Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การคุ้มครองและช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ

การคุ้มครองและช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ

1. ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง หากประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือจากฝ่ายคุ้มครองฯ

2. หากคนไทยซึ่งอาศัยอยู่ในต่างประเทศถูกจับและไม่มีค่าใช้จ่ายในการประกันตัว สถานกงสุลใหญ่ฯ สามารถสำรองจ่ายได้หรือไม่

3. ในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศ หากมีค่าใช้จ่ายจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ เพียงใด

4. หากนักโทษไทยต้องการให้สถานกงสุลใหญ่ฯ ไปเยี่ยมได้หรือไม่



1. ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง หากประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือจากฝ่ายคุ้มครองฯ

ตอบ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้องและของผู้ตกทุกข์ (ถ้ามี) หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ตกทุกข์
สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาเอกสารเพื่อยืนยันว่า เป็นญาติกับผู้ที่ประสงค์จะขอให้ทางการไทยช่วยเหลือในต่างประเทศ และ
ยื่นเอกสารประกอบเพิ่มเติมดังนี้
- กรณีติดตามหาญาติในต่างประเทศ ควรแจ้ง ชื่อ-ที่อยู่ หรือหมายเลขติดต่อที่เคยติดต่อได้ครั้งหลังสุด รูปถ่ายของ
บุคคลที่ต้องการตามหา หรือชื่อที่อยู่ของคู่สมรสในต่างประเทศ หรือเอกสารอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการติดตามหาญาติ
ของท่าน
- กรณีเสียชีวิตในต่างประเทศ ควรแจ้ง ชื่อ-ที่อยู่ ผู้เสียชีวิต สาเหตุของการเสียชีวิต (หากทราบ) ทั้งนี้ สำหรับการจัดการ
ศพผู้เสียชิวิต ญาติจะต้องมาติดต่อโดยตรงที่ฝ่ายคุ้มครองเพื่อทำใบมอบอำนาจในการจัดการศพ เช่น เผา หรือส่งศพกลับ
ประเทศไทย เป็นต้น
- กรณีแรงงานไทยประสบปัญหานายจ้างค้างจ่าย ควรนำหลักฐานการจ้างงาน หลักฐานการรับเงินเดือน มาประกอบ
- กรณีที่ต้องการติดตามเงินพึงได้ทั่วไป หรือเงินทดแทนจากการเสียชิวิต ควรนำหลักฐานทะเบียนสมรส ใบมรณบัติ
ของผู้เสียชีวิตเอกสารแจ้งถึงสิทธิ์ประโยชน์ที่จะได้รับ (หากมี)

back to top



2. หากคนไทยซึ่งอาศัยอยู่ในต่างประเทศถูกจับและไม่มีค่าใช้จ่ายในการประกันตัว สถานกงสุลใหญ่ฯ สามารถสำรองจ่ายได้หรือไม่

ตอบ การสำรองจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือคนไทยจะต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อ
ช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541 กรณีต้องโทษในทางอาญา ได้ระบุการสำรองจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือคนไทยไว้ 2 ประการคือ1. ค่าของเยี่ยม 2. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ซึ่งตามระเบียบมิได้กำหนดให้มีการสำรองจ่ายเงินเพื่อใช้ในการ
ประกันตัว และเป็นข้อกำหนดไว้ในระเบียบเรื่องการคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศในหัวข้อบริการ
หรือความช่วยเหลือที่เจ้าพนักงานกงสุลไม่อาจจัดให้ได้

back to top



3. ในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศ หากมีค่าใช้จ่ายจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ เพียงใด

ตอบ เป็นหลักปฎิบัติทั่วไปและเป็นสากลว่า ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศจะต้องรับผิดชอบตัวเองเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ดี
กรณีฉุกเฉิน และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งญาติพี่น้องในประเทศไทยมีฐานะยากจน ไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้รัฐบาลมีแนวปฎิบัติที่จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปก่อน โดยญาติพี่น้อง หรือตัวผู้ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศจะต้องทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ และหนังสือสัญญาชดใช้เงินคืน ไว้กับทางราชการ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2549

back to top



4. หากนักโทษไทยต้องการให้สถานกงสุลใหญ่ฯ ไปเยี่ยมได้หรือไม่

ตอบ ได้ เจ้าหน้าที่สถานทูตสถานกงสุลมีสิทธิตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลในการเข้าเยี่ยม
คนสัญชาติไทยที่ถูกควบคุม หรือถูกกักขัง รวมทั้งสนทนาและติดต่อทางหนังสือกับคนไทยที่ถูกควบคุม กักขัง อีกทั้งจัดหาทนายความให้
อนึ่ง หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายคุ้มครองฯ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส หมายเลขโทรศัพท์ (323) 962-9574 ต่อ 217

back to top

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น