Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษ
 
 
ภาวะครรภ์เป็นพิษคืออะไร







ภาวะครรภ์เป็นพิษ ( Pre-eclampsia) จะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงตั้งครรภ์หรือเกิดขึ้นทันทีหลังคลอด แต่โชคดีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะนี้ ส่วนใหญ่แล้วมักมีอาการไม่รุนแรงและจะมีผลต่อคุณแม่ที่ตั้งครรภ์โดยเฉลี่ย 1 ใน 14 คนเท่านั้น แต่ก็มีบางครั้งที่ภาวะครรภ์เป็นพิษอาจรุนแรงขึ้น แต่ก็ยังเป็นเรื่องซับซ้อนและไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจนนักของอาการที่รุนแรงขึ้นดังกล่าว แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจเกิดจากความบกพร่องของรก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการลำเลียงเลือดและสารอาหารไปยังทารกน้อยในครรภ์ จึงส่งผลกระทบต่อการเติบโตของทารกในครรภ์ได้



อาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ


เป็นเรื่องยากสักนิดที่ภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะเริ่มแรกนั้น จะไม่มีอาการภายนอกให้สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน แต่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทราบได้จากการรับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ และสามารถตรวจพบได้ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้น


สูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณจะคอยสังเกตภาวะความดันเลือดสูง ระดับโปรตีนในปัสสาวะ และปัญหาการไหลเวียนเลือด เช่น การบวมน้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงกับภาวะครรภ์เป็นพิษ

แต่ก็ใช่จะสรุปได้ว่าคุณมีภาวะครรภ์เป็นพิษ เพราะความดันเลือดสูงและอาการบวมที่ไม่มากนักสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในระหว่างตั้งครรภ์ และไม่ได้บ่งชี้ถึงปัญหาที่รุนแรงเสมอไป นอกจากนี้ ระดับโปรตีนในปัสสาวะก็บ่งบอกถึงอาการติดเชื้อ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะชี้ชัดถึงภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงเริ่มต้น

อย่างไรก็ตาม อาการต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นในระยะต่อมาของการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากคุณแม่มีอาการเช่นนี้ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • ปวดศีรษะรุนแรง และมีอาการตาพร่ามัว หรือมองเห็นแสงเป็นจุดๆ หรือเห็นแสงวูบวาบร่วมด้วย
  • จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่
  • คลื่นไส้อาเจียนแม้ว่านี่จะเป็นอาการแพ้ท้องโดยทั่วไปก็ตาม
  • มีอาการบวมตามใบหน้า มือ ข้อเท้า และเท้า
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินไปอย่างรวดเร็ว




ใครมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้มากที่สุด

ถึงแม้เราจะยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริงของภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้หญิงมีครรภ์บางท่านมีภาวะเสี่ยงกว่าคนอื่นๆ นั่นคือ
  • อายุ – สตรีที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อยกว่า 20 ปีหรือมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • น้ำหนัก– สตรีตั้งครรภ์ที่อ้วนเกินไป หรือมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 ขึ้นไป
  • โรคประจำตัวในปัจจุบัน– เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคลูปัส (systemic lupus erythematosus) โรคไต และไมเกรน
  • ถ้าคุณเพิ่งตั้งครรภ์ครั้งแรก หรือนี่เป็นครรภ์แรกของคุณกับคู่สมรสคนใหม่
  • ถ้าคุณตั้งครรภ์แฝด
  • ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ – ส่วนใหญ่จะพบในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกคนที่สองห่างจากครรภ์แรกมากกว่า 10 ปี
  • ประวัติการมีภาวะครรภ์เป็นพิษ – หากคุณหรือมารดาหรือพี่สาว/น้องสาวของคุณเคยมีภาวะนี้มาก่อน


การป้องกัน
เพราะโรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของภาวะครรภ์เป็นพิษ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญหลายท่านจึงแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานอาหารอย่างสมดุลและถูกสุขลักษณะ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของภาวะนี้และจะเป็นการดีมากหากคุณสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่มีคำว่าสายเกินไปหากจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ อย่างไรก็ตาม การสร้างนิสัยการทานที่ดีไม่ได้หมายความถึงการอดอาหาร เพราะการอดอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งในช่วงตั้งครรภ์ หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม คุณสามารถขอคำแนะนำเรื่องอาหารที่ควรรับประทานจากสูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณหรือสนทนาออนไลน์กับทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเรา
สิ่งที่คุณแม่ต้องทำก็คือการไปตรวจครรภ์ตามนัดเป็นประจำทุกครั้ง เพื่อรับการตรวจความดันเลือดและตรวจปัสสาวะซึ่งเป็นการตรวจเช็คอาการครรภ์เป็นพิษ





ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ( Mild Pre-eclampsia)


คุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีอาการเพียงเล็กน้อย อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเสมอไป เพียงแต่ต้องรับการตรวจร่างกายของคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ บางราย อาจจำเป็นต้องรับประทานยาหรืออาหารเสริมหากคุณมีความดันเลือดต่ำ แต่ยาหรืออาหารเสริมเหล่านี้ ไม่ได้ป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่เป็นวิธีการควบคุมอาการของภาวะดังกล่าวเท่านั้น




ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีความเสี่ยงสูง ( Higher Risk Pre-eclampsia)





หากผลการตรวจวินิจฉัยว่าคุณมีภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณพักผ่อนมากๆ และอาจจะต้องนอนพักที่โรงพยาบาลเป็นครั้งคราว ซึ่งแพทย์จะตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำทุกวันและทำอัลตราซาวนด์อย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ หากคุณหรือลูกตกอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง แพทย์อาจฉีดยาเร่งคลอดให้แก่คุณเพื่อชักนำให้เกิดอาการเจ็บครรภ์คลอด หรือทำคลอดให้คุณด้วยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง( caesarean section)
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเปิดดูได้ที่เว็บไซต์
Pre-eclampsia Foundation หรือโทรติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญและพูดคุยปรึกษากับพยาบาลของเรา
ถึงแม้ว่าภาวะครรภ์เป็นพิษอาจเป็นเรื่องน่าวิตกกังวล แต่ในกรณีที่อาการไม่รุนแรงนัก ก็สามารถดูแลให้ปลอดภัยด้วยการตรวจครรภ์เป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ หากคุณได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีอาการของครรภ์เป็นพิษ สูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณจะให้การดูแลคุณและทารกในครรภ์เป็นพิเศษ หากคุณต้องการคำแนะนำและความช่วยเหลือเพิ่มเติมค่ะ...
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น