Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
 
หลักเกณฑ์การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม


 
1. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
อย่างน้อย 15 ปี
2. ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องให้ความยิน
ยอมด้วยในการนี้ด้วย
3. กรณีที่จะรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม จะต้องได้รับความยินยอมจาก
- บิดาและมารดา (กรณีมีทั้งบิดาและมารดา)
- บิดา หรือมารดา กรณีบิดา หรือมารดา ตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครอง
- กรณีไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลอัน
สมควร มารดา หรือบิดา หรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรม หรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง
อนุญาตแทนการให้ความยินยอมนั้นได้
- กรณีผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กฯ ให้สถานสงเคราะห์เด็กฯ เป็นผู้ให้ความ
ยินยอมแทนบิดา หรือมารดา ก็ได้
- ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรส จะต้องได้รับความยินยอมจาก
คู่สมรส ด้วย
- ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกไม่ได้ เว้นแต่
จะเป็นคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น


 
วิธีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

 
1. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีที่ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม มายื่นคำร้องต่อนายทะเบียน
- นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขของกฎหมาย
- ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม ใน
การนี้ด้วย
- เมื่อเห็นว่าถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้

2. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
- ผู้จะรับบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องตามแบบ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
(กรมประชาสงเคราะห์) สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือชาวต่างชาติที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
ส่วนต่างจังหวัดยื่นแบบ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือ
ยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจยินยอม
- อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี จะพิจารณาสั่งให้ผู้ที่จะรับ
เด็กเป็นบุตรบุญธรรม นำเด็กไปทดลองเลี้ยงดู ไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและตรวจ
เยี่ยม
- ถ้าผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา
ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครอง ของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดู
- เมื่อคณะกรรมการทดลองเลี้ยงดู อนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ที่จะขอรับเด็ก
เป็นบุตรบุญธรรม และผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียน ต่อนายทะเบียนภายใน 6
เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำอนุมัติ มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิ์
- นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขของกฎหมาย
- ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสอยู่ ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมด้วย
- ถ้าเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจด
ทะเบียนด้วย
- นายทะเบียนจดทะเบียนให้ตามแบบ

**
กรณีเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม ไร้เดียงสา และบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม ได้ลงนามแสดง
ความยินยอมในขณะยื่นเรื่องราวตามแบบก่อนหน้านี้แล้ว บิดามารดา หรือผู้แทนฯ ไม่ต้องมาแสดงความ
ยินยอมและลงนามในคำร้องอีก

 
 
การเลิกรับบุตรบุญธรรม


 
ทำได้ 2 วิธี คือ

- จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
- โดยคำพิพากษาของศาล

การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันระหว่างผู้รับบุตรบุญ
ธรรม เมื่อใดก็ได้
2. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้อง
- ได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาของบุตรบุญธรรม ก่อน
- ได้รับความยินยอมจากบิดา หรือมารดา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย
- ในกรณีที่บุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
- ศาลมีคำสั่งให้เลิกรับบุตรบุญธรรม

 
 
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
 
 
 

บุคคลสัญชาติอเมริกัน






หากพลเมืองสัญชาติอเมริกันต้องการที่จะดำเนินการรับเด็กต่างชาติเป็นบุตรบุญธรรม สามารถศึกษาข้อมูลทั่วไปได้ที่เว็บไซด์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้หัวข้อการรับบุตรบุญธรรม (Adopting A Child) และ การรับบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ (Intercountry Adoptions)


ส่วนข้อมูลโดยเฉพาะของประเทศไทยเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรม สามารถศึกษาได้จากเอกสารอ้างอิงต่อไปนี้ ขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรมที่กรุงเทพฯ (Bangkok Adoption Procedures) (PDF 16KB) และ หน่วยงานรับบุตรบุญธรรมที่ได้รับการรับรอง (DSDW Approved Adoption Agencies) (PDF 47KB)










 
ที่มา : คู่มือปฏิบัติงาน กรมการปกครอง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมรดก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมรดก




































“ตายแล้วไปไหน" แม้จะน่าสนใจ แต่ไม่มีใครตอบได้



“ตายแล้วทรัพย์สินไปไหน” แม้จะไม่สนใจ (เพราะบางคนอาจถือว่าเมื่อตายแล้วก็แล้วกันทรัพย์สินจะไปไหนก็ไม่ใช่เรื่องของตัวอีกต่อไป หรือบางคนไม่สนใจเพราะไม่มีทรัพย์สินอะไรที่จะให้ต้องเป็นห่วง ที่มีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ก็ชักหน้าไม่ถึงหลังอยู่แล้ว) แต่ก็น่าจะรู้ไว้ เพราะประโยชน์ที่จะได้รับนั้นไม่เพียงจะได้ใช้สำหรับเตรียมการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเอง แต่ยังจะเป็นประโยชน์ที่จะได้ติดตามดูว่าเมื่อคนอื่นตายไปแล้ว เราจะมีส่วนในทรัพย์สินหรือมรดกของคนอื่นนั้นได้ในกรณีใดบ้าง เพราะใครจะไปรู้ จู่ ๆ มรดกเจ้าคุณปู่อาจจะตกมาถึงเราบ้างก็ได้




. กองมรดก คืออะไร


กองมรดกคือทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน เสื้อผ้า หรือแม้แต่ของใช้ส่วนตัว แม้แต่ทองที่ครอบฟันไว้ ก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้ตาย ซึ่งเมื่อบุคคลใดตายแล้วย่อมอยู่ในความหมายของกองมรดกด้วย

นอกจากทรัพย์สินแล้ว ยังรวมถึงบรรดาสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในวันที่ตายหรือที่จะมีขึ้นในวันข้างหน้าภายหลังจากที่ตายแล้วด้วย เช่นทำสัญญาเช่าบ้านมีกำหนดสิบปี เช่าไปได้สองปีแล้วเกิดตายลง สิทธิที่จะเช่าบ้านนั้นต่อไปอีก ๘ ปี ก็จะตกเป็นกองมรดก ในขณะเดียวกันหน้าที่หรือความรับผิดในการชำระค่าเช่าที่ค้างอยู่ก็ดี หรือที่จะชำระต่อไปในวันหน้าก็ดี ล้วนตกเป็นกองมรดกด้วยกันทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตามบรรดาสิทธิ หน้าที่ หรือความรับผิด ที่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย ย่อมตายตามตัวผู้ตายไปด้วยไม่ตกทอดไปถึงทายาท เช่นทำสัญญาว่าจะไปเล่นลิเกให้ชมในอีกสิบวันข้างหน้า หรือไปตกลงรับจ้างวาดรูปไว้ แล้วเกิดตายเสียก่อนเช่นนี้ จะเห็นได้ว่าโดยสภาพแล้วเป็นเรื่องเฉพาะตัว จะมากะเกณฑ์ให้ทายาทต้องไปเล่นลิเกแทนผู้ตายย่อมไม่ได้ แต่ถ้าบังเอิญผู้ตายไปรับเงินค่าตัวเขามาก่อนแล้ว ก็กลายเป็นหนี้ที่ทายาทจะต้องชดใช้คืนให้แก่ผู้จ้าง

เมื่อกฎหมายกำหนดว่ากองมรดกนั้นประกอบไปด้วยทั้งทรัพย์สินและหน้าที่และความรับผิดด้วยเช่นนี้ มิกลายเป็นว่าถ้ากองมรดกมีหนี้มากกว่าทรัพย์สิน ทายาทที่จะรับมรดกไปมิต้องกลายเป็นลูกหนี้ไปด้วยหรือ เรื่องนี้กฎหมายมิได้ใจไม้ไส้ระกำถึงขนาดนั้น เพราะได้กำหนดไว้แล้วว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ทายาทก็ไม่จำต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน เรียกว่าอย่างแย่ที่สุดก็เพียงเสมอตัว คือไม่ได้อะไรเลย

