Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แชงเก้นวีซ่า (Schengen Visa)

 
แชงเก้นวีซ่า (Schengen Visa)




Schengen Visa นั้นใช้ได้กับประเทศแถบยุโรปที่เป็นสมาชิก Schengen Visa เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเที่ยวยุโรป หลายประเทศต่อเนื่องกันในทริปเดียว โดยสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่า แบบเดินทางเข้า - ออกครั้งเดียว หรือเดินทางเข้า - ออกหลายครั้งก็ได้ แต่ทั้งนี้รวมเวลาที่พำนักทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าประเทศในกลุ่มสัญญาเชงเก็น

การทำ Schengen Visa จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียเวลายื่นวีซ่าขอเข้าประเทศ กับทุกๆ ประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยว มีเพียง Schengen Visa ก็สามารถเข้าได้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิก Schengen สำหรับ Schengen Visa นั้น ให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าต่อสถานทูตของประเทศที่ จะเดินทางเข้าไปเป็นประเทศแรกที่ผู้เดินทาง เดินทางไปถึงยุโรป (ตัวอย่างเช่น เดินทางไป อิตาลี - สวิส - ฝรั่งเศส ประเทศที่จะออก Schengen Visa ให้คือ ประเทศ อิตาลี)





» ประเทศยุโรป ที่สามารถใช้ Schengen Visa
ออสเตรีย
เบลเยี่ยม
เดนมาร์ก
ฟินแลนด์
ฝรั่งเศส
เยอรมัน
กรีซ
ไอซ์แลนด์
อิตาลี
ลักเซมเบิร์ก
เนเธอร์แลนด์
นอร์เวย์
โปรตุเกส
สเปน
สวีเดน
มอลต้า
ลิธูเนีย
ลัตเวีย
สโลวีเนีย
สโลวาเกีย
โปแลนด์
สวิตเซอร์แลนด์

 
เพิ่มเติม : Schengen Visa ใช้ได้กับประเทศแถบยุโรปที่เป็นสมาชิก Schengen Visa เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเที่ยวยุโรป หลายประเทศต่อเนื่องกันในทริปเดียว โดยสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่า แบบเดินทางเข้า - ออกครั้งเดียว หรือเดินทางเข้า - ออกหลายครั้งก็ได้ แต่ทั้งนี้รวมเวลาที่พำนักทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าประเทศในกลุ่มสัญญาเชงเก็น


การทำ Schengen Visa จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียเวลายื่นวีซ่าขอเข้าประเทศ กับทุกๆ ประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยว มีเพียง Schengen Visa ก็สามารถเข้าได้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิก Schengen สำหรับ Schengen Visa นั้น ให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าต่อสถานทูตของประเทศที่ จะเดินทางเข้าไปเป็นประเทศแรกที่ผู้เดินทาง เดินทางไปถึงยุโรป (ตัวอย่างเช่น เดินทางไป อิตาลี - สวิส - ฝรั่งเศส ประเทศที่จะออก Schengen Visa ให้คือ ประเทศ อิตาลี)
 
 
 
เขตเชงเกน (Schengen Area)
 
 
Written by คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป

 
เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า วีซ่าเชงเกน และทราบว่าถ้าถือวีซ่านี้ สามารถไปได้หลายประเทศในทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี ฯลฯ โดยไม่ต้องของวีซ่าอีก ทว่า แท้จริงแล้ว วีซ่าเชงเกน คืออะไร และมีความสำคัญเช่นใด




ภูมิหลัง




วีซ่าเชงเกน เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเชงเกน (Schengen Agreement) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ “การเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล” อันเป็นหนึ่งในเป้าหมาย 4 ประการของตลาดร่วมยุโรป (อันได้แก่ การเคลื่อนไหวอย่างเสรีของสินค้า บริการ ทุน และบุคคล) เป็นจริงขึ้นมา โดยในช่วงทศวรรษที่ 1980 มีประเทศสมาชิกประชาคมยุโรปบางประเทศเห็นว่า “การเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล” นี้ ควรจะครอบคลุมนอกเหนือไปจากประชาชนของประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป โดยรวมถึงจนถึงบุคคลที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศสมาชิกที่มาอยู่ในประชาคมยุโรปด้วย


ดังนั้น ในปีพ.ศ. 2528 ประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป 5 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และ ลักเซมเบิร์ก จึงได้ร่วมกันลงนามในข้อตกลงเชงเกน เพื่อก่อตั้งชายแดนร่วมกัน (single external border) หรือในอีกความหมายหนึ่ง คือการมีเขตแดนที่ไม่มีการตั้งจุดตรวจ ณ ชายแดนระหว่างประเทศสมาชิก (territory without internal border control) เพื่อให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศสมาชิกในข้อตกลงเชงเกนหรือไม่ก็ตามมีสิทธิที่จะเดินทางได้อย่างเสรีภายในบริเวณเชงเกน


