Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

5 พัฒนาการเด็ด ของหนูน้อยวัย 3 ขวบ

5 พัฒนาการเด็ด ของหนูน้อยวัย 3 ขวบ





          ในวัย 3 ขวบ ลูกน้อยของคุณแม่ ก็ไม่ใช่ทารกตัวจ้อยที่ต้องให้คุณแม่อยู่ด้วยตลอดเวลาแล้วล่ะค่ะ เค้าจะมีพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางร่างกายสติปัญญา การเรียนรู้และทักษะทางสังคมที่มากขึ้น มีความคิดและเป็นด้วยของตัวเองมากขึ้นจนคุณแม่ต้องประหลาดใจเชียวล่ะค่ะ


ร่างกายพร้อม


          
พัฒนาการที่เห็นได้ชัดคือ ด้านร่างกาย เด็กชายวัย 3-4 ปี จะมีส่วนสูง 96-114 เซนติเมตร น้ำหนัก 13.5-20.5 กิโลกรัม ส่วนเด็กผู้หญิงอาจจะตัวเล็กกว่านิดหน่อย คือ มีส่วนสูง 94-114 เซนติเมตร น้ำหนัก 13-20 กิโลกรัม 

          
เด็กวัยนี้จะเคลื่อนไหวร่างกายได้เก่งขึ้น เค้าจะสนุกสนานกับการเล่นที่ต้องใช้การทรงตัว เช่น การวิ่งบนทางแคบ ๆ ทรงตัวบนท่อนไม้หรือกำแพงเล็ก ๆ เตี้ย ๆ และยิ่งเล่นก็จะยิ่งมีพัฒนาการทรงตัวดีขึ้น นอกจากนี้เค้าก็จะสนุกกับการถีบสามล้อ และเก่งขึ้นจนถึงขั้นที่สามารถหัดถีบจักรยานได้ ส่วนเรื่องของการเล่น เด็ก ๆ จะชอบเลียนแบบจากสิ่งที่เห็น เช่น การเล่นทำอาหารเหมือนกับที่เห็นคุณแม่ทำ เล่นเครื่องดนตรี กีฬา ไปจนถึงการเล่นเลียนแบบสิ่งที่เห็นในโทรทัศน์

ทักษะการสื่อสารที่ก้าวหน้า


          
ในวัยทารก เด็ก ๆ จะใช้การแสดงออกทางร่างกาย เพื่อบอกสิ่งที่ตนต้องการ เช่น การร้องให้ การกางแขนเพื่อให้อุ้ม แต่พอถึงวัย 3-4 ขวบ เด็กจะใช้คำพูดเป็นเครื่องสื่อความหมายได้ดีขึ้น ใช้การออกท่าทางน้อยลง หรืออาจใช้คำพูดประกอบท่าทางไปด้วย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการในทางภาษาสำหรับเด็ก

          
ในช่วงนี้เด็กจะเริ่มรู้จักคำมากขึ้น เข้าใจความหมายของคำว่า ข้างบน-ข้างล่าง- ข้างหน้า-ข้างหลัง ฯลฯ ต่อมาเค้าจะรู้จักการเรียงประโยค และมีความแตกฉานทางภาษามากขึ้น โดยที่เด็กจะเลียนแบบการใช้ภาษาจากผู้เลี้ยงดู ทั้งพ่อแม่พี่เลี้ยง หากผู้ใหญ่รอบตัวเค้าใช้ภาษาที่ถูกต้องไพเราะ เด็ก ๆ ก็จะพูดเพราะไปด้วย

          
แม้เด็กวัยนี้จะใช้การพูดสื่อสารได้เก่งขึ้น แต่เด็กวัย 2 ขวบครึ่งถึง 4 ขวบ จำนวนมากอาจจะพูดไม่ค่อยเก่ง คือมีทั้งที่ดูเงียบเกินไป และพูดเหมือนติดอ่าง ซึ่งอาจเป็นเพราะความคิดของเด็กเร็วกว่าความสามารถในการใช้คำศัพท์ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรวิตกกังวลมากจนเกินเหตุ อาการเช่นนี้จะหายไปเมื่อสมองส่วนที่ใช้บังคับการพูดเติบโต และพัฒนาเต็มที่ ระหว่างนี้ไม่ควรเร่งรัดให้ลูกพูด เพราะจะทำให้เด็กไม่กล้าพูดมากขึ้นไปอีก

          
เรื่องสำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยคำพูด สำหรับเด็กวัยนี้ คือ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้เค้ารู้จักบอกชื่อและนามสกุลของตัวเองได้เมื่อถูกถามนะคะ

พร้อมแล้วเรื่องการอ่าน-เขียน


          
เด็กวัย 3-4 ขวบ พร้อมแล้วที่จะอ่านหนังสือ สิ่งที่แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น เค้าจะชอบดูรูปในหนังสือ ดีใจที่ได้หยิบจับพลิกเปิดหนังสือ อยากจะเขียนชื่อตัวเอง วาดภาพ และมีคำพูดแปลก ๆ ใหม่ ๆ มากมาย

