Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สอนลูกให้พูด

สอนลูกให้พูด article



ความสำคัญของการพูด
1.        เป็นสื่อในการแสดงออกถึงความฉลาด ความรู้ ความเป็นตัวของตัวเอง
2.        เป็นวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญ  เพราะการพูดทำให้ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันได้
3.        เป็นรากฐานในการเข้าสังคม  ทำให้เข้าใจผู้อื่นและทำให้ผู้อื่นเข้าใจผู้พูด
4.        เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกับสัตว์อื่นมาก   ในสัตว์บางชนิด เช่น ปลาโลมา ปลาวาฬ ผึ้ง นกบางชนิด ใช้เสียงในการสื่อความหมาย  แต่ในการฝึกลิงชิมแพนซี ลิงกอริล่า ให้ใช้ภาษา  พบว่าในลิงที่ฉลาดที่สุด  สามารถสร้างคำในการสื่อความหมายได้เทียบเท่ากับเด็กอายุ 2 ปี เท่านั้น
5.        ความเข้าใจภาษาจะเกิดก่อนที่เด็กจะพูดได้


ปัญหาการพูดของเด็กไทย
1.        การพูดจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการฝึกสอนแบบตัวต่อตัวในระยะแรกของชีวิต  แต่พ่อแม่ยุคใหม่ละทิ้งเด็กๆไว้หน้าทีวีหรือของเล่นนานเกินไป   จนทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาความสามารถในการพูดไปอย่างน่าเสียดาย
2.        พบได้ 3- 10 ในวัยอนุบาล  ซึ่งได้รับความสนใจในการแก้ปัญหาจากผู้ที่เกี่ยวข้องน้อยมาก  เพราะคิดว่าพอโตเด็กก็จะดีเอง  ยังไม่มีระบบการให้ความช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ในโรงเรียนอนุบาลที่ชัดเจน
3.        ผู้ใหญ่กังวลเด็กที่มีปัญหาการพูดในช่วง 5 ปีแรก  เพราะกลัวว่าจะเป็นปัญญาอ่อน  แต่ความจริงแล้ว เด็กที่มีปัญหาการพูดจะมีความสัมพันธ์กับเด็กที่มีปัญหาการเรียน  การอ่านหนังสือ
4.        เด็กที่มีปัญหาการพูดช้า  เป็นอาการนำที่สำคัญของโรคออทิสติก  ที่ต้องการการวินิจฉัยและช่วยเหลือตั้งแต่แรก


ความสำคัญของเสียงต่างๆ
1.        ยิ่งมีโอกาสอยู่ท่ามกลางคนพูดด้วยและมีเสียงหลายรูปแบบ  จะยิ่งทำให้เด็กสนใจต้นตอของเสียงและสามารถทำให้เลียนแบบเสียงได้เร็วขึ้น (environmental rich)
2.        ยิ่งได้ยินหลายๆเสียง  เท่ากับฝึกให้เด็กแยกแยะเสียง (พัฒนาการฟัง) ถือเป็น listening skill
3.        ยิ่งพ่อแม่ให้ความสนใจกับการออกเสียงของเด้ก  จะยิ่งทำให้เด็กฝึกฝนที่จะใช้เสียงเพิ่มขึ้น
4.        เพิ่มเวลาคุยกับเด็กตัวต่อตัว มองหน้า พูดสั้นๆ ชัดเจน ใช้คำง่ายๆ และแสดงสีหน้าท่าทางเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
5.        เมื่อเด็กส่งเสียง   พ่อแม่ให้เฝ้ามอง ฟังอย่างตั้งใจและพยายามทำความเข้าใจ ( ทั้งเสียง + ท่าทางของเด็ก)   พูดโต้ตอบ  เท่ากับสอนให้เด็กทำตาม
เด็กเองก็จะเฝ้าดูปากของพ่อแม่...ฟัง....พยายามทำความเข้าใจ......เลียนแบบ / ทำตาม......พยายามออกเสียง......เริ่มเล่นเสียง   ยิ่งได้ความสนใจจะยิ่งทำเพิ่มขึ้น


สื่อความหมายด้วยท่าทาง
( Body language / non verbal communication )
1.        เด็กใช้ภาษาท่าทางได้ตั้งแต่เกิดเพื่อแสดงความต้องการ เช่น หิว  ง่วงนอน  ไม่พอใจ
2.        เด็กเรียนรู้เพิ่มขึ้น  เชื่อว่ามาจากการเลียนแบบภาษาท่าทางที่พ่อแม่ใช้  มาปรับใช้ เช่น  ทำท่าจะให้อุ้ม  ใช้นิ้วชี้เอาของ  ใช้เสียงเรียกให้หันมาหา เป็นต้น ราวกับบอกพ่อแม่ว่า ถ้าชั้นทำแบบนี้  ชั้นก็รู้นะว่าเธอต้องเข้าใจ

การสื่อสารด้วยท่าทาง
แรกเกิด
2 ด
4 ด
6 ด
9 ด
12 ด

ร้องไห้เวลาไม่พอใจ หรือไม่สบายตัว  หัวศีรษะออกห่างเต้านมเมื่ออิ่ม
ขยับแขนขา  เวลาดีใจ
ยิ้มตอบและยิ้มทักทาย  ทำท่าดีใจเวลาที่เห็นอาหารหรือเห็นแม่  ทำท่าเอื้อมมือคว้าของเล่น
รู้จักคนแปลกหน้า  ทำท่าไม่มั่นใจ ไม่ชอบที่จะอยู่ใกล้คนแปลกหน้า
มองตามของที่เคลื่อนไหว  ร้องตามแม่  ใช้นิ้วชี้เอาของที่ต้องการ
ดึงเชือกเพื่อลากของเล่นเข้ามาหาตัว  โบกมือ บ๊าย บาย”  สั่นหัวเมื่อไม่ต้องการ  ให้ความร่วมมือเวลาแต่งตัว



