Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

สำลักอาหาร..อันตรายที่ควรระวัง

สำลักอาหาร..อันตรายที่ควรระวัง
 
 

สำลักอาหารอันตรายที่ควรระวัง (Mother&Care) 

         
"การสำลักอาหาร" เป็นสิ่งที่อันตรายและน่ากลัวอยู่ไม่น้อยสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ หากโชคดีรักษาได้ทันก็ปลอดภัยไป แต่หากโชคร้ายก็อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในผู้ใหญ่ที่สามารถดูแลตัวเองได้ดี ยังทรมานแทบแย่ในทุกครั้งที่มีการสำลัก แล้วในเด็กที่ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ดีพอ จะน่าเป็นห่วงขนาดไหน

 
 
 

2 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการสำลัก
 
1.อาหาร

         
 
ของกินที่เข้าข่ายควรระวังมีหลายประเภท ดังนี้

ของกินที่เป็นชิ้นหนา และยาว เช่น แครอท ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา มะเขือเทศ เต้าหู้ ฯลฯ

ของกินที่เป็นชิ้นเล็กและแข็ง เช่น ถั่วต่าง ๆ ลูกอม รวมไปถึงเมล็ดผลไม้อย่างเมล็ดองุ่น เงาะ ลำไย ละมุด น้อยหน่า ฯลฯ

ของกินที่มีความหยุ่น หนืด เหนียว เช่น หมากฝรั่ง เยลลี่ มาร์ชเมลโล เนยถั่ว ผลไม้กวน ฯลฯ

ของกินที่เป็นเส้นยาว เช่น ขนมจีน สปาเกตตี บะหมี่ ฯลฯ
 
 
2.พฤติกรรมการกิน

         
เด็กในช่วงวัย 3-5 ปี นอกจากความน่ารัก น่าชัง ช่างเจรจาจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวแล้ว ระดับความซนก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เลย ดังนั้น การกินไปด้วยพร้อมกับพูดคุย กระโดด หรือวิ่งเล่นไปทั่วก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็ก ๆ มีอาการสำลักอาหารได้ อีกหนึ่งพฤติกรรมการกินที่อาจมาจากการเลียนแบบผู้ใหญ่หรือสื่อสาธารณะก็คือ การกินแบบผาดโผน เช่น การโยนของกินแล้วอ้าปากรับ ซึ่งถือว่าไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง


 
 
 
 
กินอย่างปลอดภัยห่างไกลอาการสำลัก
         
 
 
เพื่อป้องกันเด็ก ๆ จากการสำลักอาหารคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยได้ดังนี้

1.ตัดหรือหั่นอาหารให้เป็นชิ้นเล็กพอดีคำ

2.คว้านเมล็ดผลไม้ทิ้ง ก่อนที่จะนำไปให้ลูกกิน

3.พยายามหลีกเลี่ยงของกินที่อาจทำให้มีอาการสำลักและไม่มีประโยชน์กับร่างกายของลูก เช่น ขนม ลูกอม หมากฝรั่ง เป็นต้น

4.ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่เร่งรีบกลืนลงไป เพราะนอกจากจะทำให้สำลักแล้ว อาหารที่เคี้ยวไม่ละเอียดดี จะส่งผลให้ระบบการย่อยทำงานหนักมากขึ้น

5.สร้างพฤติกรรมการกินที่ถูกสุขลักษณะคือ กินตามเวลา ไม่เล่นระหว่างกัน รวมทั้งไม่พูดคุยระหว่างที่มีอาหารอยู่ในปาก

6.หากลูกมีพฤติกรรมการกินที่อาจทำให้เกิดการสำลักอาหาร คุณพ่อคุณแม่ต้องพูดคุยและอธิบายให้ลูกเข้าใจ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่เขาอาจได้รับ

7.คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างเสริมให้ลูกกินอย่างปลอดภัย

อ่านมาถึงตรงนี้ คุณพ่อคุณแม่คงเห็นแล้วว่าการป้องกันอาการสำลักอาหารเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่สามารถทำตามได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ อย่ามัวแต่ระวังเรื่องการกิน การเคี้ยวของลูก จนเผลอลืมดูแลการกินของตัวเองให้ดีนะคะ เดี๋ยวอาการสำลักอาหารจะถามหา
 
 
 
ที่มา :: Vol.8 No.93 กันยายน 2555
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น