Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

9 โรคแทรกซ้อนช่วงตั้งครรภ์

9 โรคแทรกซ้อนช่วงตั้งครรภ์










ช่วง ท้องอย่างนี้มีภาวะแทรกซ้อนอะไรที่อาจจะเกิดกับเราได้บ้างนะ และเราจะดูแลป้องกันตัวเองไว้ก่อนได้หรือไม่ 9 โรคต่อไปนี้ต้องระวังนะคะ
 
 
1. ท้องนอกมดลูก
ปกติ คนเราเวลาตั้งครรภ์ก็จะตั้งครรภ์ในมดลูก แต่มีไม่น้อยค่ะที่ไข่เมื่อผสมกับอสุจิแล้วจะไปฝังตัวที่ท่อนำไข่ บางคนฝังในรังไข่เลยก็มี หรือบางคนก็ในช่องท้อง แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือท้องในท่อนำไข่ค่ะ การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ ส่วนมากเด็กโตได้ระยะหนึ่งก็มักจะเสียชีวิตค่ะ
สาเหตุ พบ บ่อยๆ ในคนที่มีประวัติเคยมีปีกมดลูกอักเสบ เคยทำแท้งบ่อยๆ การขูดมดลูกอาจมีการอักเสบติดเชื้อ ทำให้ท่อนำไข่หรือมดลูกไม่เรียบ ไข่เดินทางไปสู่มดลูกได้ช้า การฝังตัวเกิดได้ไม่ดี จึงฝังตัวนอกมดลูกค่ะ
การรักษา ส่วนมากต้องผ่าตัดเพื่อเอาการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติออก บางคนจำเป็นต้องตัดท่อนำไข่ทิ้ง หรือตัดรังไข่ทิ้ง แล้วแต่กรณีค่ะ
การป้องกัน ที่ดีที่สุดและง่ายที่สุดคือ ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดค่ะ เพื่อจะรักษาได้ทันท่วงที ไม่เกิดอันตรายต่อคุณแม่ เพราะหากปล่อยไว้ท่อนำไข่หรือรังไข่อาจแตกและมีเลือดออกมากจนเป็นอันตรายได้
 
 
2. ภาวะรกเกาะต่ำ
ปกติ รกของผู้หญิงเราจะเกาะที่ยอดมดลูก แต่บางคนรกเกาะต่ำลงมาที่ปากมดลูก จึงขวางช่องทางทำให้เด็กเคลื่อนลงมาไม่ได้ และถ้าเด็กตัวใหญ่ขึ้น รกที่เกาะอยู่แผ่นใหญ่ขึ้น พอขยายตัวอาจทำให้เกิดรอยปริระหว่างรกกับปากมดลูกได้ค่ะ ทำให้คุณแม่มีเลือดออกถ้า เลือดออกมากๆ อาจทำให้เด็กและแม่เสียชีวิตได้ แต่ก็มีคุณแม่บางคนซึ่งมีรกเกาะต่ำโดยไม่เกิดปัญหาอะไรตามมาเลยก็ได้ ขณะที่บางคนมีเลือดออกผิดปกติ
สาเหตุ มักเจอในคุณแม่ที่มีลูกมากๆ เคยคลอดลูกหลายๆ คน หรือว่าเคยขูดมดลูกมาก่อน
การรักษา คุณหมอจะรอจนเด็กโต มีอายุครรภ์ครบกำหนด ก็จะนัดมาผ่าตัดคลอด แต่ในบางรายที่ยังไม่ทันครบกำหนดแล้วมีเลือดออกเยอะ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดคลอดก่อนกำหนด เพื่อรักษาชีวิตแม่เอาไว้ค่ะ
การป้องกัน ถ้าคุณแม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะเสี่ยง ควรรีบฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าตรวจพบว่ามีรกเกาะต่ำ จะได้ระวังในเรื่องการปฏิบัติตัวไม่ให้มีการกระทบกระเทือนเพราะอาจทำให้ เลือดออกได้ เช่น อาจต้องงดเว้นการทำงานหนัก นั่งรถกระเทือน หรือมีเพศสัมพันธ์
 