การมีสังคมเป็นจุดขึ้นต้นของการสร้างภาษา

        1.drive to communication   นับตั้งแต่เด็กแรกเกิดลืมตาขึ้นดูโลก  ก็มีพ่อแม่คอยอยู่ใกล้ชิด ดูแลให้เป็นไปตามความต้องการของเด็ก  ให้ความสุขสบาย  โดยที่เด็กยังทำได้เพียงสื่อสารโดยการร้องไห้และทำท่าทางไม่สบายเท่านั้น  พ่อแม่ก็ตอบสนองเด็ก ยิ้ม เข้ามาใกล้ๆ คุย ร้องเพลง คอยลูบเนื้อลูบตัว  ให้ความใกล้ชิด  จับด้วยความนุ่มนวล   จนเด็กเรียนรู้ว่าการสื่อสารด้วยท่าทางนั้นได้รับผลสะท้อนที่ทำให้สบายตัวอย่างไร   ถือเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เด็กพยายามเพิ่มการสื่อสารขึ้นโดยเฉพาะการสื่อสารโดยการพูด
        2. ด้วยท่าทางที่ช่วยตัวเองไม่ได้ + social smile ของเด็ก เป็นแรงจูงใจทำให้พ่อแม่เป็นห่วงและอยากเข้ามาใกล้  จึงเป็นเหตุทำให้เด็กสามารถเรียนรู้และเลียนแบบการพูดได้ง่ายขึ้น
        3. ในการเลี้ยงดูของพ่อแม่จะมีการกระตุ้นสัมผัสทั้ง 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัส และจิตใจ อยู่ตลอดเวลา  เท่ากับเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทุกด้านไปพร้อมกัน พ่อแม่จึงเป็นสังคมที่สำคัญในการพัฒนาเด็ก  โดยเฉพาะในด้านการพูด
        4. ยิ่งพ่อแม่เข้ามาใกล้และส่งเสียงบ่อยๆ  ทำให้เด็กเกิดความสนใจพ่อแม่ ยกมือไข่วคว้า พยายามเรียกร้องความสนใจโดยจะหัดออกเสียง (ที่อายุ 1 เดือน)
        5. ยิ่งเด็กเริ่มยิ้ม  ส่งเสียงอ้อ  แอ้  และทักทายผู้คน  ก็ยิ่งทำให้พ่อแม่อยากเขามาคุยเพิ่มขึ้น ยิ่งเป็นการพัฒนาภาษาพูดเพิ่มขึ้น
  

จะคุยกับลูกอย่างไร
1.        พ่อแม่ควรได้รับการบอกเล่าถึงความสำคัญในการพูดคุยกับเด็กในแต่ละช่วงวัย
2.        เวลาที่เหมาะในการคุย คือ ช่วงที่เด็กตื่นและเงียบ ไม่ร้องไห้
3.        เข้าไปใกล้ๆ มองหน้า ทักทาย ยิ้ม จนเรียกความสนใจจากเด็กได้ (greeting)
4.        ใช้น้ำเสียงสูง ขึ้นๆลงๆ น่าตื่นเต้น ติดตาม (exaggerate tone)
5.        ใช้ประโยคสั้นๆ ใช้คำง่ายๆ สื่อสารชัดเจน
6.        มีเวลาหยุดพูดและรอให้เด็กตอบสนอง (pause and wait) เท่ากับเป็นการสร้างระบบการสื่อสาร 2 ทาง คือมีการผลัดกันพูด แบ่งเวลาให้เด็กได้พูด ตั้งใจฟัง มองหน้า ยิ้มและให้กำลังใจเพื่อส่งเสริมการพูดคุยของเด็ก
7.        เพิ่มระยะเวลาในการคุยกับเด็กให้นานขึ้น  ทำซ้ำๆ
8.        สรุป  เท่ากับสอนให้พูดและสอนให้ตั้งใจฟัง  โดยทำเป็นตัวอย่างและเมื่อเด็กทำได้ก็ให้กำลังใจ


เมื่อไรจะเรียกว่าการพูดผิดปกติ

สิ่งต่อไปนี้แสดงถึงความผิดปกติในการรับรู้และการพูด
เรียนรู้คำใหม่ๆยาก  ลืมบ่อย ไม่ค่อยเข้าใจ สับสน
เรียนรูปประโยคสับสน  พูดไม่รู้เรื่อง
พูดคำแรกเมื่ออายุมากกว่า 2 ปี
พูดได้เป็นประโยคเมื่ออายุมากกว่า 3 ปี
พูดสั้นๆหรือพูดไม่จบประโยค  ไม่ค่อยตั้งคำถาม
ออกเสียงคำหรือพยางค์ไม่ครบ
ทำตามคำสั่งไม่ได้  สับสน ยุ่งยาก
ใช้คำสั่งยาวจะไม่เข้าใจ
ตอบคำถามไม่ชัดเจน  หรือไม่เหมาะสม
สับสนเกี่ยวกับเวลา วันนี้ เมื่อวาน พรุ่งนี้
ออกเสียงพยัญชนะสับสน
พูดเข้าใจยาก ไม่ค่อยรู้เรื่อง



ถ้าสงสัยจะให้พ่อแม่ทำอย่างไร 

ถ้าสงสัยว่าลูกจะพูดช้า  ให้เพิ่มเวลาเล่นและคุยกับลูกอย่างน้อย 100 และทำต่อไปนี้
1.        พบกุมารแพทย์เพื่อ         - ตรวจเช็คพัฒนาการด้านอื่นว่าช้าด้วยหรือไม่
- ตรวจการได้ยิน
2.        สำรวจคุณภาพของผู้เลี้ยงดู  เวลาที่ใช้ในการเล่น คุยกับเด็ก
3.        ฝึกพูดโดยนักฝึกพูด  และเพิ่มเวลาฝึกพูดที่บ้าน
4.        กระตุ้นพัฒนาการด้านอื่นไปพร้อมกัน ในกรณีที่พบว่าช้าด้วย
5.        ติดตามประเมินผล


**************



12 วิธี สำหรับพ่อแม่สอนลูก“ฝึกพูด”


เป็นที่ทราบกันดีว่า หากพ่อแม่อยากกระตุ้นพัฒนาการลูก โดยเฉพาะเรื่องภาษานั้น ควรเริ่มต้นตั้งแต่ทราบว่า ตนตั้งครรภ์ตั้งแต่ในช่วงแรก ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องมหัศจจรย์เรื่องหนึ่งเลยทีเดียว ทางยูกัฟโพลเผยว่า ช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของเด็กทุกคนคือ 3 ปีแรก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองที่มีผลที่สุดสำหรับเด็กๆ

      
       ทั้งนี้ จากผลสำรวจพบว่า อายุเฉลี่ยของเด็กที่จะพูดคำแรกถึงคำที่สิบนั้น จะอยู่ในช่วง 11 เดือนแรก ซึ่ง 1 ใน 6 ของพ่อแม่ทั้งหมดเผยว่า ลูกของเขามีปัญหาในเรื่องการพูดและ 4 % เผยว่า ลูกของพวกเขาไม่พูดเลย แม้จะอายุเลยมาถึง 3 ขวบแล้วและมื่อผลสำรวจทราบถึงปัญหาหนึ่งที่พ่อแม่ส่วนใหญ่พบเกี่ยวกับลูกในเรื่องการพูดมากพอสมควร ทางทีมงานจึงหาวิธีแก้ปัญหา
      

