Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN CHARTER) หรือธรรมนูญอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN CHARTER) หรือธรรมนูญอาเซียน







 
คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่


http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20130528-092411-875705.pdf






กฎบัตรอาเซียน (ASEAN CHARTER) หรือธรรมนูญอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
 
ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป

 

วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน
 
วัตถุประสงค์อของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิกาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)

 

โครงสร้างและสาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
 
กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่
หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน
หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่
หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน
หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์
หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ
หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน
หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน
หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก
หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรม และผลักดันอาเซียนให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร มีข้อกำหนดใหม่ๆ ที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างการทำงานและกลไกต่างๆ ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา เช่น
1. กำหนดให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากเดิมปีละ 1 ครั้ง เป็นปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้นำมีโอกาสหารือกันมากขึ้น พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงทางการเมืองที่จะผลักดันอาเซียนไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมในอนาคต
2. มีการตั้งคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียนตามเสาหลักทั้ง 3 ด้าน คือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
3. กำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัคราชฑูตประจำอาเซียนไปประจำที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแนวแน่ของอาเซียนที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก
4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นๆ ได้ตามที่ผู้นำกำหนด
5. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตีความหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยมีข้อกำหนดว่าหากเกิดปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน หรือเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศสมาชิกต้องหารือกันเพื่อแก้ปัญหา และกำหนดให้ประธานอาเซียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว


 
กฎบัตรอาเซียนจะเสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
 
กฎบัตรอาเซียนสร้างกลไกตรวจสอบและติดตามการดำเนินการตามความตกลงต่างๆ ของประเทศสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ เช่น
1. ให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีและคำตัดสินขององค์กรระงับข้อพิพาท
2. หากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกสามารถใช้กลไกและขั้นตอนระงับข้อพิพาททั้งที่มีอยู่แล้ว และที่จะตั้งขึ้นใหม่เพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธี
3. หากมีการละเมิดพันธกรณีในกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง ผู้นำอาเซียนสามารถกำหนดมาตรการใดๆ ที่เหมาะสมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีกฎบัตรอาเซียนช่วยให้อาเซียนเป็นประชาคมเพื่อประชาชนได้อย่างไรข้อบทต่างๆ ในกฎบัตรอาเซียนแสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังผลักดันองค์กรให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง จึงกำหนดให้การลดความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาเป็นเป้าหมายหนึ่งของอาเซียนกฎบัตรอาเซียนเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในอาเซียนผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ของอาเซียนมากขึ้น ทั้งยังกำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภาของประเทศสมาชิกกำหนดให้มีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน


 
ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียนต่อประเทศไทย
 
กฎบัตรอาเซียน ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมหลักประกันให้กับไทยว่า จะสามารถได้รับผลประโยชน์ตามที่ตกลงกันไว้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นอกจากนี้ การปรับปรุงการดำเนินงานและโครงสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการเสริมสร้างความร่วมมือในทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอำนาจต่อรอง และภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อให้ไทยสามารถผลักดันและได้รับผลประโยชน์ด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น
- อาเซียนขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคน เป็นประชาชนอาเซียนกว่า 550 ล้านคน ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย
นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นทั้งแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย และไทยได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งของประชาคม ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และบุคคล ระหว่างประเทศสมาชิกที่สะดวกขึ้น
- อาเซียนช่วยส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เช่น SARs ไข้หวัดนก การค้ามนุษย์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมอกควัน ยาเสพติดปัญหาโลกร้อน และปัญหาความยากจน เป็นต้น
- อาเซียนจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของไทยในเวทีโลก และเป็นเวทีที่ไทยสามารถใช้ในการผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาของเพื่อนบ้านที่กระทบมาถึงไทยด้วย เช่น ปัญหาพม่า ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์พหุภาคีในกรอบอาเซียนจะเกื้อหนุนความสัมพันธ์ของไทยในกรอบทวิภาคี เช่น ความร่วมมือกับมาเลเซียในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย



 
ที่มา: ประชาคมอาเซียน.net
 
 

 



 
 
 
 
 
 
 
 