 
3. ภาวะการแท้งบุตร
การแท้งบุตร คือการตั้งครรภ์ที่ยุติหรือสิ้นสุดลงก่อนเวลาที่ควรจะเป็น ส่วนใหญ่จะหมายถึง การตั้งครรภ์ที่ยุติก่อนอายุครรภ์ 20-23 สัปดาห์ ซึ่งถ้ายุติในช่วงเวลานี้ส่วนมากเด็กจะไม่สามารถมีชีวิตได้เพราะว่าตัวเล็กเกินไป
สาเหตุ มีอยู่ 2 ประการคือ แท้งเอง กับตั้งใจทำแท้ง การแท้งเองอาจเกิดจากไข่ที่ไม่สมบูรณ์ หรือแม่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคเลือดบางชนิด บางคนก็หาสาเหตุชัดๆ ไม่ได้ เช่น อาจจะเกิดจากภาวะเครียด อดนอน ทำงานหนัก
การป้องกัน การ แท้งจากบางสาเหตุป้องกันไม่ได้ เช่น การที่ไข่ไม่สมบูรณ์ เพราะเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่ไข่มีการทำลายตัวเองไป แต่หากเป็นการแท้งที่เกิดในคุณแม่ที่มีโรคภัยไข้เจ็บ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ ก่อนตั้งครรภ์ต้องตรวจสุขภาพร่างกายก่อนค่ะ ถ้ามีโรคต้องรีบรักษาให้หาย หรือให้อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ก่อน จึงปล่อยให้มีการตั้งครรภ์ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้ง
ครรภ์
 
 
4. ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
ตาม ปกติเมื่อเด็กคลอดแล้ว รกจึงจะหลุดจากมดลูกคลอดตามออกมา แต่มีบางคนค่ะที่รกหลุดออกมาก่อน โดยเด็กยังไม่คลอด เมื่อรกหลุดทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงเด็กโดยผ่านรกหยุดไปทันที และถ้าช่วยไม่ทันจะทำให้เด็กเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในท้องได้
สาเหตุ ส่วน ใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ถูกกระแทกที่หน้าท้อง หกล้ม กระแทกกระเทือนจากการนั่งรถ หรืออุ้มลูกคนโต แต่บางรายก็ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุค่ะ เช่น แม่เป็นความดันโลหิตสูง ก็อาจทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนดได้เช่นกัน
การรักษา ถ้าพบต้องเร่งทำคลอดทันที ซึ่งเด็กอาจจะตัวเล็กหรือตัวใหญ่แล้วแต่ว่ามีอุบัติเหตุเมื่ออายุครรภ์เท่าใด
การป้องกัน เมื่อตั้งครรภ์ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งไม่ให้กระทบกระเทือนที่บริเวณหน้าท้อง
 
 
5. ตกเลือดหลังคลอด
หลังคลอดลูกมดลูกจะมีการบีบตัว ทำให้มีเลือดไหลออกมา การคลอดปกติจะทำให้คุณแม่เสียเลือดประมาณ 200-300 ซีซี. แต่มีคุณแม่บางคนเลือดออกมากกว่านั้นจนกระทั่งช็อคหรือเสียชีวิต คำว่าตกเลือดหลังคลอดทางการแพทย์หมายความว่า หลังจากคลอดเด็กและรกออกไปแล้ว คุณแม่มีการเสียเลือดมากกว่าครึ่งลิตรหรือมากกว่า 500 ซีซี.
สาเหตุ ที่พบบ่อยๆ มีอยู่ 2-3 ประการคือ
1. มดลูกบีบตัวได้ไม่ดี ทำให้มดลูกแข็งตัวได้ไม่ดี เลือดจึงออกเยอะ ไหลไม่หยุด การที่มดลูกบีบรัดตัวไม่ดี ส่วนมากพบในคนที่อายุมากๆ คลอดลูกบ่อยๆ หรือเกิดจากการคลอดยาก มดลูกบีบรัดตัวอยู่นานไม่คลอดเสียที ซึ่งอาจเป็นเพราะลูกตัวโตหรือเด็กมีท่าผิดปกติ พอบีบไม่ออก บีบนานๆ มดลูกก็ล้าหดรัดตัวไม่ดี หรือบางคนอาจได้รับยาคลายกล้ามเนื้อมดลูกบางอย่าง ก็ทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดีเช่นกันค่ะ
การรักษา มียาหลายชนิดที่ช่วยให้มดลูกบีบรัดตัวได้ดี แต่ในบางรายให้ยาชนิดใดก็ไม่ดีขึ้น อาจต้องใช้วิธีตัดมดลูกทิ้ง มิฉะนั้นคุณแม่จะเสียเลือดมากจนเสียชีวิตได้ ซึ่งกรณีอย่างนี้พบได้ไม่บ่อยนักค่ะ
2. เกิดจากการฉีกขาดของช่องคลอด เช่น ฝีเย็บฉีกขาด บางคนปากมดลูกมีการฉีกขาด บางคนมดลูกฉีกขาดหรือแตกจากการคลอด ซึ่งพวกนี้อาจเกิดจากการที่เด็กตัวใหญ่มาก การคลอดจึงมีการฉีกขาดเยอะ หรือว่าอาจเกิดจากผู้ทำคลอดตัดฝีเย็บไม่ดี แผลใหญ่มาก เป็นต้น
การรักษา คุณหมอจะตรวจดูว่ามีการฉีกขาดที่ไหน ก็ไปเย็บซ่อมแซม แต่ถ้ามดลูกมีการฉีกขาดหรือแตกมาก ก็อาจต้องตัดมดลูกทิ้ง
3. เด็กคลอดไปแล้ว แต่รกคลอดไม่หมด ยังค้างอยู่บางส่วน รกที่ค้างอยู่ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ทำให้เสียเลือดได้
การรักษา คุณหมออาจต้องใช้มือเข้าไปล้วงรกที่ค้างอยู่ออกมา หรือขูดมดลูกเอาเศษรกที่ค้างอยู่ออก
การป้องกัน คุณแม่ทุกคนควรได้รับการดูแลที่ดีจากคุณหมอ อย่าปล่อยให้มีการเจ็บครรภ์คลอดนานจนเกินไป ในประเทศไทยยังมีผู้เสียชีวิตจากการตกเลือดหลังคลอดประปราย แต่ในประเทศที่ด้อยพัฒนายังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณแม่เสียชีวิต เนื่องจากอาจมีเลือดมารักษาไม่เพียงพอ หรือยารักษาการติดเชื้อไม่ดีพอ แต่ในบ้านเราโชคดีค่ะที่การรักษาทำได้ค่อนข้างดี โอกาสที่จะตายจากโรคนี้จึงต่ำมาก
 
