Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นเด็ก ODD มีภาวะดื้อและต่อต้าน

วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นเด็ก ODD มีภาวะดื้อและต่อต้าน




โรคเด็กดื้อต่อต้าน





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          การดื้อการซนเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก ๆ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตเห็นว่ากาการดื้อซนของเจ้าตัวเล็กชักจะหนักข้อเกินเด็กทั่วไป บางทีลูกของคุณพ่อคุณแม่อาจเข้าข่ายเด็กที่มี "ภาวะดื้อและต่อต้าน" (Oppositional Defiant Disorder; ODD) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า โรคดื้อ ก็เป็นได้ค่ะ อาการของเด็กที่เป็นโรคดื้ออาจใกล้เคียงกับเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น (attention deficit disorder) หรือมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมอยู่บ้าง (conduct disorder) แต่สำหรับเด็กที่จัดว่าเป็นโรคดื้อ จะเข้าข่ายตามอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 4 ประการหรือมากกว่า      ความอดทนต่ำ 

      
เถียงผู้ใหญ่ หรือคนที่โตกว่า 

      
ไม่ยอมรับผิด โทษผู้อื่นในความผิดที่เกิดขึ้นเพราะตัวเอง 

      
ไม่ยอมทำตามสิ่งที่ผู้ใหญ่บอก 

      
ตั้งใจก่อกวนให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญ และรู้สึกรำคาญการกระทำของคนอื่น ๆ ได้ง่ายเช่นกัน 

      
โมโหง่าย ก้าวร้าว เจ้าคิดเจ้าแค้น มุ่งร้ายผู้อื่น 
         หากลูกของคุณมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันเป็นนิสัยมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ก็สงสัยไว้ก่อนได้เลยว่าเจ้าหนูอาจเป็นโรคดื้อเข้าให้แล้ว โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการดื้อและต่อต้าน เกิดขึ้นได้จากปัจจัยทั้งทางชีวภาพ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านจิตใจ 
         การเลี้ยงลูกที่มีภาวะดื้อและต่อต้านเป็นงานท้าทายอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่จากผลการศึกษาเด็กที่เป็นโรคดื้อหลาย ๆ ชิ้นก็ชี้ตรงกันว่า เด็กสามารถดีขึ้นได้หากได้รับการดูแลเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมจากคนในครอบครัว ตอนนี้จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะหาวิธีเลี้ยงดูที่เหมาะสมต่ออาการดื้อต่อต้านของคุณลูก ซึ่งเราก็มีคำแนะนำในการรับมือดังนี้เลยค่ะ 
1. รับมืออย่างใจเย็น ข่มความโกรธให้ได้
         สิ่งแรกที่คุณต้องเรียนรู้และทำให้ได้ ก็คือการข่มอารมณ์ตัวเอง และรับมือความดื้อแสนดื้อของลูกอย่างใจเย็น เรื่องนี้นับเป็นสิ่งที่ท้าทาย และทำได้ยากในช่วงแรก ๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องพยายามทำให้ได้นะคะ จากนั้นจึงค่อยบอกเขาว่าสิ่งที่เขาทำไม่ดีอย่างไร พ่อแม่ไม่ชอบใจเลยนะคะ บอกว่าลูกควรทำอย่างไรให้ถูกต้อง แล้วจบการโต้เถียงให้สงบที่สุด อย่าพยายามเถียงแย้งกลับ หรือใช้กำลังกับลูกเด็ดขาดเชียว เพราะเด็กอาจซึมซับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนี้ไปใช้ด้วย 
2. สังเกตพฤติกรรมปัญหาของลูก 
         คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องสังเกตพฤติกรรมของลูกเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุมและถูกจุด นอกจากสังเกตพฤติกรรมเขาที่บ้านแล้ว ก็ยังต้องขอความร่วมมือไปยังคุณครูให้ช่วยสอดส่องและดูแลพฤติกรรมลูกมากเป็นพิเศษ เพราะเด็กบางคนมีปัญหามากเมื่ออยู่ที่โรงเรียน บ้างมีปัญหามากเมื่ออยู่กับเพื่อน ๆ คุณจึงต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดลูกในเวลานั้น ช่วยดูแลเป็นหูเป็นตาให้ พร้อมทั้งให้ช่วยระบุปัญหาเด่น ๆ ในพฤติกรรมของลูกให้ด้วย เพื่อให้คุณสามารถวางแผนในการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของลูกได้อย่างครอบคลุม 

