสสาวะ ทำครั้งละ 5-10 ครั้ง โดยทำวันละ 3 เวลาค่ะ
    •ท่าที่ 3
    ฝึกนั่งยองๆ เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้น มักจะมีอาการปวดท้อง ไม่แนะนำให้นวดหรือแอ่นหลัง แต่ควรฝึกนั่งยองๆ โดยที่หลังตรงตลอดเวลา มือควรจับที่ราวหรือเกาะยึดให้มั่นคง ลุกนั่งให้ช้าๆ ค่ะ เมื่อนั่งยองๆ ลงมา พยายามอย่าให้หัวเข่าทั้งสองข้างเลยปลายเท่าของเรา ควรค้างไว้ประมาณ 10 วินาทีแล้วจึงค่อยๆ ยืนขึ้นช้าๆ ค่ะ ท่านี้จะช่วยลดอาการปวดหลังได้ค่ะ

    3. ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้มากๆ

    ในระยะครรภ์อ่อนๆ มีอาการแพ้ท้อง ควรหลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของเหล็กเพราะจะไปรบกวนกระเพาะอาหาร ควรทานกรดโฟลิกและวิตามินบี 1 บี 5 และ บี 12 เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้นควรทานยาบำรุงที่มีเหล็กและแคลเซียมเพิ่มขึ้นค่ะ สำหรับการทานยาบำรุงต่างๆ ขอให้ปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอนะค่ะ

    4. การร่วมเพศขณะตั้งครรภ์

    หากมีประวัติแท้งลูกได้ง่ายในการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกควรงดการร่วมเพศโดยเด็ดขาด เพราะจะกระทบกระเทือนต่อมดลูกทำให้แท้งได้ และช่วงอายุครรภ์ 7-8 เดือน ควรระมัดระวังการร่วมเพศอีกครั้งหนึ่งเพื่อไม่ให้คลอดก่อนกำหนด ส่วนเดือนสุดท้าย มักไม่ค่อยจะมีปัญหาอะไรค่ะ ท่าที่ใช้ในการร่วมเพศควรเป็นท่าที่ไม่กระทบกระเทือนต่อท้อง หรือต้องเกร็งหลังมาก ท่าที่แนะนำคือให้ใช้การนอนตะแคงข้างเท่านั้นค่ะ เพราะว่าจะไม่กระทบกับท้องเลย

    5. ควรระวังไม่ให้ติดเชื้อเริมระหว่างตั้งครรภ์

    โรคเริมเกิดจากเชื้อไวรัส Herpes Simplex หากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่เกิดติดเชื้อไวรัสเริมที่ช่องคลอด ลูกอาจมีโอกาสได้รับเชื้อระหว่างคลอดได้และจะเป็นอันตรายถึงชีวิตลูก ซึ่งหากคุณแม่ติดเชื้อเริมหมอจะให้คลอดด้วยการผ่าตัดแทนการคลอดเองค่ะ

    6. ควบคุมการขับถ่ายให้เป็นประจำ

    คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มักจะมีอาการท้องผูก ดังนั้นควรทานผักผลไม้มากๆ เพื่อช่วยให้ถ่ายได้ง่าย



    .

    ตอบลบ