ที่ว่าทรัพย์สินของผู้ตายนั้น ต้องเข้าใจว่าหมายถึงทรัพย์สินที่เป็นของผู้ตายจริง ๆ ไม่ใช่ทรัพย์สินทั้งหมดที่สามีภริยามีอยู่ร่วมกัน เมื่อบุคคลใดตายทรัพย์สินที่มีอยู่ระหว่างสามีภริยาจะต้องแยกออกจากกันเสียก่อน ส่วนของใครก็เป็นของของคนนั้น จะทำพินัยกรรมยกให้ใครก็ได้แต่จะต้องยกเฉพาะส่วนที่เป็นของตนเท่านั้น ถ้าไม่มีพินัยกรรม และทรัพย์สินจะตกได้แก่ทายาทโดยธรรม ทรัพย์สินที่จะตกไปย่อมจำกัดอยู่แต่เฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ตาย ไม่รวมถึงส่วนที่เป็นของคู่สมรสด้วย

เมื่อคู่สมรสคนหนึ่งตายไป การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ทรัพย์สินที่ทั้งสองมีอยู่ด้วยกันย่อมแยกออกจากกันโดยผลของกฎหมาย แม้ว่าในความเป็นจริงทรัพย์สินทั้งหมดจะยังอยู่รวม ๆ กัน บางชิ้นก็เป็นชื่อของคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทรัพย์สินนั้นจะเป็นของคนนั้นแต่เพียงผู้เดียว

การที่คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ได้รับทรัพย์สินส่วนของตนแยกมา มิได้หมายความว่าคู่สมรสดังกล่าวได้รับมรดก หากแต่เป็นการได้ทรัพย์สินของตนคืนมา ส่วนของผู้ตายนั้น คู่สมรสจึงจะไปรับมาในฐานะมรดกอีกต่อหนึ่ง เช่น เมื่อสามีตาย มีเงินอยู่ในบัญชีของสามี ๑๐๐ ล้านบาท ถ้าเงิน ๑๐๐ ล้านบาทนั้นได้มาในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันโดยไม่ใช่เป็นสินส่วนตัวของสามี เมื่อสามีตาย เงิน ๑๐๐ ล้านจะถูกแบ่งระหว่างสามีและภริยาคนละ ๕๐ ล้าน ส่วนของสามี ๕๐ ล้านจะตกเป็นทรัพย์มรดก นำมาแบ่งกันในระหว่างผู้เป็นทายาท ซึ่งแม้ภริยาจะไม่ได้เป็นทายาท แต่ก็มีสิทธิได้รับมรดกเช่นเดียวกับทายาท เช่น ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ และมีลูก ๔ คน เงิน ๕๐ ล้านนั้นจะแบ่งระหว่างภริยาและลูก ๆ คนละ ๑๐ ล้าน ตกลงภริยาจะได้เงิน ๖๐ ล้าน (คือ ๕๐ ล้านในฐานะที่เป็นทรัพย์สินของตนที่แยกออกมา และอีก ๑๐ ล้านในฐานะที่เป็นมรดก) และลูก ๆ ได้คนละ ๑๐ ล้าน

ถ้าผู้ตายเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินของท่านที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ ท่านจะทำพินัยกรรมยกให้ใครก็ได้ แต่ถ้าท่านไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินเหล่านั้นจะตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของท่าน โดยจะไม่ตกไปยังทายาทโดยธรรมทั้งปวง แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ท่านมีอยู่ก่อนอุปสมบทย่อมตกไปเป็นของทายาทได้เช่นเดียวกับคนธรรมดาทั่วไป




๒. ใครบ้างมีสิทธิได้รับมรดก


คนที่จะมีสิทธิได้รับมรดกแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ “ทายาทโดยธรรม” อันได้แก่ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย ประเภทหนึ่ง และ “ผู้รับพินัยกรรม” ซึ่งได้แก่ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม อีกประเภทหนึ่ง

ถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร ผู้รับพินัยกรรมย่อมได้รับมรดกตามนั้น และถ้าทำพินัยกรรมยกมรดกให้ใครหมดแล้ว ทายาทโดยธรรมก็จะไม่ได้รับมรดกเลย กล่าวโดยสรุปก็คือ ทายาทโดยธรรมจะได้รับมรดกก็ต่อเมื่อไม่มีพินัยกรรมระบุไว้เป็นอย่างอื่น หรือถึงมีพินัยกรรมกำหนดไว้แล้วแต่ยังมีทรัพย์สินหลงเหลืออยู่ ทรัพย์สินที่หลงเหลืออยู่จึงจะตกไปถึงทายาทโดยธรรม

แต่ทายาทโดยธรรมอาจเป็นผู้รับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมด้วยก็ได้ เช่น พ่อทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ลูก ๆ จนหมด ในกรณีนั้นลูก ๆ จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรม ส่วนในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม ถ้าบังเอิญมีทรัพย์สินเหลืออยู่ ทรัพย์สินเหล่านั้นก็จะตกได้แก่ลูก ๆ ในฐานะทายาทโดยธรรมด้วย

คุณสมบัติเบื้องต้นของคนธรรมดา (ไม่ใช่นิติบุคคล) ที่จะมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่ คนที่มีสภาพบุคคลแล้วในเวลาที่เจ้ามรดกตาย ซึ่งกฎหมายอธิบายว่า สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย ถ้าคลอดออกมาแล้วตายทันที ก็ไม่ถือว่ามีสภาพบุคคล แล้วเลยพลอยไม่มีสิทธิได้รับมรดกไปด้วย อย่างไรก็ตาม ทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาในเวลาที่เจ้ามรดกตาย หากภายหลังเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วจึงคลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารก กฎหมายถือว่าทารกนั้นมีสิทธิที่จะได้รับมรดกได้ แต่ต้องเกิดมาภายใน ๓๑๐ วันนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ถ้าเกิดภายหลังจากนั้น คงยากที่จะถือได้ว่าเป็นทายาทของผู้ตาย ส่วนจะเป็นทายาทหรือลูกของใคร ไม่ใช่เรื่องที่บทความนี้จะวิจารณ์ให้สะเทือนใจเจ้ามรดก



ทายาทโดยธรรมนั้น กฎหมายแบ่งออกเป็น ๖ ลำดับ มีสิทธิรับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้


(๑) ผู้สืบสันดาน อันได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื้อ และต่อๆ ไปจนสุดสาย

(๒) บิดามารดา

(๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(๔) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(๕) ปู่ ย่า ตา ยาย

(๖) ลุง ป้า น้า อา

ใครก็ตามที่เป็นทายาทและบวชเป็นพระภิกษุ จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ จะต้องสึกออกมาจากสมณเพศเสียก่อนจึงจะเรียกร้องเอาได้ เว้นแต่จะมีผู้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ท่าน ท่านอาจเรียกร้องเอาได้แม้ว่าจะยังอยู่ในสมณเพศ




๓. สิทธิการรับมรดกในระหว่างทายาทโดยธรรมด้วยกันเองและคู่สมรส


(๑) ถ้ามีทายาทลำดับ (๑) คือผู้สืบสันดานแล้ว ทายาทในลำดับอื่น ๆ หมดสิทธิที่จะได้รับมรดกโดยสิ้นเชิง ยกเว้นทายาทลำดับ (๒) และคู่สมรสแล้ว ซึ่งต่างจะมีสิทธิรับมรดกเสมือนหนึ่งเป็นผู้สืบสันดานคนหนึ่ง เช่น ผู้ตาย มีภริยา ๑ คน มีลูก ๒ คน (สมมุติให้ชื่อ”เพชร” กับ “ทอง” จะได้สะดวกในการอ้างถึงในภายหลัง) มีบิดา และมารดา ในกรณีนี้มรดกจะแบ่งกันระหว่าง ภริยาลูกและบิดามารดาคนละเท่า ๆ กัน คือแต่ละคนได้รับหนึ่งในห้า