ทำบัตรประชาชน ทะเบียนราษฎร การแจ้งเกิด แจ้งตายย้ายที่อยู่

ทำบัตรประชาชน ทะเบียนราษฎร การแจ้งเกิด แจ้งตายย้ายที่อยู่








 
กลุ่มงานทะเบียนราษฎร
  การขอเลขหมายประจำบ้าน
การแจ้งรื้อบ้าน
การแจ้งเกิด
การแจ้งตาย
การขอตรวจคัด และรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร
การแจ้งย้ายเข้า
การแจ้งย้ายออก
การแจ้งย้ายออกผู้อื่น
การแจ้งย้ายปลายทาง
การติดต่อกลุ่มงานทะเบียนราษฎร กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง
ให้ทำหนังสือมอบหมายให้ผู้อืนมาดำเนินการแทน
 (หนังสือมอบหมาย)
 
กลุ่มงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
 
การขอมีบัตรกรณีบัตรหมดอายุ 
การขอมีบัตรครั้งแรก อายุ 15 ปี บริบูรณ์ 
การขอบัตรครั้งแรกอายุเกิน 16 ปี 
หลักฐานกรณีบัตรหาย
การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนาเกี่ยวกับบัตรประชาชน
แบบฟอร์ม การขอตรวจ คัดสำเนาเกี่ยวกับบัตรประชาชน
 
กลุ่มงานทะเบียนทั่วไป
  
 
กลุ่มงานทะเบียนราษฎร
 การขอเลขหมายประจำบ้าน
เอกสารประกอบ
1.  บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และแบบแปลนการก่อสร้าง ( ถ้ามี )
3. หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดิน ( ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตามข้อ 2)
4. กรณีมอบหมายให้นำใบมอบหมายและบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบหมายมาแสดงด้วย
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การแจ้งรื้อบ้าน
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. กรณีมอบหมายให้นำใบมอบหมายและบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบหมายมาแสดงด้วย
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การแจ้งเกิดเอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การแจ้งตาย
เอกสารประกอบ
. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย และทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)
3. หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี)
4. บันทึกประจำวันแจ้งความคนตาย (กรณีไม่มีหลักฐานรับรองการตาย)
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การขอตรวจคัด และรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
3. บัตรประจำตัวทนายความหรือใบอนุญาตเป็นทนายความ (กรณียื่นขอในฐานะทนายความ)
4. กรณีขอคัดของบุคคลอื่น ต้องมีหนังสือมอบหมายจากบุคคลที่จะขอคัดนั้น พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลที่จะขอคัด
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การแจ้งย้ายเข้า
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่
3. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
4. กรณีเจ้าบ้านไม่ได้เป็นผู้แจ้งให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านพร้อมหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านและให้เจ้าบ้าน
ลงชื่อยินยอมในใบแจ้งการย้ายที่อยู่
5. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การแจ้งย้ายออก
กรณีย้ายตนเองซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เอกสารประกอบ1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง (ตนเอง)
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้แจ้งย้ายออก
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การแจ้งย้ายออกผู้อื่น
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. กรณีผู้แจ้งไม่ได้เป็นเจ้าบ้านให้นำบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้านมาแสดงด้วย พร้อมหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การแจ้งย้ายปลายทาง
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. หนังสือมอบหมายของเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า (กรณีที่เจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง)
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 
กลุ่มงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
 การขอมีบัตรกรณีบัตรหมดอายุเอกสารประกอบ
1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (สามารถยื่น
คำร้องขอคัดและรับรองสำเนาได้ที่เขต ที่ยื่นคำขอ)
2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การขอมีบัตรครั้งแรก อายุ 15 ปี บริบูรณเอกสารประกอบ
1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. สูติบัตรฉบับจริง หรือหลักฐานการศึกษา (ที่มีรูปถ่ายติด)
3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง, ของบิดา, ของมารดา (ถ้ามี)
4. ผู้ขอมีบัตรไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้บิดา หรือมารดา หรือเจ้าบ้านมารับรอง
5. จากข้อ 2. ผู้รับรองต้องนำทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับรอง พร้อมถ่ายเอกสาร 1 ชุดมาแสดงด้วย
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การขอบัตรครั้งแรกอายุเกิน 16 ปีเอกสารประกอบ
1 .ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. สูติบัตรฉบับจริง
3. หลักฐานการศึกษา (ที่มีรูปถ่ายติด)
4. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง, ของบิดา ของมารดา (ถ้ามี)
5. บิดา มารดา หรือเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมารับรอง
6. ผู้รับรองต้องนำทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับรอง พร้อมถ่ายเอกสาร 1 ชุดมาแสดงด้วย
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 หลักฐานกรณีบัตรหายเอกสารประกอบ
1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. หลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายติดอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต),
วุฒิการศึกษา (ป.6 – ป.ตรี)
3. หากไม่มีหลักฐานเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 2 มาแสดงให้นำผู้รับรองมาให้ถ้อยคำเพื่อยืนยันตัวบุคคล จำนวน 1 คน
เช่น เจ้าบ้าน หรือบิดา มารดา หรือพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือที่มีอาชีพมั่นคง มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งและรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี

4. จากข้อ 3. ผู้รับรองต้องนำทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของผู้รับรอง พร้อมถ่ายเอกสาร 1 ชุด มาแสดงด้วย

หมายเหตุ ชายไทยอายุ 22 – 30 ปี แสดงหลักฐานทางทหาร (สด.8 หรือ สด. 43) ทุกครั้งพร้อมถ่ายเอกสาร 1 ชุด
 
 การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนาเกี่ยวกับบัตรประชาชน
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. หนังสือมอบหมายหรือหลักฐานผู้มีส่วนได้เสีย
แบบคำร้องขอคัดสำเนา
 
 
กลุ่มงานทะเบียนทั่วไป
 การจดทะเบียนสมรส
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนฝ่ายชาย/ฝ่ายหญิงที่ยังไม่หมดอายุ
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่สมรส
3. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
4. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร)
5. หลักฐานการจดทะเบียนหย่า กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน
6. กรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) บิดา – มารดา ต้องมาให้ความยินยอม
ึ7.
 แบบฟอร์ม คร.1
 
 การจดทะเบียนหย่า
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนฝ่ายชาย/ฝ่ายหญิงที่ยังไม่หมดอายุ
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า, ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ, เอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
3. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน, ข้อตกลงการหย่า
4. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร)
5.
 แบบฟอร์ม คร.1
 
 การจดทะเบียนรับรองบุตร
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบิดา มารดา และบุตร
3. สูติบัตรของบุตร เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล ของบิดา มารดา และบุตร (ถ้ามี)
4. มารดาและบุตรต้องมาลงชื่อให้ความยินยอม
5. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
6.
 แบบฟอร์ม คร.1
 
 การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้จดบันทึก
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้จดบันทึก
3. เอกสารหลักฐานในเรื่องที่ต้องการให้บันทึกที่เป็นต้นฉบับพร้อมกับคำแปลเป็นภาษาไทย
รับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศหรือสถานทูตของประเทศที่ออกเอกสารให้ (เฉพาะกรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ใช่คนสัญชาติไทย)
4. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
5. กรณีบุคคลอื่นดำเนินการแทนให้นำหนังสือมอบหมาย ซึ่งต้องมอบหมายผ่านสถานทูตและ
บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบหมายมาแสดงด้วย
6. 
แบบฟอร์ม คร.1
 
 จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้อง (ติดต่อเจ้าหน้าที่อีกครั้ง)
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้เกี่ยวข้อง, พยาน 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
3. หนังสืออนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจากศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรณีที่เด็กเป็นผู้เยาว์อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)
4. คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมและคู่สมรสของบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอมพร้อมใบสมรสและบัตรประจำตัวประชาชน
5. 
แบบฟอร์ม คร.1
 
 การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้อง (ติดต่อเจ้าหน้าที่อีกครั้ง)
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง, พยาน 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
4. คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมและของบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอม
พร้อมใบสมรสและบัตรประจำตัวประชาชน
5.
 แบบฟอร์ม คร.1
 
 การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ผู้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
3. กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ใช้สูติบัตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์
บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน (มารดา)
4. กรณีบิดาทำการแทนผู้เยาว์ต้องมีทะเบียนสมรสมาแสดง
5. เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล (ถ้ามี)
ไม่มีคำร้องเพราะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
 การขอตั้งชื่อสกุล
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอตั้งชื่อสกุล
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ขอตั้งชื่อสกุล
3. กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ใช้สูติบัตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์
บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน (มารดา)
4. กรณีบิดาทำการแทนผู้เยาว์ต้องมีใบสมรสมาแสดง
5. หลักฐานอื่น ๆ เช่น ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญการหย่า เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ร่วมชื่อสกุล (ถ้ามี) 