3. ตั้งกฎที่ต้องการให้ลูกปฏิบัติตามอย่างชัดเจน
         คุณพ่อคุณแม่ต้องระลึกเอาไว้เสมอว่า เป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องอบรมให้เขาปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เนื่องด้วยเด็กที่มีอาการดื้อและต่อต้านมักพยายามละเมิดกฎเกณฑ์อยู่เสมอ แถมยังไม่ค่อยยอมรับว่าตัวเองผิดด้วย ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งกฎ หรือข้อตกลงที่ลูกต้องเคารพและปฏิบัติตามไว้อย่างชัดเจน อาจเขียนติดแปะไว้ในที่สังเกตง่ายอย่างตู้เย็น หรือปฏิทิน เพื่อใช้ชี้ให้เห็นและใช้อ้างอิงได้ทันทีเมื่อเขาได้ละเมิดข้อตกลงที่สร้างไว้ เพื่อจะได้บอกว่าเขาทำผิด และจะได้ปรับปรุงตัวในบัดนั้น อย่างไรก็ดีสิ่งที่ทำคัญที่สุดของการสร้างกฎก็คือ มันต้องเป็นข้อตกลงที่คุณกับลูกมีร่วมกัน และไม่ควรมีมากข้อเกินไปด้วยค่ะ
4. ไม่ใจอ่อนกับบทลงโทษที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว 
         หากลูกทำผิดจากกฎที่ตกลงกันไว้ ก็ต้องลงโทษลูกด้วยบทลงโทษที่ตกลงไว้แล้วว่าเขาจะต้องเผชิญหากมีพฤติกรรมไม่น่ารัก และต้องลงโทษเช่นนั้นทุกครั้ง ไม่มีอ่อนข้อหรือยอมยกเว้นให้ เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าเด็ก ๆ ที่มีอาการดื้อต่อต้านจะได้ใจ และไม่เชื่อหรือเคารพในกฎที่ได้ตกลงกันไว้อีกต่อไป หากได้ผู้ใหญ่ใจอ่อนยอมลงให้แล้วครั้งหนึ่ง อันจะทำให้การปรับปรุงพฤติกรรมของเขายากขึ้นอีกนั่นเอง 

5. ยังคงให้ความสัมพันธ์ในด้านบวกกับลูก แม้วันที่เขาทำตัวไม่น่ารัก
         เด็ก ๆ ที่เป็นโรคดื้อมีโอกาสถูกทำโทษได้บ่อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ จึงเป็นไปได้ว่าเด็ก ๆ จะฝังใจพ่อแม่ไม่รักเขาเอาง่าย ๆ และนั่นสามารถทำให้พฤติกรรมของเขาดำเนินไปในทิศทางแย่ลง ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาพูดคุย และอยู่ใกล้ชิดกับลูกในทุก ๆ วัน อาจด้วยการทำกิจกรรมที่ลูกชอบร่วมกัน และทำเช่นนั้นเป็นประจำทุก ๆ วัน แม้ในวันที่เขาเพิ่งจะทำตัวไม่น่ารักมา จากการศึกษาพบว่าการทำเช่นนี้ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพฤติกรรมของลูกในระยะยาว 
6. อย่าเก็บสิ่งที่ลูกดื้อกับคุณมาเป็นอารมณ์ 
         แม้พฤติกรรมของเด็กที่เป็นโรคดื้อนั้นจะเป็นความดื้อด้านชนิดที่คุณแทบทนไม่ได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องระลึกให้ขึ้นใจว่า นั่นเป็นเพราะลูกมีภาวะผิดปกติด้านอารมณ์และพฤติกรรม และมีคุณเท่านั้นที่จะช่วยปรับปรุงแก้ไขให้พฤติกรรของเขาดีขึ้นได้ เพราะฉะนั้นแม้จะรู้สึกโกรธที่ลูกทำตัวไม่น่ารักเอาเอาเสียเลย ทำตัวต่อต้านอย่างที่สุด หรือพูดจาเพื่อให้คุณเสียใจ ก็ขออย่าได้เก็บมาเป็นอารมณ์โกรธส่วนตัว จะอย่างไรก็จงให้ความรักความเข้าใจแก่เขา และพยายามช่วยเขาปรับปรุงพฤติกรรม เพื่อให้ลูกเติบโตไปเป็นเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เป็นปัญหาต่อผู้อื่นในอนาคต 
7. มองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ 
         หากการรับมือกับความดื้อต่อต้านของลูกดูจะกลายเป็นสิ่งที่เริ่มจะเกินกำลังของคุณแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ได้ทันที เช่น นักจิตเวชเด็กที่จะสามารถให้คำแนะนำ และวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม หรืออาจเข้าร่วมสมาคมผู้ปกครองที่มีลูกซึ่งมีอาการดื้อต่อด้านเช่นเดียวกันก็ได้ รับรองจะได้รับคำแนะนำดี ๆ จากคุณพ่อคุณแม่หัวอกเดียวกันกับผู้มีประสบการณ์ตรงในการแก้ปัญหามาก่อน หรืออย่างน้อยก็เป็นพื้นที่ให้คุณพ่อคุณแม่ได้ระบายปัญหา และขอกำลังใจจากคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ๆ ก็จะช่วยให้มีพลัง และกำลังใจในการดูแลคุณลูกแสนดื้อให้กลายเป็นเด็กที่ดีขึ้นต่อไปได้ค่ะ 
          เด็ก ๆ ที่มีภาวะดื้อต่อต้าน ไม่ว่าจะมีพฤติกรรมไม่น่ารักอย่างไร แต่เขาก็สมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างอ่อนโยนไม่ต่างจากเด็กคนอื่น ๆ โดยเฉพาะจากผู้ที่เป็นพ่อแม่ซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเขามากที่สุด ยิ่งต้องดูแลและรับมือด้วยความเข้าอกเข้าใจ พร้อมทั้งค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสามารถใช้คำแนะนำทั้ง 7 ข้อด้านบนนี้ เป็นแนวทางในการดูแลแก้ปัญหาของคุณลูกได้เลยนะคะ ยังไงก็ขอให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่ดื้อน้อยลง และเป็นเด็กที่น่ารักขึ้นทุกวันเลยค่ะ









ที่มา  ::      กระปุกดอทคอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น