ในระหว่างทายาทที่เป็นผู้สืบสันดาน (ทายาทลำดับ(๑)) ด้วยกัน คนที่เป็นลูกของเจ้ามรดกเท่านั้นจึงจะมีสิทธิได้รับมรดก ส่วนบรรดาหลาน เหลน หรือลื้อ จะไม่มีสิทธิได้รับมรดกโดยตรง แต่ถ้าลูกคนใดตายไปก่อนเจ้ามรดก และลูกคนนั้นมีลูก หรือมีหลาน (ซึ่งจะเป็นหลานหรือเหลนของเจ้ามรดก) ลูกหรือหลานเหล่านั้นก็จะรับมรดกแทนที่พ่อของตน เช่นในกรณีตัวอย่างข้างต้น ปรากฏว่าเพชร ตายก่อนพ่อซึ่งเป็นเจ้ามรดก ถ้าเพชรไม่มีลูกหรือหลาน มรดกก็จะตกได้แก่ทอง ภริยาของเจ้ามรดก บิดา มารดา ในกรณีนี้ ทองจึงมีสิทธิได้รับมรดก ๑ ใน ๔ แต่ถ้าเพชรมีลูกหรือมีหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ ลูกหรือหลานของเพชรก็จะเข้ามารับมรดกแทนที่เพชร (ซึ่งเรียกว่าผู้รับมรดกแทนที่) ในกรณีนี้ มรดกจึงยังคงต้องแบ่งเป็น ๕ ส่วน อย่างเดิม ส่วนที่เป็นของเพชรนั้น ลูก ๆ ของเพชรก็นำไปแบ่งกันเอง ถ้าเพชรมีลูก ๓ คน ลูก ๓ คนก็จะได้มรดกไป ๑ ส่วน แล้วนำหนึ่งส่วนนั้นไปแบ่งในระหว่างกันเอง ต่างคนต่างจะได้ ๑ ใน ๓ ของมรดกที่ได้รับมา (เช่น มีมรดกมีมูลค่า ๕ ล้านบาท ในส่วนของเพชรจะได้มา ๑ ล้านบาท ลูก ๆ ของเพชรจะได้คนละ ๓ แสนกว่าบาท) ถ้าลูกของเพชรคนหนึ่งคนใดตาย แต่มีลูก (หลานของเพชร) ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนที่เป็นของลูกของเพชรที่ตายไปนั้นก็จะตกไปยังหลานของเพชร และเป็นเช่นนี้จนกว่าแต่ละสายจะสิ้นสุดลง

(๒) ถ้าผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดานและผู้สืบสันดานไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ แต่มีบิดามารดา มรดกย่อมตกไปยังคู่สมรสกึ่งหนึ่งและตกเป็นของบิดามารดาอีกกึ่งหนึ่ง โดยทายาทลำดับถัด ๆ ไปจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย แต่ถ้าบิดามารดาตายไปก่อน ก็เป็นอันจบกันไป จะมีการรับมรดกแทนที่บิดามารดาไม่ได้ มรดกย่อมตกไปสู่ทายาทลำดับ ๓ ต่อไป

(๓) สำหรับทายาทลำดับ (๓) คือ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ในกรณีนี้คู่สมรสจะได้รับมรดกไปกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งตกเป็นของ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน มีกี่คนก็แบ่งไปเท่า ๆ กัน ถ้าคนหนึ่งคนใดตายไปก่อนเจ้ามรดก ถ้ามีลูกหลาน ลูกหลานก็เข้ามารับมรดกแทนที่กันต่อ ๆ ไปจนสุดสาย

(๔) ถ้าไม่มีทายาทลำดับ (๓) และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ มรดกย่อมตกไปสู่ทายาทลำดับ (๔) คือ พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน การแบ่งมรดกจะแบ่งให้คู่สมรสก่อน ๒ ใน ๓ ส่วน ที่เหลือจึงจะตกได้แก่ทายาทลำดับ (๔) ซึ่งต้องไปแบ่งกันเองคนละเท่า ๆ กัน และก็เช่นเดียวกับทายาทลำดับ (๓) คือ ถ้าใครตายไปก่อน มรดกของคนนั้นก็จะถูกทายาทของตนรับมรดกแทนที่ต่อ ๆ ไปจนสุดสาย

(๕) ถ้าไม่มีทายาทลำดับ (๔) และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ มรดกจะตกไปสู่ทายาทลำดับ (๕) คือ ปู่ย่าตายาย ซึ่งคู่สมรสของผู้ตายจะได้รับมรดกก่อน ๒ ใน ๓ ส่วน ส่วนที่เหลือจึงจะนำไปแบ่งกันในระหว่างปู่ ย่า ตา ยาย ถ้าใครตายก่อนก็เป็นอันหมดสิทธิไป เพราะจะไม่มีการรับมรดกแทนที่เหมือนทายาทลำดับอื่น ๆ

(๖) ถ้าไม่มีปู่ย่าตายาย มรดกจะตกไปสู่ทายาทลำดับ (๖) คือ ลุง ป้า น้า อา ซึ่งคู่สมรสของผู้ตายจะได้รับมรดกก่อน ๒ ใน ๓ ที่เหลือจึงจะนำมาแบ่งปันกันกับลุง ป้า น้า อา ถ้าใครตายไปก่อนมรดกของคนนั้นก็จะตกทอดไปสู่ทายาทของคนนั้นอันเป็นการรับมรดกแทนที่

(๗) ถ้าไม่มีทายาททั้ง ๖ ลำดับและไม่มีผู้รับมรดกแทนที่เหลืออยู่เลย คงเหลือแต่คู่สมรสคนเดียว มรดกทั้งหมดจะตกได้แก่คู่สมรส

(๘) ถ้าใครสิ้นไร้ไม้ตอกเสียจนแม้แต่คู่สมรสก็ไม่มี ทายาทก็ไม่มีสักลำดับเดียว ทั้งยังมิได้ทำพินัยกรรมไว้ด้วย มรดกย่อมตกได้แก่แผ่นดิน






๔. การถูกตัดออกจากกองมรดก


การที่ทายาทโดยธรรมจะถูกตัดไม่ให้ได้รับมรดก อาจมีได้ ๓ กรณี คือ


(๑) ถูกกำจัดมิให้ได้มรดก ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้
ทายาทคนใดยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉล หรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นจะถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลย แต่ถ้ายักย้ายหรือปิดบังน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ก็จะถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้
ทายาทที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ทายาทที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิต และตนเองกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ ถ้าฟ้องแล้วปรากฏว่าเจ้ามรดกมีความผิดจริง หรือถึงแม้ไม่ผิดจริงแต่มิใช่เพราะเหตุตนนำความเท็จหรือพยานเท็จมาสู่ศาล ทายาทผู้นั้นก็ยังมีสิทธิได้รับมรดกตามปกติ
ทายาทที่รู้อยู่แล้วว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำความขึ้นร้องเรียนเพื่อที่จะเอาตัวคนทำผิดมาลงโทษ เว้นแต่ทายาทนั้นอายุยังไม่ครบ ๑๖ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นคนวิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามี ภริยา หรือผู้บุพการี หรือผู้สืบสันดานของตน
ทายาทที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดก หรือไม่ให้ทำการดังกล่าว
ทายาทที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด

ทายาทที่ถูกกำจัดมรดกดังกล่าวข้างต้นนั้น กฎหมายถือเสมือนหนึ่งว่าทายาทคนนั้นตายไปแล้ว ดังนั้นถ้าทายาทคนนั้นมีทายาทรับช่วงต่อ ทายาทที่รับช่วงต่อย่อมสามารถรับมรดกแทนที่ได้ และในกรณีที่ถูกกำจัดตามข้อ (ข) ถึง (ฉ) ถ้าเจ้ามรดกให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ก็สามารถรับมรดกได้ตามปกติ


(๒) การถูกตัดมิให้รับมรดก เจ้ามรดกอาจตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้ ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้
ด้วยการแสดงเจตนาไว้อย่างชัดแจ้ง ซึ่งอาจทำได้ ๒ วิธี คือ
๑ แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรม

๒ ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้คนอื่นจนหมด ทายาทโดยธรรมคนใดไม่ได้รับมรดกตามพินัยกรรม ทายาทคนนั้นย่อมถือว่าถูกตัดมิให้รับมรดก
(๓) การสละมรดก ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก อาจไม่ประสงค์จะรับมรดกดังกล่าวก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือแสดงเจตนาสละมรดกไว้ให้ชัดแจ้ง หรือจะทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็ได้ แต่การสละมรดกนั้นจะสละเพียงบางส่วน หรือสละโดยมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้

การสละมรดกจะทำก่อนที่เจ้ามรดกตายไม่ได้ แต่เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วจะสละมรดกเมื่อไรก็ได้ และเมื่อสละมรดกแล้วให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

การสละมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัว เมื่อได้สละมรดกแล้วทรัพย์สินส่วนที่สละไปย่อมตกไปเป็นของผู้สืบสันดานของคนสละมรดก





๕. การทำพินัยกรรม


เมื่อตายแล้ว ทรัพย์สินและหนี้สินทั้งปวงย่อมตกไปยังทายาทโดยธรรมตามลำดับดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่ถ้าผู้ใดไม่ต้องการให้ทรัพย์สินของตนตกไปยังทายาทดังกล่าวก็ดี หรือไม่ต้องการให้ตกไปตามสัดส่วนที่ได้ว่ามาแล้วก็ดี ก็สามารถกำหนดให้ตกไปยังบุคคล หรือตามสัดส่วนที่ต้องการได้ ด้วยวิธีการทำพินัยกรรมไว้ก่อนที่ตนจะตาย

ลักษณะของพินัยกรรมจะต้องเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายว่าเมื่อตนตายไปแล้วจะให้จัดการทรัพย์สินของตนเองหรือในเรื่องอื่นอย่างไร และเมื่อได้สั่งการไว้แล้ว จะเปลี่ยนแปลงในภายหลังอย่างไรก็ได้ โดยถือเอาพินัยกรรมฉบับสุดท้ายเป็นหลัก

ในขณะที่ทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องมีอายุครบสิบห้าปีแล้ว และมีสติรู้ตัวว่าตนกำลังทำอะไร และต้องการอย่างไร ส่วนเมื่อทำพินัยกรรมเสร็จแล้ว จะหมดสติ หรือไม่รู้ตัวก็ไม่เป็นไร

คนที่เป็นพยานในพินัยกรรม หรือผู้เขียนพินัยกรรม จะเป็นผู้รับพินัยกรรมไม่ได้





(๑) วิธีทำพินัยกรรม


การทำพินัยกรรม อาจทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้


๑. ทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรม และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน โดยพยานทั้งสองคนจะต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น


๒. พินัยกรรมเขียนเอง โดยผู้ทำพินัยกรรมทำเป็นเอกสารเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ แล้วลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม


๓. พินัยกรรมอันเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ซึ่งจะต้องทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้  ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมแก่นายอำเภอ ต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
นายอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้นั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง  เมื่อเห็นว่าข้อความถูกต้องแล้วให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อและ วัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองว่าพินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้องแล้ว และประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ



๔. ทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับ ซึ่งต้องทำด้วยวิธีดังต่อไปนี้
ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ผนึกพินัยกรรมแล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น  นำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดดังกล่าวว่าเป็นพินัยกรรมของตน ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เขียนเองโดยตลอด ต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย  เมื่อนายอำเภอจดถ้อยคำ และวันเดือนปีที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองและประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้นายอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรม และพยาน ลงลายมือชื่อบนซองนั้น


๕. พินัยกรรมทำด้วยวาจา โดยปกติพินัยกรรมจะทำด้วยวาจาไม่ได้ เว้นแต่เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษที่ไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นได้ เช่นตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม การทำพินัยกรรมด้วยวาจาจะต้องปฏิบัติดังนี้
ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น พยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอโดยมิชักช้า และแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ พร้อมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย  ให้นายอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อไว้ ถ้าพยานไม่รู้หนังสือลงลายมือชื่อไม่ได้ ก็ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือโดยมีพยานอีกสองคนลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้น  ถ้าปรากฏว่าผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ตายและอยู่ในฐานะที่จะทำพินัยกรรมแบบอื่นได้ พินัยกรรมด้วยวาจานั้นเป็นอันสิ้นผลเมื่อพ้นหนึ่งเดือนนับแต่เวลาที่กลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมแบบอื่นได้


๖. พินัยกรรมทำในต่างประเทศ ถ้าคนในบังคับไทยจะทำพินัยกรรมในต่างประเทศ จะทำตามแบบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น หรือจะทำตามแบบที่กฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรมบัญญัติไว้ก็ได้








มีชัย ฤชุพันธุ์

ที่มา : http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=3&action=view&type=10&mcid=20




การหย่ากับชาวต่างชาติ

การหย่ากับชาวต่างชาติ


จดทะเบียนประเทศออสเตรเลีย ได้จดทะเบียนปลายปี 2008 ที่ออสเตรเลียกับคนเชื้อสายแคนาดา แยกกันอยู่ปีกว่าแล้ว ตอนนี้อยู่ที่ไทยแล้ว ส่วนเขาอยู่ที่แคนาดา ถ้าหย่ากันต้องใช้เอกสารอะไรบ้างคะ เอกสารก็น่าจะมีพวกใบจดทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ฯ แต่ทำไมถึงต้องใช้สูติบัตรด้วยคะ แล้วจำเป็นมั๊ยคะที่ต้องไปออสเตรเลียเพื่อขอหย่า แต่มีคนบอกว่าให้ปรึกษาทนายที่เมืองไทยได้เลย




คำแนะนำทนายคลายทุกข์

 
 

1. การจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ ระหว่างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีสัญชาติไทย จะจดทะเบียนสมรสโดยทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทย หรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้ และหากได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1459,1515

2. การหย่าตามกฎหมายนั้น ย่อมกระทำได้ 2 วิธีคือ
2.1 การหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย หรือ
2.2 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
3. หากท่านประสงค์หย่าขาดกับสามีชาวต่างชาติ ท่านก็ย่อมตกลงหย่ากับสามีโดยให้สามีมาจดทะเบียนหย่ากันที่เมืองไทยได้ อันเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ไม่จำต้องไปหย่ากันที่ออสเตรเลียแต่อย่างใด หรือมิฉะนั้น เมื่อท่านกับสามีแยกกันอยู่เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี อันเป็นการที่จงใจละทิ้งล้างระหว่างกันไปเกิน 1 ปี ท่านก็มีสิทธิจะฟ้องหย่าสามีได้ในประเทศไทย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516(4)

4. สำหรับเอกสารที่ใช้ประกอบในการจดทะเบียนหย่า คือ
4.1 บัตรประจำตัวประชาชนฝ่ายชาย/หญิงที่ยังไม่หมดอายุ
4.2 ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของทั้งคู่, ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ, เอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
3. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน, ข้อตกลงการหย่า
4. สูติบัตร หรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร)
5. แบบฟอร์ม คร.1
 
 
 
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

มาตรา 1459
การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้
ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน


มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว


มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

 
 
 
 
 
 
ความรู้อัยการกับงานช่วยเหลือคนไทยในต่างแดน
http://www.ago.go.th/articles/anuchat_271152_2.pdf





การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
 
ความหมาย




การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส คือ การที่สามีและภริยา หย่าขาดจากกัน และได้
ตกลงแบ่งหรือโอนทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้แก่กัน ซึ่งจะเป็นการตกลงแบ่งสินสมรส
แต่ละสิ่งให้แต่ละฝ่าย
เท่า ๆ กัน ทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่าง ก็ทำได้ หรืออาจตกลงแบ่งสินสมรส สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทั้งหมด หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งราคาของสินสมรสนั้นก็ทำได้


กฎหมายและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง

- ป
... มาตรา ๑๔๖๕ - ๑๔๙๓ , ๑๕๓๒ - ๑๕๓๕
-
คำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๖/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ เรื่อง จดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

 
สาระสำคัญ

 

- ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแบ่งประเภททรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไว้ตามมาตรา ๑๔๗๐ ว่าทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็น
สินสมรส
กฎหมายดังกล่าวได้แยกทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็น ๒ ประเภท คือ ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่า สินส่วนตัว
และทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างคู่สมรส ทั้งสองฝ่ายเรียกว่า สินสมรส


 

 
. สินส่วนตัว

มาตรา ๑๔๗๑ สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(๑) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(๒) ที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(๓) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
(๔) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา ๑๔๗๒ “สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือเงินมาทดแทนทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว”
 
๒. สินสมรส

มาตรา ๑๔๗๔ สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

()
ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(๒) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
() ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
เป็น ”สินสมรส

มาตรา ๑๕๓๓ “เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน”
 
หลักเกณฑ์การสอบสวน

เมื่อมีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามนัยมาตรา ๑๕๓๓ แห่ง ป...
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนและเรียกหลักฐาน ดังนี้
()
เมื่อสามีภรรยาหย่าขาดจากกัน และประสงค์จะแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเกี่ยวกับที่ดิน โดยขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันและกันแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินเรียกหลักฐานการหย่าขาดจากสามีภรรยา เช่น คำพิพากษาหรือหนังสือหย่าระหว่างกันมาตรวจสอบ ถ้าในกรณีที่จะต้องจดทะเบียนหย่า ให้เรียกหลักฐานการจดทะเบียนหย่ามาแสดงด้วย() เมื่อเห็นว่ามีการหย่าขาดจากกันถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนในประเภท แบ่งทรัพย์สินระหว่างสมรสโดยให้คู่สมรสยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และแก้ทะเบียนตามตัวอย่างท้ายคำสั่งนี้
 
วิธีดำเนินการ

การจัดทำคำขอฯ
(.. ) คำขอ (.. ) เป็นไปตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๖/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ เรื่อง จดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

มาตรา
๑๕๓๓ แห่ง ป... บัญญัติไว้เพียงว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้สัดส่วน
เท่ากัน มิได้ระบุว่าจะต้องแบ่งสินสมรสให้แต่ละฝ่ายได้เท่า ๆ กัน ทุกสิ่งทุกอย่าง คู่สมรสจึงอาจตกลงแบ่งสินสมรสสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่อีกฝ่ายหนึ่งทั้งหมดหรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งราคาของสินสมรสนั้นได้ หากทรัพย์สินนั้นได้ตกลงกันไว้ในเวลาจดทะเบียนหย่า ข้อตกลงนั้นย่อมจะมีผลบังคับผูกพันให้เป็นไปตามข้อตกลงได้ และกรณี

เช่นนี้ส่วนที่เกินครึ่งก็มิใช่เป็นการให้โดยเสน่หา
(เทียบฎีกาที่ ๑๔๐๖/๒๕๑๗) พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่จำต้องพิจารณาว่าส่วนแบ่งตามที่ตกลงกันนั้น จะเท่ากันหรือไม่ ก็ย่อมจดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสได้
(หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/๒๖๗๖๑ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ ตอบข้อหารือจังหวัดชลบุรี เรื่อง หารือการจดทะเบียนที่ดิน เวียนตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/ว ๓๗๐๐๖ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๗)
 

แนวทางการวินิจฉัยที่สำคัญเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส


๑. การจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสเป็นการจดทะเบียนลงชื่อสามีภรรยาในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรส ตามนัยมาตรา ๑๔๗๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงไปไม่ว่าด้วยเหตุใด เช่น ด้วยความตาย หรือ หย่า ฯ คู่สมรสย่อมไม่ใช่สามีภรรยาอีกต่อไป และสินสมรสก็สิ้นสภาพ แม้ยังมิได้มีการตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสทรัพย์สินนั้นก็คงเป็นกรรมสิทธิ์รวมธรรมดาเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกา ที่ ๑๕๒๓/๒๕๑๙) ดังนั้น เมื่อคู่สมรสฝ่ายที่มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินถึงแก่ความตายแล้ว จึงไม่อาจจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสได้ และเมื่อตามมาตรา ๑๕๓๒ วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็บัญญัติว่า เมื่อหย่าแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภรรยากรณีจึงเป็นเรื่องที่ต้องไปจัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยากัน และขอจดทะเบียนในประเภท แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสแต่การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเช่นนี้เป็นการขอจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยประการอื่นนอกจากนิติกรรมจะต้องให้ผู้ขอนำคำสั่งศาลซึ่งแสดงว่าตนมีสิทธิหรือได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสแล้วมาขอจดทะเบียนสิทธิตามข้อ ๙ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๗ (.. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ..๒๔๙๗

.
การจดทะเบียนกรณีได้มาซึ่งที่ดินในระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยาแล้ว ต่อมาคู่กรณีฝ่ายที่มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินถึงแก่ความตาย คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่จะมาขอจดทะเบียนให้ปรากฏชื่อร่วมในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยประการอื่นนอกจากนิติกรรม

ผู้ขอจะต้องนำคำสั่งศาลที่แสดงว่าตนมีสิทธิหรือได้รับส่วนแบ่งในที่ดินอันเป็นทรัพย์สินร่วมกันมาขอจดทะเบียนสิทธิตามข้อ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗

(..๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ..๒๔๙๗


. ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ปรากฏว่า ญ. กับ ช. สมรสกันเมื่อปี ๒๕๒๒ ระหว่างสมรส ญ. ได้ซื้อที่ดินโฉนดที่ดินเมื่อปี ๒๕๒๘ และปี ๒๕๓๔ ตามลำดับที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔ ภายหลังทั้งสองหย่าขาดจากกัน การสมรสจึงสิ้นสุดลงและบันทึกข้อตกลงยกสินสมรสให้แก่บุตร เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๓๒ และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุตรทั้งสองคน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา ๓๗๕ วรรคท้าย ดังนั้น ตราบใดที่บุตรของ ญ. กับ ช. ยังมิได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา ญ. กับ ช. จึงอาจตกลงกันเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิตามที่ตกลงกันไว้ได้ทุกเมื่อ (เทียบกับคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๑/๒๕๔๑) แต่ในการที่ ญ. จะจดทะเบียนลงชื่อ ช. ในโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งมีชื่อ ญ. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แต่เพียงผู้เดียว ผู้ขอจะ
ต้องนำใบสำคัญการหย่ามาประกอบการขอจดทะเบียน เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้รับจดทะเบียนในประเภท
แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามนัยมาตรา ๑๕๓๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่ ว. ผู้รับมอบอำนาจนำหลักฐานทะเบียนสมรสมาแสดงทั้งยังให้ถ้อยคำยืนยันว่า ญ. กับ ช. ยังเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าใจว่า ทั้งสองยังเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายและรับจดทะเบียนให้ไปในประเภท ลงชื่อคู่สมรสตามนัยมาตรา ๑๔๗๕ แห่ง ป... อันเป็นการจดทะเบียนไปโดยคลาดเคลื่อน จึงควรดำเนินการเพิกถอนรายการจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสซึ่งจดทะเบียนในโฉนดที่ดินเมื่อปี ๒๕๔๒ ตามนัยมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับการจดทะเบียนให้ที่ดินเฉพาะส่วนระหว่าง ญ. กับ ช. ในลำดับถัดมา เมื่อเพิกถอนรายการจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสแล้ว โฉนดที่ดินจะกลับมีชื่อ ญ. ถือกรรมสิทธิ์
แต่เพียงผู้
เดียวดังเดิมและไม่มีเหตุใดที่จะต้องจดทะเบียนให้เฉพาะส่วนแก่ ช. เพราะเมื่อที่ดินเป็นสินสมรส ช. ย่อมเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อทั้งสองหย่าขาดจากกันแล้วที่ดินดังกล่าวย่อมคงไว้เพื่อการแบ่งสินสมรส เท่านั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนให้ที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของ ญ. แก่ ช. จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน ให้เพิกถอนเสีย