       โดย แคร์ เกลดาร์ด กรรมการมูลนิธิเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กแนะว่า ประการแรกที่พ่อแม่ควรตระหนักคืออย่าหวาดกลัวและวิตกกังวลในสิ่งที่พยายามทำให้ลูก และอีกประการหนึ่งคือพัฒนาการของเด็กแต่ละคนนั้นต่างกันอยู่แล้ว ดังนั้นอย่าเปรียบเทียบระหว่างลูกของเรากับเด็กคนอื่น
      


       ทั้งนี้ 12 วิธีง่ายๆที่พ่อแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการการพูดของลูกมีดังต่อไปนี้
      

       1.คุยกับลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง
       

       นับตั้งแต่วินาทีที่คุณทราบว่า คุณกำลังจะเป็นพ่อและแม่นั้น นอกเหนือจากการดูแลเอาใจใส่ร่างกายและจิตใจของแม่แล้ว ทั้งสองคนควรจะใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด โดยการพูดคุยกับลูก แม้เขาจะยังอยู่ในท้องก็ตาม
      
       ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีพ่อแม่ส่วนใหญ่เข้าใจผิดมาโดยตลอดว่า ช่วงที่ลูกยังเป็นทารกนั้นเขาคงไม่สามารถรับรู้ในสิ่งที่เราพูดหรือคุยกับเขาได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพลงที่ฟัง เสียงที่พ่อแม่คุยกับเขานั้น ลูกที่อยู่ในครรภ์สามารถรับรู้และรู้สึกอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้นี่เองที่จะเป็นแรงกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย โดยเราสามารถรับรู้ได้จากการดิ้นของลูกนั่นเอง
      

       2. สนุกกับการสอน
      
       ลูกจะสนุกกับการเรียนรู้และสนใจสิ่งรอบข้าง ถ้าพ่อแม่สอนลูกด้วยความสนุกในการฝึกพูด ซึ่งพ่อแม่ต้องทราบก่อนว่า เด็กเล็กนั้นมักชอบเสียงและจังหวะดนตรี ของเล่นที่มีการเล่นเสียงสูงต่ำจะเป็นที่สนใจของพวกเขามาก รวมไปถึงเสียงของสัตว์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว นก ฯลฯ ดังนั้นพ่อแม่สามารถให้สิ่งเหล่านี้เป็นอุปกรณ์เสริมในการกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้เป็นอย่างดี

12 วิธี  สำหรับพ่อแม่สอนลูก“ฝึกพูด”
ภาพจากเดอะซัน
       3. เรียนรู้ไปด้วยกัน
      
       ในแต่ละวัน พ่อแม่ควรให้ลูกเรียนรู้ภาษาในชีวิตประจำวันไปด้วยกัน โดยการสอนคำง่ายเช่น อาบน้ำ ทานข้าว น้ำ กินนม และชื่อของสิ่งของไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ รองเท้า เป็นต้น
      

       4. ส่งสายตา
      
       ภาษาที่ดีและได้ผลนั้น พ่อแม่ควรใช้ภาษาทางสายตา เวลาพูดกับลูกด้วย เพราะจะช่วยให้ลูกเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการสื่อสารมากขึ้น
      

       5. ย้ำพูดย้ำทำ
      
       การที่พ่อแม่พูดคำใดคำหนึ่งซ้ำบ่อยครั้ง แน่นอนว่า ลูกจะสามารถซึมซับและเรียนคำเหล่านั้นได้แน่นอน แต่น้ำเสียงนั้น อย่าดุดันหรือซีเรียสเพื่อบังคับให้ลูกได้ในทันที มิเช่นนั้น นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว อาจกระทบจิตใจของลูกด้วย
      

       6. ให้โอกาสลูก
      
       หลังจากที่พ่อแม่สอนให้ลูกหัดพูดด้วยเทคนิคต่างๆแล้ว ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พ่อแม่ต้องให้โอกาสลูกและให้เวลาเขาในการเรียนรู้ด้วย ไม่ใช่สอนเขาเดี๋ยวนั้นแล้วลูกต้องทำได้ พูดได้ทันที แต่กลับต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะเด็กต้องการเวลาในการปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ดังนั้นเมื่อพ่อแม่พูดแล้ว ต้องให้เวลาเขาสักพักในการพูดตามหรือตอบกลับ
      

       7. สั้น กระชับ ได้ใจความ
      
       โดยธรรมชาติของเด็กที่มีอายุไม่เกิน 3 ขวบ นั้น ไม่สามารถพูดได้เป็นประโยคเหมือนผู้ใหญ่ พวกเขาพูดได้เพียงเป็นคำๆ ซึ่งบางทีอาจจะฟังไม่ค่อยรู้เรื่องเสียด้วยซ้ำไป
      
       ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ เมื่อเขาพูดอะไรออกมา ลองถามเขาดูแล้ว เมื่อเราเข้าใจภาษาของเขามากขึ้นก็ชวนคุยต่อ วิธีนี้จะยิ่งทำให้ลูกกล้าพูดแล้วพูดเก่งขึ้นแน่นอน
      

       8. สอนโดยการลงมือทำ
      
       ศัพท์บางคำ เด็กอาจจะไม่เข้าใจความหมายหรือสิ่งที่พ่อแม่พยายามจะอธิบาย ดังนั้นการสอนพร้อมกับสิ่งที่เขาสามารถสัมผัสได้ เช่น เรื่องกลิ่น เรื่องความรู้สึกร้อน หนาว เย็น รวมไปถึงกิริยาท่าทางต่างๆ พ่อแม่ก็สามารถทำให้เขาดูได้เพื่อง่ายต่อความเข้าใจมากขึ้น
      

       9. นิทานแสนสนุก
      
       นิทานที่อ่านง่าย และสนุกก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับครอบครัวที่กำลังมีลูกวัยซน แต่นิทานแต่ละเล่มนั้น ก่อนที่จะซื้อ พ่อแม่ควรคำนึงก่อนว่า ลูกอายุเท่าไหร่ วัยของเขาสนใจภาพมากน้อยแค่ไหน เพราะถ้ายังเล็กมาก พ่อแม่ก็ควรซื้อนิทานที่เน้นภาพ เน้นสี ไม่ใช่เนื้อหา ซึ่งนิทานนี้เองที่จะกระตุ้นพัฒนาการของเขาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสร้างนิสัยรักการอ่านให้ลูกอีกด้วย
      

       10. เล่นเกมเชิงบวก
      
       หากลูกอยุ่ในวัย 2 ขวบ ขึ้นไป พ่อแม่อาจหากิจกรรมหรือว่าเกม เล่นกับลูก ซึ่งระยะเวลาที่เล่นด้วยกันพ่อ แม่ ลูกนั้น เขาจะเรียนรู้ภาษาจากพ่อแม่ และเข้าใจภาษานั้นง่ายขึ้นตามลำดับ
      