 
6. โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
มี 2 กลุ่มคือ ผู้หญิงบางคนเป็นความดันโลหิตสูงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ กับผู้หญิงอีกกลุ่มหนึ่งตอนไม่ตั้งครรภ์ความดันไม่สูง แต่เมื่อตั้งครรภ์แล้วความดันกลับสูงได้ กลุ่มหลังเราจะเรียกว่าความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้บ่อยค่ะ โดยคุณแม่จะมีอาการบวม ตรวจปัสสาวะเจอไข่ขาวหรือโปรตีนในปัสสาวะ ถ้าอาการรุนแรงและรักษาได้ไม่ดี ก็จะชัก อาจมีเส้นเลือดในสมองแตก เสียชีวิตได้ สมัยก่อนเรียกโรคนี้ว่าครรภ์เป็นพิษ ส่วนลูกในครรภ์ ถ้าคุณแม่มีอาการรุนแรงมาก เด็กมักจะตายในท้อง ถ้ามีอาการนาน จะมีผลกับการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ เด็กอาจตัวเล็ก แต่ถ้าควบคุมอาการได้ดี ส่วนมากเด็กจะเจริญเติบโตได้ปกติ ไม่มีความพิการใดๆ
สาเหตุ ยัง ไม่ทราบแน่ชัดค่ะ แต่จะพบบ่อยๆ ในคุณแม่บางกลุ่ม เช่น คุณแม่ท้องที่อายุน้อยๆ หรืออายุมากๆ กลุ่มนี้มีปัญหาทั้งคู่ แต่ในคนวัยธรรมดา เช่น 20 กว่าๆ -30 ปี เจอน้อย และมักเจอในท้องแรก ท้องหลังไม่ค่อยเจอค่ะ เจอได้บ่อยในครรภ์แฝด คนเป็นเบาหวานหรือมีประวัติคนในครอบครัว เช่น แม่เคยเป็นโรคนี้ขณะตั้งครรภ์ จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับกรรมพันธุ์ หรือเกี่ยวกับอาหารการกิน หรืออาจจะเกี่ยวกับฮอร์โมนที่สร้างจากรก หรือจากตัวเด็กที่ทำให้ความดันขึ้น เพราะสังเกตว่าเมื่อมีการคลอดเสร็จแล้วส่วนใหญ่แม่ก็จะหายเป็นปกติ
การรักษา ใน รายที่เป็นรุนแรงอาจต้องยุติการตั้งครรภ์ แต่เจอได้น้อย ส่วนมากจะรักษาได้ คุณหมอจะมียาป้องกันการชัก ยาลดความดัน เพื่อประคับประคองให้เด็กโตพอ แล้วก็ผ่าตัดคลอด หรือให้ยาเร่งคลอดได้ ที่ควบคุมไม่ได้มีน้อย
และ สาเหตุที่ควบคุมไม่ได้ส่วนมากมักเกิดจากมาหาหมอตอนที่อาการเป็นมากแล้ว เช่น คุณแม่ที่ไม่เคยรู้ตัวว่าเป็น ไม่มาฝากครรภ์เลย มาฝากครรภ์ช้า หรือบางกรณีมาถึงมือหมอก็ชักมาเสียแล้วค่ะ
การป้องกัน ควรจะตั้งครรภ์ในอายุที่เหมาะสม รีบไปฝากครรภ์ หมอจะได้ตรวจเจอตั้งแต่แรก และให้การรักษาได้ทันท่วงที
 