. โดยปกติแล้วการโอนมรดก พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้พิจารณาถึงสินสมรสว่าจะแบ่งแล้วหรือยัง แต่จะพิจารณาเพียงชื่อเจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินว่าเป็นชื่อของเจ้ามรดกหรือไม่เท่านั้น หากมีชื่อเจ้ามรดกแล้วทายาทย่อมมาขอจะทะเบียนรับโอนมรดกได้ และถ้าคู่สมรสจะมาขอแบ่งสินสมรสในกรณีที่ไม่มีพินัยกรรมระบุว่าเป็นสินสมรสแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะไม่จดทะเบียนแบ่งสินสมรสให้ โดยถือว่าการแบ่งสินสมรสเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม คู่สมรสที่ขอแบ่งจะต้องไปร้องขอให้ศาลสั่งมาเสียก่อน แต่ถ้าพินัยกรรมระบุชัดว่าที่ดินทุกแปลงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกและสามีแล้วการที่จะโอนมรดกให้แก่ทายาทไปทั้งหมด โดยไม่คำนึงว่าที่ดินที่โอนไปนั้นเป็นมรดกของเจ้ามรดกตกทอดแก่ทายาทหรือไม่นั้น ย่อมจะฝืนต่อข้อเท็จจริง แม้ว่าคู่สมรสของเจ้ามรดกจะยินยอมก็ตามจึงควรโอนมรดกให้เพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนที่เหลือให้
จดทะเบียนแบ่งสินสมรสให้คู่สมรสของเจ้ามรดกไป โดยถือว่าเมื่อพินัยกรรมระบุไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินมรดกเป็นสินสมรส คู่สมรสของเจ้ามรดกจึงขอแบ่งฝ่ายเดียวได้ โดยอนุโลมตามนัยคำสั่งกรมที่ดินที่ ๖
/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ เรื่อง จด
ทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนในประเภทไม่มีทุนทรัพย์

. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการที่คู่สมรสจะมาขอแบ่งสินสมรสในกรณีที่ไม่มีพินัยกรรมระบุไว้ว่าเป็นสินสมรส พนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่จดทะเบียนแบ่งสินสมรสให้ โดยถือว่าการแบ่งสินสมรสเป็นการได้มาทางอื่นนอกจากนิติกรรม คู่สมรสที่ขอแบ่งจะต้องไปร้องขอให้ศาลสั่งมาเสียก่อน แม้โฉนดที่ดิน จะมีชื่อ ญ. เจ้ามรดกเพียงผู้เดียว อันเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่ปรากฏว่าในพินัยกรรมของ ญ. ระบุชัดว่า ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นสินสมรสระหว่าง ญ. กับ ช. และ ญ. มีเพียงหนึ่งในสามส่วนเท่านั้น โดยอ้างเหตุที่มีเพียงหนึ่งในสามส่วนว่าตนได้สมรสกับ ช. มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ และมีสินเดิมมาด้วยกันทั้งสองฝ่าย เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ปรากฏว่า ส. บุตรคนหนึ่งของ ญ. กับ ช. ตามสำเนาทะเบียนบ้านเกิดเมื่อปี พ..๒๔๗๔ และที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว ญ. ได้มาโดยการซื้อและรับให้ระหว่างปี พ..๒๔๔๓ - ๒๔๙๘ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ญ. และ ช. ได้สมรสกันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ และที่ดินทั้งสามแปลงเป็นสินสมรสจริง เมื่อ ญ. ตาย ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ ญ. ตาย ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ ญ. ที่จะตกทอดไปยังทายาทจึงมีเพียงหนึ่งในสามส่วนเท่านั้น (เทียบฎีกาที่ ๒๖๒๘/๒๕๒๒)

ดังนั้น การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสรายนี้ ช. ย่อมจะขอแบ่งฝ่ายเดียวได้ โดยอนุโลมปฏิบัติตามนัยคำสั่งกรมที่ดินที่ ๖/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ เรื่อง จดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทไม่มีทุนทรัพย์ เมื่อแบ่งแล้วหาก ช. จะขอรับโอนมรดกส่วนของ ญ. ก็ต้องคิดค่าธรรมเนียมตามส่วนของที่ดินที่เป็นมรดก

. กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่ดินเป็นสินสมรสระหว่าง ช. และ ญ.ให้ ญ. โอนให้ ช. ครึ่งหนึ่งตามสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินดังกล่าวมีชื่อ ญ. ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวน ๘๐๐ ส่วน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โอนให้ ช. ครึ่งหนึ่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินที่ ญ. จะต้องโอนให้แก่ ช. จำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินที่ ญ. จะต้องโอนให้แก่ ช. จึงชัดเจนแล้วว่าหมายถึงจำนวน ๔๐๐ ส่วน ของที่ดินจำนวน ๘๐๐ ส่วนที่ ญ. ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งในระหว่างที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ญ. ได้ จดทะเบียนให้ ท. ถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนของตนไปแล้วครึ่งหนึ่งจำนวน ๔๐๐ ส่วน ในจำนวน ๘๐๐ ส่วน การจำหน่ายที่ดินดังกล่าวต้องถือว่าเป็นการจำหน่ายที่ดินสินสมรสเฉพาะส่วนของ ญ. ฝ่ายเดียว ไม่ใช่ส่วนของ ช. ที่ดินส่วนที่เหลืออยู่อีก ๔๐๐ ส่วน จึงเป็นสินสมรสส่วนที่จะต้องแบ่งให้ ช. ตามคำพิพากษาของศาลทั้งหมด จึงชอบที่จะจดทะเบียนให้ ช. ตามคำขอได้ โดยจดทะเบียนในประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเฉพาะส่วนตามคำพิพากษา........ ตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๖/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘ แต่โดยที่ ญ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงดังกล่าว ไม่ได้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเต็มทั้งแปลง กรณีนี้จึงให้หมายเหตุในเรื่องราวขอจดทะเบียนฯ (.. ) และสารบัญจดทะเบียนว่า . ขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเฉพาะส่วนของ ญ. ตามคำพิพากษา......... ส่วนของคนอื่นคงมีอยู่ตามเดิมและให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมประเภทไม่มีทุนทรัพย์ แปลงละ ๕๐ บาท



 
 
คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง


๑.

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๒๓/๒๕๑๙ สามีภริยาหย่ากันโดยคำพิพากษาและจดทะเบียนหย่าแล้ว สินบริคณห์สิ้นสภาพ แม้ยังมิได้แบ่งก็เป็นแต่กรรมสิทธิ์รวมธรรมดา หญิงถูกยึดทรัพย์ ชายร้องขัดทรัพย์ไม่ได้ ได้แต่ขอกันส่วนในฐานะเจ้าของรวมเท่านั้น ไม่ต้องร้องขอแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของสามีและภริยาก่อน

๒. คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๙/๒๕๓๑ โจทก์และจำเลยที่ ๑ ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ ๑ หย่าขาดจากกันแล้วเพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๑๕ แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่าทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว........

๓. คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๙๖๑/๒๕๓๕ ตาม ป... มาตรา ๑๕๓๓ การจะแบ่งสินสมรสได้ต้องมีการหย่ากันเท่านั้น เมื่อไม่มีการหย่าแม้คู่สมรสจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียวมาตรา ๑๕๓๔ ก็ให้ถือเสมือนว่า ทรัพย์สินนั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา ๑๕๓๓ กฎหมายมิได้มุ่งประสงค์ให้แบ่งสินสมรสกันได้หากคู่สมรสยังเป็นสามีภริยากันอยู่........