       11. เลี่ยงทีวีเป็นเพื่อน
      
       ข้อห้ามเด็ดขาดสำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็กทั้งหลายนั้นคือ ห้ามให้ทีวีอยู่เป็นเพื่อนลูก เพราะที่ผ่านมา หลายครอบครัวต้องเจอปัญหาลูกไม่ยอมพูดเพราะดูแต่ทีวี
      
       ในเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า สาเหตุเป็นเพราะการที่เด็กดูโทรทัศน์นั้นเป็นการสื่อสารเพียงช่องทางเดียว เด็กได้แต่ดูและฟัง ไม่ได้พูดตอบโต้ ดังนั้นพ่อแม่ควรให้ลูกออกห่างจากทีวี และอยู่เป็นเพื่อนลูก ชวนเขาคุยจะดีกว่า
      

       12. หยุด..เพื่อสอนลูก
      
       ท้ายสุดนี้ พ่อแม่หลายคนอาจมองข้ามสิ่งสำคัญไปอีกหนึ่งประการนั่นคือ ทุกครั้งที่พาลูกไปเที่ยวเปิดหูเปิดตานอกบ้าน ลูกๆจะตื่นตาตื่นใจกับสิ่งแปลกใหม่รอบตัว แต่พ่อแม่กลับไม่ใช้โอกาสนั้นสอนเขาว่า มันคืออะไร เรียกว่าอะไร
      
       ดังนั้น หากพาลูกไปไหนก็ตาม หยุดเดิน หรือชลอความเร็วรถสักนิด เพื่อบอกเขาว่า สิ่งที่เขาสงสัยนั้นคืออะไร เรียกว่าอะไร แต่ที่สุดแล้ว ก่อนที่จะหยุดเดิน หรือหยุดรถก็ควรมองซ้าย มองขวาให้ดีเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย
      

เรียบเรียงจาก เดอะซัน

ขอบคุณที่มา   พญ.วินัดดา  ปิยะศิลป์
                                 สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
                เดอะซัน

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว




โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว
        เป็นโรคที่มีอาการผิดปกติที่สำคัญทางอารมณ์ 2 แบบ คือ ภาวะแมเนีย และภาวะ ซึมเศร้า จึงเคยถูกเรียกว่า Manic- depressive disorder
ความเจ็บป่วยทางอารมณ์ทั้ง 2 แบบนั้นรุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ปกติ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนรบกวน การทำงานของจิตใจและความสามารถด้านต่าง ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของสมอง ภาวะโรคจะครอบงำบุคคลนั้น จนทำให้สูญเสียความเป็นคนเดิมไป

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์จะมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นบ่อยกว่าภาวะแมเนียเกือบ 3 เท่า อาการที่พบบ่อย ในภาวะอารมณ์ 2 แบบ
 ภาวะซึมเศร้าหรืออารมณ์ตก      ภาวะแมเนียหรืออารมณ์คลุ้มคลั่ง
   ขาดความร่างเริงไม่สนุกสนานเหมือนเก่า   มีพลังมากขึ้นกว่าปกติ
   เบื่อหน่ายอยู่ตลอดเวลา   มีการแสดงออกและการคิดอ่านมากกว่าปกติ
   อารมณ์เศร้า หรือร้องไห้ง่ายโดยไม่มีเหตุชัดเจน   มีความเข้มของอารมณ์มากขึ้น ทั้งอารมณ์แบบ สนุกสนาน
     ร่าเริง และก้าวร้าว โดยเฉพาะเมื่อถูกขัดใจ
   ความอยากอาหารและการนอนลดลง หมดเรี่ยวแรง
     ในการทำงาน อ่อนเพลียตลอดเวลา
    ความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น เชื่อว่าตนเองเก่งสามารถ
      ควบคุมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ และชอบวิจารณ์ผู้อื่น
      มากขึ้น เอาแต่ใจ
   หงุดหงิด โกรธง่ายกว่าปกติ   มีอาการหลงผิดถึงความยิ่งใหญ่ หรือความเก่งของตนเอง
   มองโลกในแง่ร้ายไปหมด   ความต้องการในการนอนลดลง แต่ไม่อ่อนเพลีย
   ขาดสมาธิ ความจำลดลง   ความคิดว่องไวเหมือนรถด่วน แสดงออกด้วยการพูดเร็ว
     และมีเนื้อหามาก เสียงดัง
   หมกหมุ่น คิดวนเวียนเรื่องเดิม ไม่สามารถตัดสินใจได้   ขาดความจดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
   ไม่อยากสังสรรค์ หรือออกสังคม   ขยันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างขาดความยั้งคิดหรือ
      มีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้นหรือแสดงออกแบบเกินตัว
   มีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ   มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น
   มองตนเองว่าไร้ค่า หรือเป็นภาระ ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม 
   มีความคิดทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ 


ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์และโรคอารมณ์เศร้า

        ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งใน โรคไบโพล่าร์ และโรคอารมณ์เศร้า (Major depressive disorder หรือ Unipolar depression) แต่ในโรคไบโพล่าร์จะรุนแรงกว่า มีการสูญเสียความสามารถในการทำงาน สังคม และครอบครัว



ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ (Bipolar depression)
มักมีลักษณะอาการต่อไปนี้เด่น ทำให้แตกต่างจากที่เกิดในโรคอารมณ์เศร้า คือ

    1. มักเกิดอาการครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน และมีประวัติเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง
    2. มีการเคลื่อนไหว และความคิดอ่านช้าลง
    3. นอนมาก และรับประทานอาหารมากขึ้น
    4. ขาดกำลังใจ มองว่าตนเองไร้ค่าหรือไม่มีประโยชน์
    5. มักมองโลกที่เคยสดใสกลายเป็นมืดมน ขาดความเพลิดเพลิน และไม่ร่าเริง
    6. มีอาการวิตกกังวลรุนแรงร่วมด้วย
    7. มีอาการหลงผิดเกิดขึ้นร่วมกับอาการทางอารมณ์
    8. มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มองว่าบุคคลอื่นไม่สนใจหรือไม่เป็นมิตร
    9. มีประวัติการติดสารเสพติด หรือพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
    10. มีประวัติโรคไบโพล่าร์หรือโรคอารมณ์เศร้าในครอบครัว


         มีความจำเป็นอย่างมากในการแยกภาวะซึมเศร้าในโรคทั้งสองโรคออกจากกัน เพราะการดำเนินโรค ตลอดจนแนวทางการรักษาและป้องกันก็ต่างกันการรักษาภาวะ ซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์

        การรักษาควรประกอบด้วยการใช้ยา การดูแลด้านจิตใจ การปรับพฤติกรรมตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และการรักษากับผู้ป่วยและญาติ

        ยังไม่มียารักษาอาการเศร้าตัวใดได้รับการรับรองในการรักษาภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์

