Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เสียง...บอกพัฒนาการลูก

เสียง...บอกพัฒนาการลูก



แม่และเด็ก

เสียง บอกพัฒนาการลูก (รักลูก)


           แม้จะยังฟังไม่ออกว่าลูกพูดอะไร แต่รู้หรือไม่ว่าแต่ละครั้งที่ลูกเปล่งเสียงออกมา มีความหมายและสำคัญต่อพัฒนาการของลูกเป็นอย่างยิ่ง




พัฒนาการเสียงตามวัย



           ภาษาที่ลูกพูดไม่ใช่ภาษาที่มีความหมายเหมือนผู้ใหญ่ที่พูดคุยกัน แต่การพูดของลูกคือการเปล่งเสียงซึ่งสามารถบ่งบอกความรู้สึกภายในของลูกได้ โดยสามารถแบ่งตามช่วงวัยได้ดังนี้

           วัย 0-3 เดือน จะเป็นลักษณะของปฏิกิริยาสะท้อน หรือที่เรียกว่า Reflex sound ซึ่งเป็นการพยายามโต้ตอบเสียงที่ได้ยิน เช่น เสียงร้องไห้ ก็จะเป็นพัฒนาการเริ่มต้นของการออกเสียงและระบบการหายใจต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานของการพูด

           วัย 4-6 เดือน เป็นวัยที่กำลังส่งเสียงอ้อแอ้เลยค่ะ ช่วงวัยนี้เด็กกำลังพึงพอใจที่สามารถเคลื่อนไหวอวัยวะได้ โดยเฉพาะปาก ที่สามารถใช้เลียนเสียงตัวเองซ้ำ ๆ ซึ่งเด็กทุกชาติทุกภาษาจะมีพัฒนาการเป็นแบบเดียวกันนี้ทั้งหมด และส่วนใหญ่ก็จะเป็นเสียงพยัญชนะ สระ หรืออักษร เดี่ยว ๆ เช่น ปา ๆ มา ๆ ยา ๆ เป็นต้น

           วัย 7-9 เดือน เริ่มที่จะเล่นเสียงอ้อแอ้คนเดียวได้แล้ว และมีความพยายามที่จะทำตามเสียงของคนใกล้ชิดด้วย โดยเฉพาะเสียงของแม่ แต่ยังไม่สามารถทำเสียงเลียนแบบได้เต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในวัยนี้ลูกสามารถเรียนรู้และขยับปาก เพื่อพูดสื่อความหมายของคำง่าย ๆ ได้แล้ว เช่น ปา ๆ มา ๆ หม่ำ ๆ

           วัย 10-12 เดือน นอกจากจะพูดได้แล้ว เด็กวัยนี้ยังสามารถตอบสนองต่อคำพูดโดยใช้ท่าทางง่าย ๆ เช่น พยักหน้าหรือส่ายหัว แต่ก็ยังคงมีการเล่นเสียงอยู่บ้าง และก็จะมีคำศัพท์ง่าย ๆ ที่มีความหมาย ซึ่งลูกสามารถพูดได้ ประมาณ 2-3 คำ เช่น พ่อ แม่ ไป มา หม่ำ ๆ เป็นต้น


เสียงลูกสื่ออะไร

           เด็กแรกเกิดถึง 1 ขวบสามารถเปล่งเสียงร้องแสดงความรู้สึกออกมาได้แล้ว ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถรับรู้ได้จากปฏิกิริยาใน 2 ลักษณะต่อไปนี้

           1. การเปล่งเสียงที่มีสาเหตุมาจากภาวะของร่างกาย (Reflexive vocalization) ไม่ว่าจะเป็น หิว ไม่สบายตัว ถูกแมลงกัด ไอ สะอึก ฯลฯ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเสียงร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตว่ามีอะไรที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกบ้างหรือเปล่า ถ้าลูกแผดเสียงร้องก็ให้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะหิว หรือเจ็บป่วย ซึ่งต้องตอบสนองเขาด้วยการอุ้ม ป้อนข้าว ให้นม หรือตรวจสอบดูว่าลูกมีความไม่สบายตัวตรงไหนบ้าง

           2. การเปล่งเสียงที่ไม่มีสาเหตุมาจากภาวะของร่างกาย (Non Reflexive vocalization) คือการส่งเสียงเล่นของลูก ที่ส่วนใหญ่จะเป็นภาวะสงบที่ลูกมักจะอารมณ์ดี ส่งเสียงอืออา หรือเป็นเสียงสระเดี่ยว ๆ เช่น อา อู เบาๆ ซึ่งนั่นเป็นการแสดงออกว่าลูกพร้อมที่จะพูดคุย สามารถได้ยินเสียงของคนรอบข้าง และต้องการที่จะตอบสนองแล้ว เพียงแต่เสียงที่เปล่งออกมานั้นยังไม่มีความหมายหรือชัดเจนพอ

           เพราะฉะนั้นการตอบสนองต่ออารมณ์และพัฒนาการทางการพูดของลูก ด้วยการพูดคุยและเล่น เลียนเสียงซ้ำ ๆ ตามที่ลูกกำลังเปล่งออกมานั้น จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้การตอบสนองกลับของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งลูกก็จะเข้าใจและติดเป็นประสบการณ์ที่จะโต้ตอบทั้งสองทาง ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้เกิดพัฒนาการทางภาษาที่ดีค่ะ


เล่นเสียงกับลูกตอบสนองพัฒนาการ

           ยิ่งคุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่ดูแลและเล่นเลียนเสียงกับลูกบ่อยๆ ก็จะยิ่งทำให้ลูกพัฒนาทักษะการสื่อสารได้ดีเท่านั้น โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ตอนแรกเกิดถึง 3 เดือนและถึงแม้ว่าลูกจะยังไม่สามารถสื่อสารได้ แต่ก็สามารถรับรู้ว่ามีคนคอยตอบสนองต่อเขาอยู่

           เมื่อลูกอายุ 4-6 เดือน สามารถเป่าลมได้แล้ว คราวนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำเสียงเป่าลม รวบปาก หรือทำปากให้ลูกเห็นด้วย และใช้คำง่าย ๆ หรือเล่นน้ำลายกับลูกก็ได้นะคะ แต่ที่สำคัญก็คือ ไม่ควรพูดเร็ว ๆ กับลูกค่ะ

           พอย่างเข้า 7-10 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรสอนคำศัพท์ง่าย ๆ ให้ลูกเล่น ฝึกให้ลูกขยับปากขยับลิ้นเคลื่อนไหวต่าง ๆ เพื่อให้เขามีพัฒนาการที่ดี

           และช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในวัย 10-12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจกับลูกให้มากยิ่งขึ้นค่ะ เพราะลูกสามารถพูดได้แล้ว และความสนใจก็จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องสอนลูกอย่างใกล้ชิด ให้ลูกได้ใช้ประสาทสัมผัสให้ครบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นปากให้พูดตามคุณแม่ ตาให้ดูเวลาที่คุณแม่พูด หูให้ฟังเสียงของคุณแม่ และมือให้ชี้หรือทำท่าทางประกอบ

           แม้ว่าลูกจะยังพูดไม่เป็นภาษา หรือว่าพูดไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูกบ่อย ๆ พูดคุยบ่อย ๆ ก็จะทำให้ลูกอารมณ์ดีและเกิดการตอบสนองที่ดี ส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีด้วยค่ะ






ที่่มา   ::   





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น