๔. คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๓๕/๒๕๓๖ ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ ๑ กับ ฟ. เมื่อหย่ากันแต่ละฝ่ายย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคนละครึ่ง ตาม ป... มาตรา ๑๕๓๓ แต่โจทก์ที่ ๒ ไม่ได้แสดงเจตนาแก่ ฟ. ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาในส่วนที่ดินพิพาทซึ่ง ฟ. มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งก่อนที่ ฟ. จะตาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งจึงยังเป็นของ ฟ. อยู่ ฟ. ย่อมแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับที่ดินนั้นในส่วนของตนเพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมายเมื่อตนตายได้ ตาม ป... มาตรา ๑๖๔๖

๕. คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘/๒๕๓๗ ..........บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญา ซึ่งกันและกันแล้วยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็น ผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย คือ แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วยกันเอง โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน ๒ แปลง และบ้านอีก ๑ หลัง ตกเป็นของผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยา ตาม ป... มาตรา ๑๕๓๒ และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตาม ... มาตรา ๓๗๔ มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ตาม ป... มาตรา ๕๒๕ แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้จำเลยผิดสัญญา โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ต่อกันได้

๖. คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๑๔/๒๕๓๘ ห. กับ จ. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยต่างมีสินเดิมมาด้วยกัน บุคคลทั้งสองได้ทรัพย์พิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส แม้ ห. ถึงแก่ความตายในปี ๒๕๓๒ เมื่อ ป... บรรพ ๕ ใหม่ ประกาศใช้แล้วก็ตาม การแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ ๖๘ คือ ชายได้ ๒ ส่วน หญิงได้ ๑ ส่วน จะแบ่งคนละส่วนเท่ากันตาม ป... มาตรา ๑๕๓๓ หาได้ไม่

๗. คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๑๔/๒๕๓๙ ข้อตกลงที่ ป. จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาหย่า มิใช่เป็นการจะให้ที่ดินแก่โจทก์โดยตรง แต่เป็นการให้ที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่าระหว่าง ป. กับโจทก์ ดังนี้ข้อตกลงจะให้ที่ดินดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ มีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่..........

๘. คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๕๒/๒๕๔๐ การที่จำเลยกับผู้ร้องจดทะเบียนหย่ากัน และทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน ไว้หลังทะเบียนการหย่าว่าให้สินสมรสทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพร้อมบ้านพิพาทตกเป็นของผู้ร้องนั้น เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินตาม ป... มาตรา ๑๕๓๒ มีผลบังคับผูกพันสามีภริยานับแต่นายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าแล้ว หากจำเลยที่ ๒ ผิดสัญญา ผู้ร้องในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ ๒ ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนที่เป็นสินสมรสของจำเลยที่ ๒ จึงยังไม่ตกเป็นของผู้ร้องตาม ป... มาตรา ๑๒๙๙ วรรคหนึ่ง..........

๙. คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๓๘๒/๒๕๔๐ โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าโจทก์จำเลยหามาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนจดทะเบียนสมรส เท่ากับโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่ก่อนสมรสอันเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๑ () ซึ่งแต่ละฝ่ายในฐานะเจ้าของย่อมมีอำนาจจัดการเองได้โดยลำพังตามมาตรา ๑๔๗๓ และมาตรา ๑๓๓๖ แม้ต่อมาจะจดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ทำให้สินส่วนตัวนั้นกลับเป็นสินสมรสได้ จึงไม่ใช่การฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา อันต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ หมวด ๔ ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการห้ามมิให้สามีหรือภริยายึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา ๑๔๘๗ ก็ไม่ใช่ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งให้แบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมที่มีอยู่ก่อนสมรส เมื่อโจทก์
มีหนังสือขอแบ่งที่ดินดังกล่าวไปยังจำเลยแล้วจำเลยไม่แบ่งให้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินได้ตามมาตรา ๑๓๖๓

๑๐. คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๑/๒๕๔๑ ส. กับจำเลยที่ ๒ จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ ๑ กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๓๒ และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ ๑ กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา ๓๗๔ สิทธิของจำเลยที่ ๑ กับพวกจะเกิดขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา ๓๗๔ วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ ๑ กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท ส. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้

๑๑. คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๔๔/๒๕๔๒ แม้การที่ ร. ให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสโดยเสน่หาแก่
จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖
() และ ๑๔๗๕ เมื่อมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังกล่าวภายในกำหนดเวลา ๑ ปี นับแต่วันที่ได้รู้เรื่องที่ ร. จดทะเบียนการให้ที่ดินแก่จำเลยที่ ๒ หรือภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันจดทะเบียนการให้ตาม มาตรา ๑๔๘๐ ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ ดังนี้ ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และจำเลยมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ร. ที่จะต้องมีหน้าที่แบ่งสินสมรสให้โจทก์แทน ร.
แต่จำเลยครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เนื่องจากได้รับยกให้จาก ร. จำเลยจึงไม่มีหน้าที่แบ่งสินสมรสดังกล่าวของ ร. ให้โจทก์การทำพินัยกรรม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่จะต้องได้รับความยินยอมคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ วรรคหนึ่ง แม้ ร. มีสิทธิทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทที่เป็นสินสมรสระหว่าง ร. กับโจทก์ส่วนที่ ร. มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๖ วรรคสอง ได้ก็ตาม แต่ ร. ก็ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยได้ การที่ ร. ทำพินัยกรรมยกบ้านสินสมรสทั้งหลังให้แก่จำเลยจึงไม่มีผลผูกพัน ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของมีสิทธิฟ้องติดตามเอาคืนทรัพย์ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาการใช้สิทธิ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ โดยโจทก์ไม่ต้องฟ้องร้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของ ร. ก่อน

๑๒. คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๔๗๗/๒๕๔๒ การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใด ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มาจำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี พ..๒๕๐๙ ในขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ ๕ เดิม มาตรา ๑๔๖๖ วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ที่ตรวจชำระใหม่ พ..๒๕๑๙
ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำ
ให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา ๑๔๗๑ ()

๑๓. คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๙๖๑/๒๕๔๔ ป.พ.พ.มาตรา ๑๕๓๔ ที่บัญญัติว่า ”สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไป…..ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา ๑๕๓๓ …..” นั้น เป็นการแบ่งสินสมรสที่ฝ่ายหนึ่งจำหน่ายจ่ายโอนไปหรือทำให้สูญหายไปโดยมิชอบ ในกรณีที่หย่ากันให้แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๕๓๔ ดังกล่าว โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินกึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยขายที่ดินไปได้เงินเท่าใด โจทก์ก็ควรได้รับเงินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่จำเลยขายไป มิใช่กึ่งหนึ่งของราคาที่ดินปัจจุบัน การกำหนดมูลค่าที่ดินที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนไปก่อนฟ้องเพื่อเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์จึงต้องคิดจากราคา ณ วันที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอน

๑๔. คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๕๐/๒๕๔๕ โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๑ (๑) โจทก์ลงทุนในกิจการดังกล่าว ๒๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนจำเลยลงทุน ๑๐๐,๐๐๐ บาท กิจการร้านเสริมสวยจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตามสัดส่วนของเงินลงทุน คือ ๒ ต่อ ๑ ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจำเลยได้รับโอนมาภายหลังจากโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดที่จำเลยนำไปชำระนั้น จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย แต่เงินในบัญชีดังกล่าวมีเงินรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ด้วย ซึ่งเงินรายได้
ดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย และไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่า มีเงินสินส่วนตัวของจำเลยเข้ามาปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดทั้งสี่จำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องถือตามข้อสันนิษฐาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๑ วรรคท้าย ว่า เงินดาวน์ดังกล่าวเป็นสินสมรสด้วย ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้องจึงเป็นสินสมรสเต็มจำนวนที่ต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง..........