        ถ้าจำเป็นต้องใช้ยารักษาอาการเศร้า ควรลดขนาดยาลงเมื่อผู้ป่วยหายจากอาการแล้วและหยุดในที่สุด ควรระมัดระวังการเหวี่ยงกลับไปเป็นแมเนีย อย่างรวดเร็ว หรือเกิด

rapid cycling

        ถ้าผู้ป่วยได้รับยาคงสภาพอารมณ์ที่มีฤทธิ์ต้านซึมเศร้าอันได้แก่ Lithium และ Lamotrigine อยู่ก่อนแล้ว ควรปรับขนาดขึ้นให้เพียงพอ





แบบคัดกรอง (screen) โรคอารมณ์สองขั้ว

แบบสอบถามสภาพอารมณ์
กรุณาเลือกตอบข้อความแต่ละข้อ
ใช่ไม่ใช่
1. เคยมีช่วงเวลาไหนไหม  ที่ท่านรู้สึกว่าตัวเองไม่เหมือนเดิม และ…
1.1   …ท่านรู้สึกดีสุด ๆ และคึกคักจนคนอื่นคิดว่าท่านเปลี่ยนไป หรือท่านคึกคักเสียจนทำให้ตัวเองเดือดร้อน
1.2   …ท่านหงุดหงิดมากจนตะคอกใส่คนอื่น หรือมีเรื่องทะเลาะวิวาท หรือลงไม้ลงมือกัน
1.3   …ท่านรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากกว่าปกติมาก
1.4   …ท่านนอนน้อยกว่าปกติมาก และก็ไม่รู้สึกว่าอยากจะนอนสักเท่าไร
1.5   …ท่านช่างพูดช่างคุยกว่าเดิม หรือพูดเร็วกว่าปกติมาก
1.6   …ท่านมีความคิดแล่นเร็วมาก และไม่สามารถทำให้ตัวเองคิดช้าลงได้
1.7   …ท่านวอกแวกกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวง่ายมากจนไม่มีสมาธิ หรือไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้
1.8   …ท่านมีพลังมากกว่าปกติมาก
1.9   …ท่านกระตือรือร้นหรือทำอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะกว่าเดิมมาก
1.10     …ท่านเข้าสังคมหรือพบปะผู้คนมากกว่าปกติมาก เช่น โทรหาเพื่อนกลางดึก
1.11     …ท่านสนใจเรื่องเพศเยอะกว่าปกติ
1.12     …ท่านทำอะไรที่ปกติท่านจะไม่ทำ หรือทำสิ่งที่คนอื่นอาจจะคิดว่ามากเกินไป ไม่ฉลาด หรือเสี่ยงเกินไป
1.13     …ท่านใช้จ่ายเงินจนทำให้ตัวเอง หรือครอบครัวต้องเดือดร้อน
2. ถ้าท่านตอบข้อความข้างต้นว่า  “ใช่” มากกว่า 1 ข้อ ลักษณะเหล่านี้เคยเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในช่วงเวลาเดียวกันบ้างหรือไม่
3. ลักษณะดังกล่าวสร้างปัญหาเช่นต่อไปนี้ให้ท่าน มากน้อยแค่ไหน –  ทำงานไม่ได้,   มีปัญหาครอบครัว การเงิน หรือคดีความ,  มีการทะเลาะวิวาท หรือชกต่อยตบตีกัน
กรุณาเลือกเพียงคำตอบเดียว
 † ไม่มีปัญหา    † มีปัญหาเล็กน้อย     †  มีปัญหาปานกลาง  †  มีปัญหามาก
4. ญาติสายตรงของท่าน (ได้แก่ ลูก พี่น้อง พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา) มีใครป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวนหรือโรคอารมณ์สองขั้วหรือไม่
5. เคยมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์บอกท่านหรือไม่ว่าท่านป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวนหรือโรคอารมณ์สองขั้ว
เป็นแบบคัดกรอง (screen) เบื้องต้นว่า ท่านอาจจะมีภาวะเมเนีย (mania) ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งของโรคอารมณ์สองขั้วหรือไม่
การแปลผล
จะถือว่าผลการทดสอบเบื้องต้นเป็น บวก เมื่อท่าน
1. ตอบคำถามข้อ 1 ว่า ใช่ ตั้งแต่ 7 ข้อขึ้นไป
2. และ ตอบคำถามข้อ 2 ว่า ใช่
3. และ ตอบคำถามข้อ 3 ว่า มีปัญหาปานกลาง หรือมีปัญหามาก


Major Depressive Episode
A. มีอาการดังต่อไปนี้ห้าอาการ (หรือมากกว่า) ร่วมกันอยู่นาน 2 สัปดาห์ และแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไปจากแต่ก่อน: โดยมีอาการอย่างน้อยหนึ่งข้อของ (1) อารมณ์ซึมเศร้า (2) เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
  1. มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน โดยได้จากการบอกเล่าของผู้ป่วย (เช่น รู้สึกเศร้า หรือว่างเปล่า) หรือจากการสังเกตของผู้อื่น (เช่น เห็นว่าร้องให้) หมายเหตุ: ในเด็กและวัยรุ่นเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้
  2. ความสนใจหรือความสุขใจในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดหรือแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก เป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน (โดยได้จากการบอกเล่าของผู้ป่วย หรือจากการสังเกตของผู้อื่น)
  3. น้ำหนักลดลงโดยมิได้เป็นจากการคุมอาหาร หรือเพิ่มขึ้นอย่างมีความสำคัญ (ได้แก่น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารแทบทุกวัน หมายเหตุ: ในเด็ก ดูว่าน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นตามที่ควรจะเป็น
  4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากไปแทบทุกวัน
  5. กระสับกระส่าย (psychomotor agitation) หรือ เชื่องข้า (retardation) แทบทุกวัน (จากการสังเกตของผู้อื่น มิใช่เพียงจากความรู้สึกของผู้ป่วยว่ากระวนกระวายหรือช้าลง)
  6. อ่อนเพลีย หรือไร้เรี่ยวแรงแทบทุกวัน
  7. รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่เหมาะสมหรือมากเกินควร (อาจถึงขั้นหลงผิด) แทบทุกวัน (มิใช่เพียงแค่การโทษตนเองหรือรู้สึกผิดที่ป่วย)
  8. สมาธิหรือความสามารถในการคิดอ่านลดลง หรือตัดสินใจอะไรไม่ได้ แทบทุกวัน (โดยได้ไม่จากการบอกเล่าของผู้ป่วย ก็จากการสังเกตของผู้อื่น)
  9. คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อย ๆ (มิใช่แค่กลัวว่าจะตาย) คิดอยากตายอยู่เรื่อย ๆ โดยมิได้วางแผนแน่นอน หรือพยายามฆ่าตัวตายหรือมีแผนในการฆ่าตัวตายไว้แน่นอน
B. อาการเหล่านี้ก่อให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆ ที่สำคัญ บกพร่องลง
C. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา) หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย (เช่น ไทรอยด์ต่ำhypothyroidism)


