Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

ปานเด็กแรกเกิด

มาทำความรู้จัก...ปานเด็กแรกเกิดกัน
ปานเด็ก

 
ทำความรู้จักปานเด็กแรกเกิด (Mother&Care)
 
ปาน ที่เราเรียกและรู้จักนั้น เป็นความผิดปกติของสีผิวหนัง ที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี อีกทั้งชนิดของปานเองก็มีรูปร่าง ขนาด และสีแตกต่างกันไป มีทั้งแบบเป็นถาวรและสามารถหายไป พบเห็นตั้งแต่วัยแรกเกิด วันนี้เรามีข้อมูลเพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สังเกต รู้จักปานแต่ละแบบของลูกวัยเบบี๋ค่ะ

 
 

ปานที่พบได้ในวัยเบบี๋



ปานแดง
 

เกิดจากหลอดเลือดฝอยใต้ผิวรวมตัวเป็นกลุ่ม และเมื่อหลอดเลือดขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้เลือดคั่งบริเวณนั้น ๆ สังเกตเห็นเป็นรอยแดงที่ผิวหนังลูกน้อย

 
ปานแดงชนิดราบ จะเห็นรอยแดงกระจายรูปร่างไม่แน่นอน ไม่มีขอบเขต มีหลายขนาด มักพบบริเวณใต้ผมที่ต้นคอ หรือที่ใบหน้า สามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิดไม่มีอันตรายต่อร่างกายค่ะ


ปานแดงชนิดนูน มีสีแดงสดถึงสีแดงคล้ำ ผิวนุ่ม ไม่เรียบ (คล้ายผิวผลสตรอว์เบอร์รี) พบได้ทุกส่วนของร่างกาย เมื่อโตขึ้นปานจะค่อย ๆ ยุบหายไปเองภายใน 2-5 ปี โดยไม่ต้องรักษา ยกเว้นถ้าปานแดงชนิดนี้เกิดบริเวณที่บาดเจ็บง่ายหรือทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะอื่น เช่น ที่หนังตา จะทำให้เด็กลืมตาไม่ได้ หรือปาก ทำให้อ้าปากกินอาหารไม่ได้ หรือที่ก้น เมื่อเด็กนั่งก็จะกดทับทำให้เกิดเป็นแผลได้ง่าย อาจต้องพิจารณาให้การรักษา


ปานแดงหลอดเลือด (Port-wine stain) เป็นปานสีแดงหรือแดงอมม่วงคงอยู่ไม่จางหายไป มีสีเข้ม หรืออาจนูนหนาและขรุขระตามอายุที่มากขึ้น อาจพบร่วมกับความผิดปกติของหลอดเลือดสมองได้ ควรพาลูกมาพบคุณหมอ


ปานแดงจากผนังเส้นเลือดผิดปกติ เป็นตุ่มนูนหรือปื้นสีแดงเข้มขนาดใหญ่ บริเวณใบหน้า ความผิดปกติที่อาจพบร่วม เช่น พบที่เปลือกตาอาจส่งผลทำให้เกิดต้อหิน, ตาบอด หรือเกิดความผิดปกติของสมอง
 
 
ปานดำ

 
มีลักษณะเป็นรอยดำ สีอาจเข้มหรืออ่อน บางทีอาจเห็นเป็นสีน้ำเงินดำพบบ่อยที่ใบหน้า หรือที่ตาขาว ทั้งนี้แล้วแต่จำนวนสีเมลานินที่เกิดความผิดปกติ


ปานสีกาแฟใส่นม เป็นปานดำที่มีสีน้ำตาลอ่อน สีเหมือนกาแฟใส่นมผิวเรียบ รูปร่างต่าง ๆ กัน ขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร


ปานขน มักเกิดตามลำตัว มีสีน้ำตาลอ่อนแต่สีไม่เสมอ เห็นเป็นจุด ๆ อยู่รวมกันเป็นบริเวณกว้างและมีขนขึ้นร่วมด้วย เมื่อเด็กโตขึ้นปานจะขยายกว้างตาม ทำให้เรียกปานชนิดนี้ว่าปานขน

         
 
ปานมองโกเลียน เป็นปานที่พบได้บ่อย และพบได้ตั้งแต่แรกเกิด มีลักษณะเป็นผื่นราบสีเขียว ฟ้าเทา หรือฟ้าเข้ม มักพบได้บริเวณก้นและสะโพกหรือบริเวณอื่น ๆ ก็ได้ เช่น แขน ขา หลัง ไหล่ หนังศีรษะ เป็นปานที่สามารถจางหายไปได้เมื่อลูกโตขึ้น
 

ปานกับการรักษา

 
โดยส่วนใหญ่ ปานจะยุบหายเองได้เมื่อลูกโตขึ้น ไม่ต้องรักษาอะไร มีเพียงบางชนิดที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ต้องได้รับการรักษา หรือปานที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ชนิดต่าง ๆ ในผิวหนัง ที่ทำให้เห็นเป็นปาน กลายเป็นเนื้อร้ายหรือเป็นแผลเรื้อรัง สามารถขยายขนาดได้ อาจดูน่าเกลียด ต้องตัดทิ้งหรือเลือกวิธีอื่น ๆ ในการรักษา โดยผ่านดุลยพินิจของคุณหมอ เช่น กินยากลุ่มสเตียรอยด์, ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าที่ปานชนิดนั้น ๆ เพื่อให้ปานยุบลง, การจี้ด้วยไฟฟ้า หรือการใช้แสงเลเซอร์ (นิยมวิธีนี้มากที่สุด เพราะได้ผลค่อนข้างดี)
 

สิ่งที่ควรดูแลใส่ใจเรื่องปาน

 
ประเด็นที่แนะนำคือ สังเกตอาการผิดปกติของปาน เช่น มีอาการบวมแดง มีสีเปลี่ยนไป เข้มขึ้นหรือสีไม่สม่ำเสมอ ขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิวที่เคยเรียบเกิดขรุขระ มีน้ำเหลืองซึม มีเลือดคั่ง มีอาการเจ็บ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติ ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อให้คุณหมอดูแลรักษาอาการ และสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือ การรักษาปานเอง เช่น ใช้ธูปหรือน้ำกรดจี้ เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นแผลใหญ่กว่ารอยเดิมได้ค่ะ
 
 
 
 
ที่มา :: Vol.9 No.98 กุมภาพันธ์ 2556
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น