 
7. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
มีคุณแม่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มหนึ่งเป็นเบาหวานอยู่แล้วก่อนท้อง กับอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งท้องแล้วจึงเป็นเบาหวานค่ะ กลุ่มหลังนี้การตั้งครรภ์จะไปกระตุ้นให้เป็นโรคนี้ เชื่อว่าเด็กและรกที่อยู่ในมดลูกสามารถสร้างฮอร์โมนหรือสารเคมีที่ไปยับยั้ง การทำงานของอินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด ทำให้คุณแม่เป็นเบาหวาน ซึ่งคุณแม่ที่คุมน้ำตาลได้ไม่ดีอาจชักหรือช็อก อาจแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้
สาเหตุ ยังไม่ รู้สาเหตุที่แน่ชัด แต่มักพบในคุณแม่ท้องแรก อายุมากๆ หรืออ้วนมากๆ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน หรือว่าตัวคุณแม่เองมีโรคอื่น เช่น ความดันโลหิตสูง ซึ่งเราเรียกคุณแม่กลุ่มนี้ว่ากลุ่มเสี่ยง
การรักษา ถ้า ตรวจพบต้องรีบรักษา คุณหมอจะแนะนำวิธีการดูแลตนเอง เช่น คุมอาหาร ถ้าคุมอาหารแล้วเอาไม่อยู่ อาจต้องฉีดอินซูลินช่วย ระหว่างที่ท้องก็ต้องคอยตรวจระดับน้ำตาลคุณแม่อย่างสม่ำเสมอ และต้องคอยเช็คว่ามีปัญหาแทรกซ้อนอื่นไหมทั้งในตัวแม่และลูก
การป้องกัน ถ้าคุณแม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเวลาท้องก็ต้องรีบไปฝากครรภ์ค่ะ ถ้าตรวจเจอจะได้รักษาและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง
 
 
8. การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุ เมื่อตั้งครรภ์ มดลูกจะขยายตัวไปดันกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสาวะได้ไม่ดี มีการคั่งค้างนาน เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
การรักษา คุณหมอนำปัสสาวะไปเพาะเชื้อ ว่าติดเชื้ออะไร แล้วให้ยาฆ่าเชื้อ โดยเป็นยาที่ไม่มีผลต่อลูกในครรภ์ค่ะ
การป้องกัน อย่ากลั้นปัสสาวะบ่อยๆ ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้มีการขับปัสาวะได้ดี ไม่มีการคั่งค้าง เป็นการชำระล้างทำความสะอาดระบบทางเดินปัสสาวะ
 
 
9. โรคโลหิตจาง
สาเหตุ ที่พบบ่อยๆ ในบ้านเรามี 2 ชนิด คือโรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก กับโรคเลือดจางจากโรคเลือดธาลัสซีเมีย
การรักษา โรค เลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก แก้ไขได้ไม่ยากค่ะ โดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากๆ เช่น ตับบด
ผักใบเขียว หรือรับประทานวิตามินเสริมธาตุเหล็ก ส่วนโรคโลหิตจางจากโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ถ้าลูกในท้องเป็นโรคนี้ และมีอาการมากก็อาจจะทำให้ลูกตายในท้อง หรือลูกบวมน้ำในท้องได้

การป้องกัน ก่อน ตั้งครรภ์ควรมีการตรวจเช็คร่างกายว่ามีโลหิตจางหรือไม่ ถ้าเป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ควรรับประทานอาหารเสริมให้ร่างกายเป็นปกติก่อนจึงตั้งครรภ์ ส่วนโรคโลหิตจางจากโรคเลือดธาลัสซีเมีย สามารถตรวจคัดกรองได้ว่าลูกจะเสี่ยงไหม โดยการตรวจเลือดของคุณพ่อคุณแม่ว่าเป็นพาหะหรือไม่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ขอขอบคุณ : รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เอื้อเฟื้อข้อมูล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น