ต่อมาภายหลัง มีประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป/สหภาพยุโรปและประเทศยุโรปอื่นๆทยอยเข้าร่วมเรื่อยมา และประเทศที่ลงนามในข้อตกลงเชงเกนพบว่า การมีชายแดนร่วมกันทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีความร่วมมือกันในด้านอื่นๆนอกเหนือจากการมีวีซ่าท่องเที่ยวร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายด้านผู้อพยพลี้ภัย หรือ ความร่วมมือด้านตำรวจและการศาล และเห็นว่าเพื่อความมีประสิทธิภาพในการร่วมมือกันดำเนินงานด้านดังกล่าว ควรจะให้มีการย้ายกรอบงานและมาตรการส่วนใหญ่ในข้อตกลงเชงเกนมาเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปในสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม





ข้อตกลงเชงเกนครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง




ในสาระสำคัญ อาจสรุปได้ว่าข้อเชงเกนครอบคลุมสาระสำคัญ 5 ประการ คือ


1) การควบคุมดูแลชายแดนนอกกลุ่มประเทศสมาชิกร่วมกัน

  • การมีระเบียบและกระบวนการในการตรวจตราดูแลชายแดนดังกล่าวร่วมกัน

  • การยกเลิกการมีจุดตรวจที่ชายแดนระหว่างประเทศสมาชิก (แต่ประเทศสมาชิกยังสามารถทำการสุ่มตรวจได้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย)

  • การแยกช่องตรวจคนเข้าเมืองที่ท่าอากาศยานระหว่าง คนที่เดินทางมาจากเขตเชงเกน กับคนที่เดินทางมาจากนอกเขตเชงเกน



  • 2) การมีวีซ่าร่วมกัน

  • การมีระเบียบด้านการเข้าเขตแดนและการออกวีซ่าร่วมกัน (ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีของวีซ่าท่องเที่ยวระยะสั้น คือไม่เกิน 3 เดือน เท่านั้น หากอยู่นานกว่านั้น หรือด้วยจุดประสงค์อื่น เช่น เพื่อทำงาน หรือเรียนหนังสือ ยังต้องใช้วีซ่าของแต่ละประเทศสมาชิก



  • 3) การมีนโยบายด้านผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ร่วมกัน
  • การมีความจำกัดของคำของคำว่า “ผู้อพยพ” ร่วมกัน

  • การมีระเบียบด้านผู้ลี้ภัยร่วมกันตามที่ปรากฏใน Dublin II Declaration

  • การมีฐานข้อมูลลายนิ้วมือผู้อพยพร่วมกัน ที่เรียกว่า Eurodac




  • 4) ความร่วมมือด้านการตำรวจและตุลาการ (Police and Judicial cooperation) เช่น
  • การที่ตำรวจของประเทศสมาชิกหนึ่งมีสิทธิที่จะตรวจตราและไล่ล่าผู้ต้องสงสัย (hot pursuit) ในประเทศสมาชิกเชงเกนประเทศอื่นได้

  • การกระชับความร่วมมือในการศาลเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการเผยแพร่ข้อมูลการตัดสินคดีอาญา

  • การตั้งสำนักงาน Europol ที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้านข้อมูลในการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามเขตแดน และ สำนักงาน Eurojust เพื่อประสานความร่วมมือด้านการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมข้ามเขตแดน




  • 5) การมีระบบฐานข้อมูลร่วมกัน คือ “Schengen Information System” (SIS)


  • เพื่อให้ความร่วมมือสี่ประการข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องมีระบบฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อการนี้ สหภาพยุโรปจึงได้จัดตั้งระบบ “Schengen Information System” หรือ SIS ขึ้นในปีพ.ศ. 2538 เพื่อทำหน้าที่เป็นเครือข่ายเชื่อมฐานข้อมูลร่วมกัน โดยในฐานข้อมูลจะระบุถึงรายละเอียดต่างๆของบุคคล สิ่งของ และยานพาหนะที่ต้องสงสัย และจะอนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกซึ่งรับผิดชอบด้านตำรวจ การตรวจตราดูแลชายแดน และกงสุลที่ได้รับอนุญาตจากทางการ สามารถเข้าค้นข้อมูลหรือเพิ่มข้อมูลในระบบได้


  • นอกจากความร่วมมือที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการตั้งตำแหน่ง “ผู้ประสานงานด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของสหภาพยุโรป” (EU counter terrorism coordinator) โดยมีนาย Gijs de Vries เป็นผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยการตั้งตำแหน่งดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ส่วนแนวคิดอื่นๆ เช่น การก่อตั้งหน่วยงานตำรวจกลางอย่าง FBI หรือ องค์การข่าวกรองและสืบราชการลับอย่าง CIA กลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกเท่าที่ควร สะท้อนให้เห็นว่าประเทศสมาชิกยังคงหวงแหนอำนาจอธิปไตยในประเด็นความมั่นคงภายใน





