Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เอาชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านที่ไทย

เอาชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านที่ไทย







ถ้าเกิดในประเทศไทย การขอสูติบัตร (ใบเกิด) ตามกฎหมายไทย ก็สามารถโอนเข้าทะเบียนบ้านได้แล้ว

 


การเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน
 

คนไทยที่ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ประเทศไทยและยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เนื่องจากไม่ได้แจ้งเกิด หรือเป็นคนไทยที่ตกสำรวจในคราวจัดทำทะเบียนบ้านปี พ.ศ. 2499 หรือเป็นคนไทยที่เกิดในต่างประเทศหรืออาศัยอยู่ในต่างประเทศ สามารถแจ้งเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านและขอมีเลขประจำตัวประชาชนได้ โดยดำเนินการดังนี้

1) กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศสามารถมอบอำนาจให้บุคคลในประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่แจ้ง (หากผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ หรือ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จะต้องให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่มีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจแทน)

 



2) กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางของอำเภอหรือเทศบาลใดๆ ให้ยื่นคำร้องที่อำเภอ
หรือเทศบาลนั้น

 

3) กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้ที่เกิดในต่างประเทศ มีหลักฐานการเกิดที่ออกให้โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ

หรือหลักฐานการเกิดที่ออกตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งแปลเป็นภาษาไทยและผ่านการรับรองคำแปลจากสถานเอกอัครราชทูตไทยแล้ว แต่ยังไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ ให้ยื่นคำร้องที่อำเภอหรือเทศบาลที่ญาติพี่น้องซึ่งเป็นผู้ที่รับมอบอำนาจมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
 



4) หลักฐานที่ใช้ในการแจ้ง ได้แก่

 

4.1 สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ

 

4.2 หนังสือมอบอำนาจ (สามารถยื่นเรื่องขอทำหนังสือมอบอำนาจได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)

 

4.3 หลักฐานทางทะเบียนราษฎรของผู้มอบอำนาจ (ผู้ขอเพิ่มชื่อ) เช่น สูติบัตรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ออกให้ หรือหลักฐานการเกิด


4.4 สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขอเพิ่มชื่อ หรือสำเนาบัตรประชาชนของบิดาหรือมารดาของผู้ขอเพิ่มชื่อ (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์) 




2 ความคิดเห็น:

  1. ตามที่คุณแจ้งว่าเมื่อได้ใบเกิดหรือสูติบัตรของบุตรจากสถานทูตไทยในต่างประเทศแล้ว ควรดำเนินการอย่างไร สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ ขอเรียนให้ทราบเป็นข้อๆ ตามที่คุณสอบถามมาดังนี้
    ๑. เมื่อไรควรนำใบเกิดที่ได้ไปเข้าทะเบียนบ้านที่เมืองไทยและหลักฐานที่ต้องนำไปยื่น
    ตอบ เมื่อสถานทูตไทยได้ออกใบสูติบัตรไทยให้คุณแล้ว คุณจะสามารถยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางให้บุตรได้เพื่อพาบุตรเดินทางกลับมาที่ประเทศไทย เมื่อคุณเดินทางมาประเทศไทยให้คุณไปที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่คุณมีภูมิลำเนาอยู่และยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้าน
    ขั้นตอนการนำชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้านทำได้ดังนี้ ให้คุณนำเอกสารตัวจริงที่สถานทูตออกให้ไปติดต่อสำนักงานเขตหรือที่ทำการอำเภอที่คุณมีภูมิลำเนาอยู่ ให้เจ้าบ้านนำทะเบียนบ้านตัวจริงไปแสดงพร้อมให้ความยินยอมให้บุตรของคุณเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน เมื่อบุตรของคุณมีอายุครบ ๗ ปีบริบูรณ์ เด็กต้องไปทำบัตรประชาชนด้วยตนเอง เพราะต้องพิมพ์ลายนิ้วมือและถ่ายภาพ
    ๒. การปล่อยทิ้งไว้ไม่ไปแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านเป็นเวลานานหลายปีจะมีผลอย่างไร
    ตอบ คุณได้แจ้งเกิดบุตรต่อสถานทูตไทยแล้ว บุตรมีหลักฐานการเกิดและได้สัญชาติไทยตามมารดาแล้วก็ตาม แต่การที่คุณไม่ได้เอาชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านไทยอาจทำให้คุณเกิดอุปสรรคหรือความไม่สะดวกต่อการใช้สิทธิในฐานะที่เป็นคนไทย เช่น การทำหนังสือเดินทาง การติดต่อกับหน่วยราชการ หรือการสมัครงาน เป็นต้น
    ๓. จริงหรือไม่ ถ้าเป็นลูกชายแล้วไม่นำชื่อเข้าทะเบียนบ้านเพื่อจะได้ไม่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร
    ตอบ การไม่ปรากฏชื่อบุตรชายในทะเบียนบ้านของมารดานั้น จะทำให้บุตรของท่านไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนและไม่มีทะเบียนบ้าน สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการลงบัญชีทหารกองเกิน ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งบัญญัติให้ชายที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเอง ดังนั้น บรรดาชายซึ่งมีสัญชาติไทยเมื่อมีอายุย่างเข้าสิบแปดปีในพุทธศักราชใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในพุทธศักราชนั้น หากไม่สามารถดำเนินการลงบัญชีทหารกองเกินได้ด้วยตนเอง ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน ถ้าไม่มีผู้มาแจ้งแทนให้ถือว่าผู้นั้นหลีกเลี่ยง ขัดขืน ไม่มาลงบัญชีทหารกองเกินและมีโทษตามกฎหมาย หลังจากลงทะเบียนทหารกองเกินแล้ว เมื่ออายุเข้าปีที่ยี่สิบเอ็ดในพุทธศักราชใด นายอำเภอจะจัดประกาศให้ทหารกองเกินไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียก เพื่อให้เข้ารับราชการทหารเป็นทหารกองประจำการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง บุคคลที่หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนหรือมาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือกหรือไม่อยู่จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จ หรือหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนด้วยประการใดๆ เพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการทหารกองประจำการ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี นอกจากมีโทษดังกล่าวแล้ว การสมัครเข้าทำงานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเอกชนหรือหน่วยงานราชการ ชายไทยต้องแสดงใบสำคัญ สด.๔๓ อันเป็นหลักฐานว่าได้ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว



    จาก
    สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ

    ตอบลบ
  2. แจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย (เกิดต่างประเทศ)บิดา หรือมารดาไทยที่ไม่เคยแสดงความจำนงต่อทางราชการไทยว่า ต้องการสละสัญชาติไทย หรือยังคงมีสัญชาติไทยตามกฏหมายไทย ถึงแม้ว่าจะได้เปลี่ยนไปถือสัญชาติอื่นในต่างประเทศแล้ว

    เด็กที่มีบิดาหรือมารดาถือสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือ นอกประเทศไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด หากอยู่ต่างประเทศสามารถไปขอหลักฐานรับรองการเกิดได้ที่กงสุลไทย หรือ ข้าราชการสถานทูตไทย ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียน มีหน้าที่รับจดทะเบียนคนเกิด (และตาย) สำหรับคนสัญชาติไทยที่มีขึ้นนอกประเทศไทย หลักฐานดังกล่าวให้ใช้เป็น สูติบัตร (หรือมรณบัตร) ได้

    ถ้าในประเทศที่อาศัยอยู่ไม่มีสถานกงสุลไทย หรือ สถานทูตไทยประจำอยู่ ให้ใช้หลักฐานการเกิด (หรือตาย) ที่ออกให้โดยรัฐบาลประเทศนั้น ซึ่งกระทรวงต่างประเทศได้แปล และรับรองว่าถูกต้อง เป็นหลักฐานสูติบัตร (และมรณบัตร) ได้

    เมื่อมีหลักฐานรรับรองการเกิดของเด็ก จากสถานกงสุลไทย หรือ ข้าราชการสถานทูตไทย หรือหลักฐานการเกิดของรัฐบาลต่างประเทศแล้ว สามารถนำไปยื่นต่อนายทะเบียนสำนักทะเบียน ที่บิดาหรือมารดา ที่มีสัญชาติไทยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในประเทศไทย

    ที่มา : กฏหมายน่ารู้สำหรับคนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด

    ตอบลบ