6. แบบคำขอ แบบ ช.1
 
 การขอใช้ชื่อสกุลมารดาหรือบิดา
เอกสารประกอบ
1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง
2. สูติบัตรของบุตร ( ฉบับจริง )
3. ผู้รับรองอย่างน้อย 2 คน และให้ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
4. บันทึกการหย่า ( คร .6) เพื่อแสดงว่าบุตรอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใด ( ถ้ามี )
5. หลักฐานการเปลี่ยนคำนำหน้านาม จาก “ น . ส .” เป็น “ นาง ” ของมารดา กรณีไม่เคยจดทะเบียนสมรส
6. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ( ถ้ามี )
7.
แบบคำขอ แบบ ช.1
 
 การเปลี่ยนชื่อสกุล (กรณีขอตั้งใหม่)
เอกสารประกอบ
1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. ชื่อสกุลที่ตั้งไว้ อย่างน้อย 5 ชื่อ 

4. แบบคำขอ แบบ ช.1
 










วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รวมกฎหมายปกครองเล่ม 1-5





คลิกอ่านที่นี่






รวมกฎหมายปกครองเล่ม 4







ที่มา ::  http://www.dopa.go.th/web/index.php/information/knowlege/233-1-5



การทำบัตรประชาชน

การทำบัตรประชาชน






คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องทำบัตร

 ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร ซึ่งมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่น ให้ใช้บัตรประจำตัวนั้นแทน บัตรประจำตัวประชาชน แต่หากประสงค์จะขอมีบัตร (รวมทั้งผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็ดสิบปี) ก็สามารถทำได้และ ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนดและสามารถดำเนินการได้ทุกสำนักทะเบียนทั่วประเทศ

1. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก              (เสียงบรรยายประกอบ) 
 ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่มีอายุ ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือนับแต่วันที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาต หรือนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ได้สัญชาติไทย หรือนับแต่วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือนับแต่วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น แล้วแต่กรณี หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

1.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
1.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
1.1.2 สูติบัตรหรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน เป็นต้น
1.1.3 หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2.1.2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปให้การรับรองด้วย
1.1.4 กรณีบิดาและมารดาเป็นบุคคลต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวของบิดาและมารดา มาแสดง ถ้าบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม ให้นำใบมรณบัตรไปแสดงด้วย 1.2 การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกดังกล่าวนี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด

2. กรณีบัตรเดิมหมดอายุ              (เสียงบรรยายประกอบ) 
 บัตรมีอายุใช้ได้หกปี
 เมื่อบัตรเดิมหมดอายุต้องมีบัตรใหม่ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่ บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำ บัตรแต่อย่างใด

** การทำบัตรก่อนบัตรเดิมหมดอายุ ** หากผู้ถือบัตรมีความประสงค์จะทำบัตรก่อนวันที่บัตรเดิมจะหมดอายุ สามารถทำได้ภายในหกสิบวัน ก่อนวันที่บัตรเดิมจะหมดอายุ และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด

2.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
2.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
2.1.2 บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ

3. กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย              (เสียงบรรยายประกอบ) 
 เมื่อบัตรหายหรือบัตรถูกทำลายให้แจ้งบัตรหาย หรือบัตรถูกทำลายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักทะเบียน ที่ประสงค์จะทำบัตร โดยไม่ต้องไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และต้องยื่นคำขอมีบัตรใหม่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

3.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
3.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
3.1.2 หลักฐานเอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่และเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี) เช่น ใบอนุญาตขับรถ ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
3.1.3 หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 3.1.2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปให้การรับรอง

3.2 การทำบัตรใหม่กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

4. กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ 
 เมื่อบัตรชำรุดในสาระสำคัญ เช่น ไฟไหม้บางส่วน ถูกน้ำเลอะเลือน ต้องขอเปลี่ยนบัตรโดยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่บัตรชำรุดในสาระสำคัญ หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองร้อยบาท

4.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
4.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
4.1.2 บัตรเดิมที่ชำรุด
4.1.3 หากบัตรชำรุดจนไม่สามารถพิสูจน์ตัวบุคคล หรือรายการในบัตรได้ ให้นำเอกสารซึ่งมีรูปถ่ายที่ทางราชการ ออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี) เช่น ใบอนุญาตขับรถ ใบสุทธิ หรือสำเนาทะเบียนนักเรียน หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
4.1.4 หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 4.1.3 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปให้การรับรอง

4.2 การเปลี่ยนบัตรกรณีบัตรเดิมชำรุด ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

5. กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล              (เสียงบรรยายประกอบ) 
 เมื่อเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรโดยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องระวางโทษไม่เกินสองร้อยบาท

5.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำแสดง 
5.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
5.1.2 บัตรเดิม
5.1.3 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล แล้วแต่กรณี

5.2 การเปลี่ยนบัตรกรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

6. กรณีบุคคลได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรขอมีบัตรประจำตัวประชาชน                  (เสียงบรรยายประกอบ) 
 ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ภิกษุ สามเณร ผู้ที่อยู่ในที่คุมขัง โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ฯลฯ จะขอมีบัตรก็ได้

6.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
6.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
6.1.2 หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

6.2 บุคคลได้รับการยกเว้น ไม่ต้องมีบัตรขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

6.3 กรณีเป็นภิกษุ สมเณร จะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ เข้าทะเบียนบ้านของวัดและแก้ไขคำนำหน้านาม หรือ วงเล็บชื่อต่อท้ายสมณศักดิ์ก่อน

7. กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่ 
 ผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรก็ได้ (ตามความสมัครใจ) หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตร ประจำตัวประชาชนนั้นได้ จนกว่าบัตรจะหมดอายุ

7.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
7.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
7.1.2 บัตรประจำตัวประชาชนเดิม

7.2 การขอเปลี่ยนบัตรกรณีย้ายที่อยู่ ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

8.ระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบอัตโนมัติทุกสำนักทะเบียนทั่วประเทศ จะเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมและค่าปรับ โดยเป็นการพิมพ์ใบเสร็จรับเงินจากคอมพิวเตอร์ได้ทันที่

9. การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร 
 เอกสารหลักฐานรายการเกี่ยวกับบัตรมีอายุเก็บรักษาไม่น้อยกว่า 6 - 18 ปี ผู้ถือบัตรและผู้มีส่วนได้เสีย สามารถขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการบัตรเดิมจากฐานข้อมูลทะเบียนบัตรจากระบบคอมพิวเตอร์ ณ สถานที่ดังนี้
(1) ที่ทำการปกครองจังหวัด ศาลากลางจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ
(2) สำนักทะเบียนที่ออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทุกแห่ง
 การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนบัตร สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตั้งแต่ข้อมูลปี 2531 ถึงปัจจุบันและข้อมูล ทะเบียนบัตรตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา จะมีภาพถ่ายใบหน้าของผู้ขอมีบัตรปรากฎอยู่ด้วย ในกรณีที่ไม่สามารถ ตรวจค้นได้จากระบบคอมพิวเตอร์ สามารถขอตรวจสอบหรือคัดสำเนาหลักฐานการทำบัตรจากระบบไมโครฟิล์ม คำขอมีบัตรและฟิล์มรูปถ่ายได้ที่ หน่วยบริการข้อมูล สำนักบริหารการทะเบียน ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 0-2629-9125 ถึง 41 ต่อ 1101 - 2 ในวันและเวลาราชการ การขอตรวจหลักฐาน หรือคัดสำเนา หรือคัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรต้องเสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนให้โทรศัพท์สอบถาม " ศูนย์บริการตอบปัญหา งานทะเบียนและบัตรทางโทรศัพท์ ที่หมายเลขโทร 1548 " หรือทาง INTERNET ที่ http://www.dopa.go.th. หรือ KHONTHAI.COM ( ปรับปรุงแก้ไข ตามคู่มือปฏิบัติงานบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนบัตรประจำตัวประชาชน พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2543 งานระเบียบกฎหมาย สบป.สน.บท. 19 ธันวาคม 2544 )


- การขอมีบัตรกรณีอื่น ๆ

- การขอมีบัตรของบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัว(เสียงบรรยายประกอบ)

- คนพิการกับการทำบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- พระภิกษุ สามเณรสึกแล้วต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่กรณีย้ายทะเบียนบ้าน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- บัตรประจำตัวประชาชนตลอดชีพ                  (เสียงบรรยายประกอบ)

- ไม่มี วัน เดือน เกิดขอทำบัตรประตัวประชาชน                  (เสียงบรรยายประกอบ)

- บุคคลที่มีแต่ชื่อตัว ไม่มีชื่อสกุลจะทำบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- รายการศาสนา และหมู่โลหิตในบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- การขอคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- ความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุใช้ไม่ได้แล้ว                  (เสียงบรรยายประกอบ)

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://stat.bora.dopa.go.th/callcenter1548/index.php