    ข้อตกลงเชงเกนครอบคลุมประเทศอะไรบ้าง


  • ประเทศที่เข้าร่วมเข้ขตวีซ่าร่วมเชงเกนได้แก่ :



  • เบลเยียม เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย สเปน โปรตุเกส กรีซ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก* ไอซ์แลนด์** และนอร์เวย์** สาธารณรัฐเชก เอสโตเนีย ฮังการี แลตเวีย ลิธัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสวิตเซอร์แลนด์**



  • - * เดนมาร์กได้ขอสงวนสิทธิในการไม่เข้าร่วมในมาตรการใหม่ๆ ทีไม่ใช่เรื่องการมีวีซ่าร่วม
    - ** ประเทศดังกล่าวไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรป กล่าวคือ ไอซ์แลนด์ด์และนอร์เวย์ เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง Nordic Passport Union ต่อประเทศสวีเดน เดนมาร์ก และฟินแลนด์


  • ทั้งนี้ มีประเทศที่เข้าร่วมความตกลงเชงเกน แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเขตวีซ่าร่วมด้วย คือ

  • - สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ เป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เข้าร่วมเฉพาะเรื่องความร่วมมือด้านการตำรวจและตุลาการ (Police and Judicial Cooperation)เท่้านั้น แต่ไม่ี่เข้าร่วมในด้่านการมีวีซ่าร่วมหรือการมชายแดนร่วม

  • - ไซปรัส โรมาเนีย และบัลกาเรีย แม้จะได้ลงนามรับข้อตกลงเชงเกนเมื่อครั้งเข้าร่วมสหภาพยุโรปเมื่อปี 2550 แต่ยังไม่ได้เข้าร่วมในเขตชายแดนร่วมดังกล่าว และอียูจะเริ่มกระบวนการประเมินความพร้อมของบัลกาเรียและโรมาเนียในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 และคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี

  • สำหรับลิคเคนสไตน์นั้นยังอยู่ในขั้นการเจรจา





    กระบวนการตัดสินใจในเรื่องความตกลงเชงเกน




    สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัมได้โอนอำนาจการตัดสินใจในข้อตกลงเชงเกน ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่อง วีซ่า การขอลี้ภัย การอพยพ และนโยบายอื่นๆซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล เข้ามาอยู่ในกรอบการทำงานในเสาหลักที่หนึ่งของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นความร่วมมือแบบเหนือรัฐ กล่าวคือ ประเทศสมาชิกได้เสียอำนาจอธิปไตยบางส่วนในด้านนี้ให้แก่หน่วยงานของสหภาพยุโรป เช่น กระบวนการรับรองมาตรการใหม่นั้นใช้วิธีลงคะแนนเสียงแบบเสียงข้างมาก โดยที่ประเทศสมาชิกไม่มีสิทธิวีโต ยกเว้นความร่วมมือด้านตำรวจและการศาล ซึ่งประเทสสมาชิกยังมีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ (กล่าวคือ ยังคงไว้ซึ่งมีสิทธิวีโต)

    ทว่า อาจกล่าวได้ว่า ประเทศสมาชิกยังคงมีอำนาจอธิปไตยในด้านนี้มากกว่ากิจการอื่นๆในเสาหลักที่หนึ่ง (เช่น เรื่องการเคลื่อนไหวเสรีของสินค้าในตลาดร่วมยุโรปและนโยบายการค้ากับประเทศที่สาม) เช่น ประเทศสมาชิกมีอำนาจในการเสนอมาตรการใหม่ๆร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป (แทนที่ณะกรรมาธิการฯจะมีอำนาจเสนอมาตรการใหม่ๆแต่เพียงผู้เดียว ดังเช่นกิจการอื่นๆในเสาหลักที่หนึ่ง) นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกจำนวนหนึ่งยังสามารถตกลงกันเองที่จะเพิ่มความร่วมมือร่วมกันเฉพาะเรื่องได้ เพียงแต่ต้องทำในกรอบการทำงานของสหภาพยุโรป

    Related Items:





    1. 30 มีค. เลิกตรวจที่สนามบินระหว่างสมาชิกเชงเกนเดิมกับสมาชิกใหม่
    2. ข้อแนะนำสำหรับผู้ถือ passport ไทย ภายหลังเช็กร่วม Schengen
    3. ประเทศสมาชิกใหม่เลื่อนกำหนดการเข้าร่วมในเขตเชงเก้น
    4. มารู้จักฐานข้อมูลผู้ลี้ภัย "Eurodac"
    5. ยกเว้นการขึ้นค่าวีซ่าแก่ NGOs และผู้ค้าบริเวณชายแดน
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น