 

 

ข้อควรระวังในการจดทะเบียน ลงชื่อคู่สมรส” “แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

() การจดทะเบียนประเภทลงชื่อคู่สมรสเป็นการจดทะเบียนลงชื่อสามีภรรยาในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอันเป็นสินสมรสซึ่งมีชื่อสามีหรือภรรยาเป็นเจ้าของอยู่แต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อให้สามีและภรรยามีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันตามนัยมาตรา ๑๔๗๕ แห่ง ป... ซึ่งมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ ที่ดินนั้นต้องเป็นสินสมรส และคู่กรณีต้องเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับการจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ที่ดินที่จะจดทะเบียนต้องเป็นสินสมรสและคู่กรณีต้องเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่ว่าการจดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเป็นการจดทะเบียนไปตามข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสหลังจากที่ได้หย่าขาดจากกันแล้ว กล่าวคือ ในขณะเมื่อยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ สินสมรสย่อมเป็นสิทธิของสามีภรรยาร่วมกันในทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งถ้าสินสมรสนั้นเป็น ที่ดินมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและมีชื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของแต่ฝ่ายเดียว หากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะขอจดทะเบียนเพื่อให้มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันก็จดทะเบียนในประเภทลงชื่อคู่สมรส ต่อเมื่อได้หย่าขาดจากกันไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมหรือไม่ก็ตามมาตรา ๑๕๓๒ แห่ง ป... บัญญัติให้มีการจัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภรรยา ซึ่งในการจัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยานี้ตามมาตรา ๑๕๓๓ บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากันสามีภรรยาจะจัดการแบ่งกันอย่างไร ทรัพย์สินใดเป็นของฝ่ายใดก็สุดแล้วแต่สามีภรรยาจะตกลงกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาทรัพย์สินแต่ละอย่างมาแบ่งกันคนละครึ่ง แต่เมื่อแบ่งกันแล้วทรัพย์สินที่แต่ละฝ่ายได้ไปทั้งหมดรวมกันแล้วต้องมีมูลค่าเท่ากัน เช่น โฉนดที่ดินมีชื่อสามีเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต่อมาเมื่อหย่าร้างกันคู่สมรสอาจตกลงกันให้ที่ดินแปลงนี้ตกเป็นของภรรยาคนเดียวก็ได้ หรือสามีภรรยาอาจจะตกลงแบ่งโดยให้สินสมรสชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นของทั้งสองคนถือกรรมสิทธิ์รวมกันไปก็ได้ ซึ่งไม่ว่าคู่กรณีจะตกลงแบ่งกันอย่างไรก็ต้อง จดทะเบียนในประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากกรณีเป็นเรื่องที่ตกลงกันให้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันต่อไปตามตัวอย่างข้างต้น ในการจดทะเบียนพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะต้องจดทะเบียนลงชื่อภรรยาให้ปรากฏในโฉนดที่ดินทำนองเดียวกันกับการจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรส แต่ต้องจดทะเบียนในประเภท แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสมิใช่จดทะเบียนในประเภทลงชื่อคู่สมรส

() กรณีที่โฉนดที่ดินมีชื่อสามีแต่เพียงผู้เดียว ต่อมาเมื่อหย่ากันได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินให้ที่ดินแปลงนี้เป็นของภรรยาฝ่ายเดียว ซึ่งที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องจดทะเบียนให้ในประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไม่มีทุนทรัพย์แปลงละ ๕๐ บาท แต่พนักงานเจ้าหน้าที่บางคนได้
จดทะเบียนให้ในประเภท
ให้และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมมีทุนทรัพย์ในอัตราร้อยละ ๒ ซึ่งไม่ถูกต้อง

 
 
 
ค่าธรรมเนียม


การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส เป็นการจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรัพย์ เรียกเก็บค่า
ธรรมเนียมแปลงละ ๕๐ บาท ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗
(..๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.. ๒๔๙๗ ข้อ ๒ ()() ทั้งนี้ไม่ว่าที่ดินแปลงที่จดทะเบียนคู่กรณีจะได้ตกลงให้แก่กันเกินครึ่งแปลงนั้น ๆ หรือไม่ เช่น โฉนดที่ดินที่มีชื่อสามีเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คู่กรณีได้จดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสให้แก่ภริยาไปทั้งแปลงเช่นนี้ ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแปลงละ ๕๐ บาท (หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/๒๖๗๖๑ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ ตอบข้อหารือจังหวัดชลบุรี เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/ ๒๗๐๐๖ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๗)


 
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

การแบ่งสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาของแต่ละฝ่ายเท่ากันไม่ถือเป็นการ
ขาย ตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่ถ้าในการแบ่งสินสมรสฝ่ายใดได้ไปเกินกว่าส่วนของตนตามกฎหมายต้องถือว่าฝ่ายที่ยอมให้ส่วนของตนเกินไปให้กับอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเป็นผู้ให้ ซึ่งถือว่าเป็นการ ขายจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้โดยการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งคำนวณจากราคาอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะส่วนที่เกินไปนั้น (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค ๐๘๐๒/๒๒๒๙๗ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๕ ซึ่งกรมสรรพากรได้เวียนให้ทุกจังหวัดทราบ ตามหนังสือกรมสรรพากร ที่ กค ๐๘๐๒/๖๓๗ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖ , คำสั่งกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/๒๖๗๖๑ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ ตอบข้อหารือจังหวัดชลบุรี เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๐๘/ว ๒๗๐๐๖ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๗)
 
อากรแสตมป์


การจดทะเบียนแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ไม่มีกรณีที่จะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน
พฤษภาคม ๒๕๔๘


___________________
คำสั่งที่ ๖/๒๔๙๘
เรื่อง จดทะเบียนประเภทแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส

_________________

เนื่องจากการแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสซึ่งหย่าขาดจากกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ และบางกรณีเป็นเรื่องซึ่งสามีภรรยาต่างได้ตกลงแบ่งที่ดิน หรือโอนที่ดินให้แก่กันแต่ละฝ่ายเกินปริมาณที่จำกัดไว้ตามมาตรา ๓๔ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งที่ดินใหม่ เพราะเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาซึ่งมีอยู่แต่เดิม จึงเห็นสมควรวางระเบียบในการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ คือ
. เมื่อสามีภรรยาหย่าขาดจากกัน และประสงค์จะแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเกี่ยวกับที่ดิน โดยขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันและกันแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินเรียกหลักฐานการหย่าขาดจากสามีภรรยา เช่น คำพิพากษา หรือหนังสือสัญญาหย่าระหว่างกันมาตรวจสอบดูเสียก่อน ถ้าในกรณีที่จะต้องจดทะเบียนหย่า ให้เรียกหลักฐานการจดทะเบียนหย่ามาแสดงด้วย
. เมื่อเห็นว่ามีการหย่าขาดจากกันถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนให้ใน
ประเภท แบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสโดยให้คู่สมรสยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และแก้ทะเบียนตามตัวอย่างท้ายคำสั่งนี้. ในการแก้สารบัญรายชื่อ สารบัญที่ดิน ให้ใช้อักษรย่อว่า ..”
. ค่าธรรมเนียมให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ ๑๐) ..๒๔๙๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๙๗ ข้อ ๕ ()
อนึ่ง ในกรณีซึ่งในโฉนดที่ดินมีชื่อสามีภรรยาร่วมกัน แต่ไม่ประสงค์จะโอนส่วนของตนให้แก่กัน ต้องการจะแบ่งแยกออกจากกัน ให้อนุโลมดำเนินการอย่างจดทะเบียนประเภทแบ่งระหว่างเจ้าของเดิม ตลอดจนค่าธรรมเนียมให้เรียกเก็บเช่นเดียวกัน
กรมที่ดินสั่ง ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘(ลงชื่อ) . ไทยวัฒน์(นายศักดิ์ ไทยวัฒน์)
อธิบดีกรมที่ดิน