          
ความชอบหนังสือนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมากหากคุณพ่อคุณแม่สอนให้เค้าอ่านหนังสือ โดยการอ่านให้เค้าฟังอย่างสม่ำเสมอ เพราะการอ่านหนังสือก่อนนอน นอกจากจะช่วยให้เค้าได้พักผ่อนและเข้านอนอย่างมีความสุขแล้ว ยังเป็นการสร้างนิสัยรักการอ่าน ซึ่งจะหาโอกาสอย่างนี้ได้ยากมากหากพ้นวัยนี้ไปแล้ว

          
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้เลือกหนังสือของตนเอง และตั้งใจฟังเมื่อลูกทำท่าเหมือนอ่านแม้ความจริงแล้วสิ่งที่เค้าทำคือการจดจำข้อความที่คุณพ่อคุณแม่อ่านให้ฟังมาพูด ไม่ได้เป็นการอ่านจริง ๆ ก็ตาม

          
ส่วนในเรื่องของการเขียน เด็กวัยนี้จะชอบขัดเขียน ระบายสี และวาดภาพแบบคร่าว ๆ ได้

พร้อมแยกจากพ่อแม่สู้สังคมใหม่


          
เด็กในวัยนี้โตพอที่จะเข้าโรงเรียนได้แล้ว ซึ่งเด็กจะรู้จักการแยกจากพ่อแม่ มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เค้าโตพอจะเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ได้ รู้จักช่วยเหลืองานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ รู้จักกฎเกณฑ์ในสังคมและสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นั้น ๆ ได้

          
เด็ก ๆ จะยังคงสนุกสนานกับการปั้นดินน้ำมันให้เป็นขนมชิ้นเล็กชิ้นน้อย การต่อแท่งไม้เป็นรูปต่าง ๆ ตามจินตนาการ คำชมจากผู้ใหญ่จะช่วยส่งเสริมให้เด็ก ๆ เก่งขึ้นได้ค่ะ

          
นอกจากนี้เด็ก ๆ จึงมีความผูกพันกับบุคคลอื่น ๆ นอกเหนือจากคนในครอบครัว เช่น คุณครูที่โรงเรียนอนุบาล เพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน ไปจนถึงที่โตกว่าและเล็กกว่า เริ่มรู้จักคำว่า พวกเขา พวกเรา รู้ว่าของสิ่งไหนเป็นของตน หรือของคนอื่น แต่โดยธรรมชาติเด็กเล็กมีลักษณะของการนึกถึงตนเองเป็นใหญ่ ยังมีความอดทน รอคอย และการยับยั้งชั่งใจน้อย และยังมีความเข้าใจต่าง ๆ ไม่เพียงพอ เด็กในวัยนี้บางคนจึงอาจมีอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว เมื่อไม่ได้ดังใจก็อาละวาด ขว้างปาสิ่งของ ลักษณะพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นการแสดงออกของความรู้สึกนึกคิดของเด็ก โดยผ่านทางพฤติกรรมทั้งสิ้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะลดลง เมื่อเด็กเข้าใจกฎเกณฑ์ในสังคมดีขึ้น และสามารถใช้คำพูดเป็นเครื่องแสดงออกของความปรารถนาหรือระบายความรู้สึกของตนเองเก่งขึ้น


เข้าใจสิ่งต่าง ๆ มากกว่าที่ผู้ใหญ่คิด

          
โดยทั่วไปผู้ใหญ่มักคิดว่าเด็กยังไม่เข้าใจอะไรเพียงพอและยังไม่มีความคิดเป็นของตนเองมากนัก ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิดไปจากความจริงอย่างมาก เพราะเด็ก ๆ มีการเรียนรู้และรับรู้อยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เค้าจึงมีความรู้สึกและความคิดตามแบบของเค้าและสามารถรับรู้เข้าใจอะไร ๆ ได้มากกว่าที่ผู้ใหญ่จะคาดคิด

          
เมื่อเด็กมีความไม่สบายใจ วิตกกังวล มีความทุกข์ เศร้า หรือแม้กระทั่งตื่นเต้น ดีใจ เด็กจะแสดงออก ผ่านทาพฤติกรรมเสมอ เพราะเค้ายังไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนั้นโดยการบรรยายเป็นคำพูดได้ทั้งหมด

          

ดังนั้น เมื่อเด็กรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง มีความกลัว ไม่สบายใจ เราจะเห็นว่า เด็กจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ซนมากขึ้น งอแงติดแม่ เรียกร้องต่าง ๆ มากขึ้น ดื้อ แสดงอารมณ์หงุดหงิด ร้องไห้บ่อย หรือเรียกร้องความสนใจด้วยวิธีต่าง ๆ ถ้าคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ที่เลี้ยงดูเอาใจใส่เด็ก หมั่นสังเกตพฤติกรรมของเค้าแล้ว จะสามารถเข้าใจอารมณ์จิตใจและความรู้สึกนึกคิดของเด็กโดยไม่ยาก และจะสามารถช่วยเหลือเด็กได้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น




ที่มา   ::     (M&C แม่และเด็ก)  ;    ปีที่ 37 ฉบับที่ 506 เมษายน 2557


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น