การวินิจฉัยระยะเมเนีย Manic Episode
A. มีช่วงที่มีอารมณ์คึกคัก แสดงความรู้สึกโดยไม่รั้ง หรืออารมณ์หงุดหงิดที่ผิดปกติและคงอยู่ตลอดอย่างชัดเจนนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ (หรือนานเท่าใดก็ได้หากต้องอยู่ในโรงพยาบาล)
B. ในช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์นี้ พบมีอาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอด อย่างน้อย 3 อาการ (หรือ 4 อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิด) และอาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีความสำคัญ
  1. มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมาก หรือมีความคิดว่าตนยิ่งใหญ่ มีความสามารถ
  2. ความต้องการนอนลดลง (เช่น ได้นอนแค่ 3 ชั่วโมงก็รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว)
  3. พูดคุยมากกว่าปกติ หรือต้องการพูดอย่างไม่หยุด
  4. ความคิดแล่น คิดมากหลายเรื่องพร้อมๆ กัน หรือผู้ป่วยรู้สึกว่าความคิดแล่นเร็ว
  5. วอกแวก (ได้แก่ ถูกดึงความสนใจได้ง่าย แม้สิ่งเร้าภายนอกจะไม่สำคัญหรือไม่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่สนใจอยู่ในขณะนั้น)
  6. มีกิจกรรมซึ่งมีจุดหมาย เพิ่มขึ้นมาก (ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การงานหรือการเรียน หรือด้านเพศ) หรือ กระสับกระส่ายมาก
  7. หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลินแต่มีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากติดตามมา (เช่น ใช้จ่ายอย่างไม่ยับยั้ง ไม่ยับยั้งใจเรื่องเพศ หรือลงทุนทำธุรกิจอย่างโง่เขลา)
D. ความผิดปกติด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นรุนแรงจนทำให้มีความบกพร่องอย่างมากในด้านการงาน หรือกิจกรรมทางสังคมตามปกติ หรือสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือทำให้ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีอาการโรคจิต
E. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา หรือการรักษาอื่น) หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย (เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ)
หมายเหตุ: ระยะอาการคล้าย mania ที่เห็นชัดว่าเป็นจากการรักษาทางกายภาพของภาวะซึมเศร้า (เช่น การใช้ยา การรักษาด้วยไฟฟ้า การรักษาด้วยแสงสว่าง) ไม่ควรรวมอยู่ในการวินิจฉัยของ Bipolar I Disorder

การวินิจฉัยระยะไฮโปเมเนีย Hypomanic Episode
A. มีช่วงที่มีอารมณ์คึกคัก แสดงความรู้สึกโดยไม่รั้ง หรืออารมณ์หงุดหงิดที่ผิดปกติและคงอยู่ตลอดอย่างชัดเจนนานอย่างน้อย 4 วัน โดยเห็นชัดว่าต่างจากช่วงอารมณ์ปกติที่ไม่ซึมเศร้า
B. ในช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์นี้ พบมีอาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอด อย่างน้อย 3 อาการ (หรือสี่อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิด) และอาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีความสำคัญ
  1. มีความเชื่อมั่นตัวเองเพิ่มขึ้นมาก หรือมีความคิดว่าตนยิ่งใหญ่ มีความสามารถ (grandiosity)
  2. ความต้องการนอนลดลง (เช่น ได้นอนแค่ 3 ชั่วโมงก็รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว)
  3. พูดคุยมากกว่าปกติ หรือต้องการพูดอย่างไม่หยุด
  4. ความคิดแล่น คิดมากหลายเรื่องพร้อมๆ กัน หรือผู้ป่วยรู้สึกว่าความคิดแล่นเร็ว
  5. วอกแวก (distractibility) (ได้แก่ ถูกดึงความสนใจได้ง่าย แม้สิ่งเร้าภายนอกจะไม่สำคัญหรือไม่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่สนใจอยู่ในขณะนั้น)
  6. มีกิจกรรมซึ่งมีจุดหมาย เพิ่มขึ้นมาก (ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การงานหรือการเรียน หรือด้านเพศ) หรือ กระสับกระส่าย
  7. หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลิน แต่มีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากติดตามมา (เช่น ใช้จ่ายไม่ยั้ง ไม่ยับยั้งใจเรื่องเพศ หรือลงทุนทำธุรกิจอย่างโง่เขลา)
C. ระยะที่มีอาการมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ลักษณะประจำของบุคคลนั้นขณะไม่มีอาการอย่างเห็นได้ชัด
D. ผู้อื่นสังเกตเห็นความผิดปกติด้านอารมณ์และการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ นี้
E. ระยะที่มีอาการไม่รุนแรงถึงกับทำให้กิจกรรมด้านสังคม หรือการงานบกพร่องลงมาก หรือทำให้ต้องอยู่โรงพยาบาล และไม่มีอาการโรคจิต
F. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา หรือการรักษาอื่น) หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย (เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ)
หมายเหตุ: ระยะอาการคล้าย hypomania ที่เห็นชัดว่าเป็นจากการรักษาทางกายภาพของภาวะซึมเศร้า (เช่น การใช้ยา การรักษาด้วยไฟฟ้า การรักษาด้วยแสงสว่าง) ไม่ควรรวมอยู่ในการวินิจฉัยของ Bipolar II Disorder-


การวินิจฉัย
ไม่มีการตรวจพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ ข้อมูลหลักในการวินิจฉัยคือ การซักประวัติอาการ ความเป็นไปของโรค ความเจ็บป่วยทางจิตในญาติ การใช้ยาและสารต่างๆ หรือโรคประจำตัว เพราะยาบางขนานหรือโรคทางร่างกายบางโรคอาจมีอาการทางจิตเหมือนกับโรคอารมณ์สองขั้วได้ แพทย์จะนำข้อมูลได้จากผู้ที่เป็นและญาติ ร่วมไปกับการตรวจร่างกายและตรวจสภาพจิตมาประมวลกันเพื่อการวินิจฉัย
โรคทางกาย และยาที่อาจทำให้เกิดอาการ mania ได้แก่
  • โรคทางระบบประสาท ได้แก่ โรคลมชัก, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคไมเกรน, เนื้องอกสมอง
  • อาการบาดเจ็บที่ศรีษะ
  • โรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน
  • โรคติดเชื่อ เช่น โรคเอดส์, การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง
  • โรคเกี่ยวกับระบบผู้คุ้มกัน เช่น SLE
  • ยาต่าง ๆ เช่น ยาแก้ซึมเศร้า, corticosteroid, methylphenidate, levodopa, amphetamine, cocaine เป็นต้น
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเอง หรือสงสัยว่าคนใกล้ตัวอาจจะเป็น bipolar disorder อาจจะต้องไปพบกับแพทย์ เพื่อให้ช่วยประเมินโดยละเอียด และวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย


ความเป็นไปของโรค
ความเป็นไปของโรค
อาการระยะเมเนียมักเกิดขึ้นเร็ว และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนภายใน 2-3 สัปดาห์อาการจะเต็มที่อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าวจนญาติจะรับไม่ไหวต้องพามาโรงพยาบาล อาการในครั้งแรกๆ จะเกิดหลังมีเรื่องกดดัน แต่หากเป็นหลายๆ ครั้งก็มักเป็นขึ้นมาเองโดยที่ไม่มีปัญหาอะไรมากระตุ้นเลย
ข้อสังเกตประการหนึ่งคือคนที่อยู่ในระยะเมเนียจะไม่คิดว่าตัวเองผิดปกติ มองว่าช่วงนี้ตัวเองอารมณ์ดีหรือใครๆ ก็ขยันกันได้ ในขณะที่หากเป็นระยะซึมเศร้าคนที่เป็นจะพอบอกได้ว่าตนเองเปลี่ยนไปจากเดิม
ในระยะซึมเศร้าหากคนใกล้ชิดสนใจมักสังเกตไม่ยากเพราะเขาจะซึมลงดูอมทุกข์ แต่อาการแบบเมเนียจะบอกยากโดยเฉพาะในระยะแรกๆ ที่อาการยังไม่มาก เพราะดูเหมือนเขาจะเป็นแค่คนขยันอารมณ์ดีเท่านั้นเอง แต่ถ้าสังเกตจริงๆ ก็จะเห็นว่าลักษณะแบบนี้ไม่ใช่ตัวตนของเขา เขาจะดู เวอร์ กว่าปกติไปมาก


สาเหตุของการเกิดโรคไบโพลาร์
ปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของความผิดปกติทางอารมณ์นั้นมีได้หลายสาเหตุ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น
1. ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของสารสื่อประสาท ในสมอง ความผิดปกติของระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย , การนอนหลับที่ผิดปกติ, ความผิดปกติของการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์
2. ปัจจัยทางจิตสังคม เช่น การไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความเครียด หรือปัญหาต่าง ๆ ภายในชีวิตได้ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ขึ้นมาได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางสังคมไม่ใช่สาเหตุของโรค แต่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้โรคแสดงอาการได้
3. ปัจจัยทางพันธุศาสตร์ ขณะนี้ เรายังไม่ทราบรูปแบบของการถ่ายทอดผ่านยีนที่ชัดเจนของโรคไบโพลาร์ แต่จากการศึกษาพบ ว่าสามารถพบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็น bipolar มากกว่าในประชากรทั่วไป
รูปจาก NARSAD research newsletter article.
จาก ตาราง บรรทัดแรกแฝดไข่ใบเดียวกัน ต่อมาแฝดไข่คนละใบ ลูกที่มีพ่อแม่ป่วย 1 คน ลูกที่มีพ่แม่ป่วยทั้งคู่ พี่น้อง ญาติลำดับที่ 2 และคนทั่วไป
คน ที่ป่วยลูกมีโอกาสเป็น 15-30% ความเสี่ยงทางกรรมพันธ์เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกของคนที่ป่วยจะต้องเป็นเสมอไป คนที่พ่อกับแม่เป็นลูกก็ไม่ได้เป็น 100% และจะเห็นว่าแม้แต่ในแฝดไข่ใบเดียวกันคือมีอะไรเหมือนกันหมดทุกอย่าง คนหนึ่งเป็นอีกคนก็ไม่ได้เป็น 100% เพราะการแสดงออกของอาการยังขึ้นกับปัจจัยอีกหลายๆ อย่างเช่นสภาพแวดล้อมความกดดันต่างๆ
โรคนี้จึงไม่ใช่โรคทางกรรม พันธ์เหมือนอย่างกับโรคฮีโมฟิเลียหรือโรคทางกรรมพันธ์อื่นๆ แต่จะคล้ายกับโรคเบาหวานมากกว่า คือพ่อกับแม่เป็นลูกก็เสี่ยงแต่ไม่แน่ว่าจะเป็น บางคนพ่อแม่ไม่เป็นแต่ตัวเองเป็นก็มี


ระยะซึมเศร้า
ช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (depressive episode) มีอาการดังต่อไปนี้ เกือบตลอดเวลา และเป็นติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  1. มีอารมณ์ซึมเศร้า (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้) ผู้ป่วยจะรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้
  2. ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก อะไรที่เคยชอบทำก็จะไม่อยากทำ แรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ก็จะลดลง
  3. น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหาร หรือเจริญอาหารมาก
  4. นอนไม่หลับ อาจมีอาการนอนหลับยาก หรือนอนแล้วตื่นเร็วกว่าปกติ อาจนอนหลับ ๆ ตื่น ทำให้รู้สึกไม่สดชื่น หรือผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการนอนหลับมากไป ต้องการนอนทั้งวัน กลางวันหลับมากขึ้น
  5. กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
  6. อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรงไม่อยากทำอะไร
  7. รู้สึกตนเองไร้ค่า บางรายอาจรู้สึกสิ้นหวัง มองสิ่งรอบ ๆ ตัวในแง่มุมที่เป็นลบไปหมด รวมถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงด้วย
  8. สมาธิ และความจำแย่ลง
  9. คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
ในระยะซึมเศร้า ผู้ที่เป็นจะรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จากเดิมชอบอ่านหนังสือพิมพ์ ติดละคร หรือดูข่าว ก็ไม่สนใจติดตาม อะไรๆ ก็ไม่เพลินใจไปหมด คุณยายบางคนหลานๆ มาเยี่ยมจากต่างจังหวัดแทนที่จะดีใจกลับรู้สึกเฉยๆ
บางคนจะมีอาการซึมเศร้า อารมณ์อ่อนไหวง่าย ร้องไห้เป็นว่าเล่น บางคนจะหงุดหงิด ขวางหูขวางตาไปหมด ทนเสียงดังไม่ได้ ไม่อยากให้ใครมาวุ่นวาย อาการเบื่อเป็นมากจนแม้แต่อาหารการกินก็ไม่สนใจ บางคนน้ำหนักลดฮวบฮาบสัปดาห์ละ 2-3 กก.ก็มี
เขาจะนั่งอยู่เฉยๆ ได้เป็นชั่วโมงๆ ความจำก็แย่ลง มักหลงๆ ลืมๆ เพราะใจลอย ตัดสินใจอะไรก็ไม่ได้ เพราะไม่มั่นใจไปเสียหมด เขาจะมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบไปหมด คิดว่าตัวเองเป็นภาระของคนอื่น ไม่มีใครสนใจตนเอง ถ้าตายไปคงจะดีจะพ้นทุกข์เสียที
หากญาติหรือคนใกล้ชิดเห็นเขามีท่าทีบ่นไม่รู้จะอยู่ไปทำไม หรือพูดทำนองฝากฝัง สั่งเสีย อย่ามองข้ามหรือต่อว่าเขาว่าอย่าคิดมาก แต่ให้สนใจพยายามพูดคุยกับเขา รับฟังสิ่งที่เขาเล่าให้มากๆ ถ้ารู้สึกไม่เข้าใจหรือมองแล้วไม่ค่อยดี ขอแนะนำให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว


ระยะอาการเมเนีย
ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ จะมีช่วงที่อารมณ์ผิดปกติ โดยมีช่วงซึมเศร้า(depressive episode) สลับกับช่วงที่อารณ์ดี หรือคึกคักมากกว่าปกติ (mania หรือ hypomania) ซึ่งขออธิบายแยกเป็นช่วง ๆ คือ
ช่วงอารมณ์ดีมากกว่าปกติ หรือเมเนีย (mania) ผู้ป่วยจะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
  1. อารมณ์เปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ร่าเริงมีความสุข เบิกบานใจ หรือหงุดหงิดง่ายก็ได้ ซึ่งญาติใกล้ชิดของผู้ป่วยมักจะสังเกตได้ว่าอารมณ์ของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนผิดปกติ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้น จะต้องเป็นติดต่อกันทุกวันอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  2. มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีความเชื่อมั่นว่าตนเองมีความสามารถมาก เกินไป เชื่อว่าตนเองสำคัญ และยิ่งใหญ่ หรืออาจมีเนื้อหาของความคิดผิดปกติมาก ถึงขั้นว่าตนเองสำคัญ หรือยิ่งใหญ่ เช่น เชื่อว่าตนเองมีอำนาจมาก หรือมีพลังอำนาจพิเศษ เป็นต้น
  3. การนอนผิดปกติไป ผู้ป่วยจะมีความต้องการในการนอนลดลง ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่านอนแค่ 3 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว เป็นต้น
  4. ความคิดแล่นเร็ว (flight of idea) ผู้ป่วยจะคิดค่อนข้างเร็ว บางครั้งคิดหลาย ๆ เรื่องพร้อม ๆ กัน คิดเรื่องหนึ่งไม่ทันจบก็จะคิดเรื่องอื่นทันที บางครั้งอาจแสดงออกมาในรูปของการมีโครงการต่าง ๆ มากมาย
  5. พูดเร็วขึ้น เนื่องจากความคิดของผู้ป่วยแล่นเร็ว จึงส่งผลต่อคำพูด ที่แสดงออกมาให้เห็น ผู้ป่วยมักจะพูดเร็ว และขัดจังหวะได้ยาก ยิ่งถ้าอาการรุนแรงคำพูดจะดัง และเร็วขึ้นอย่างมากจนบางครั้งยากต่อการเข้าใจ
  6. วอกแวกง่าย ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีสมาธิอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน และความสนใจมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้าภายนอกที่เข้ามากระตุ้นได้ง่าย
  7. การเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น ในผู้ป่วยบางรายจะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดเวลา ทั้งที่ทำงาน ที่โรงเรียน หรือที่บ้าน มีการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นชัดเจน ไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้
  8. ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ ผู้ป่วยเมเนียมักจะแสดงพฤติกรรมที่เกิดจากการยับยั้งชั่งใจไม่ได้ เช่น ดื่มสุรามาก ๆ โทรศัพท์ทางไกลมาก ๆ เล่นการพนัน หรือเสี่ยงโชคอย่างมาก ใช้เงินมากขึ้น ได้
** สำหรับอาการไฮโปเมเนียนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการข้างต้นเช่นเดียวกับเมเนีย แต่จะแตกต่างกับเมเนียคือ อาการไฮโปเมเนียจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ หรือการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก และผู้ป่วยต้องมีอาการอย่างน้อยที่สุดนาน 4 วัน
ในระยะเมเนีย เขาจะมีอาการเปลี่ยนไปอีกขั้วหนึ่งเลย เขาจะมั่นใจตัวเองมาก รู้สึกว่าตัวเองเก่ง ความคิดไอเดียต่างๆ แล่นกระฉูด เวลาคิดอะไรจะมองข้ามไป 2-3 ช็อตจนคนตามไม่ทัน การพูดจาจะลื่นไหลพูดเก่ง คล่องแคล่ว มนุษยสัมพันธ์ดี เรียกว่าเจอใครก็เข้าไปทักไปคุย เห็นใครก็อยากจะช่วย
ช่วงนี้เขาจะหน้าใหญ่ใจโต ใช้จ่ายเกินตัว ถ้าเป็นคุณตาคุณยายก็บริจาคเงินเข้าวัดจนลูกหลานระอา ถ้าเป็นเจ้าของบริษัทก็จัดงานเลี้ยง แจกโบนัส มีโครงการโปรเจคต่างๆ มากมาย พลังของเขาจะมีเหลือเฟือ นอนดึกเพราะมีเรื่องให้ทำเยอะแยะไปหมด ตีสี่ก็ตื่นแล้ว ตื่นมาก็ทำโน่นทำนี่เลย
ด้วยความที่เขาสนใจสิ่งต่างๆ มากมาย จึงทำให้เขาวอกแวกมาก ไม่สามารถอดทนทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ เขาทำงานเยอะ แต่ก็ไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง ความยับยั้งชั่งใจตนเองมีน้อยมากเรียกว่าพอนึกอยากจะทำอะไรต้องทำทันที หากมีใครมาห้ามจะโกรธรุนแรง
ในระยะนี้หากเป็นมากๆ จะพูดไม่หยุด เสียงดัง เอาแต่ใจตัวเอง โกรธรุนแรงถึงขั้นอาละวาดถ้ามีคนขัดขวาง


โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (bipolar disorder) คือ อะไร
โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว หรือโรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีลักษณะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมา ระหว่างอารมณ์ซึมเศร้า (major depressive episode) สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีมากกว่าปกติ (mania หรือ hypomania) โดยอาการในแต่ละช่วงอาจเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือหลาย ๆ เดือนก็ได้
ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยทั้งในด้านการงาน การประกอบอาชีพ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการดูแลตนเองอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ
Bipolar disorder อาจแบ่งกลุ่มกว้าง ๆ ออกได้เป็น
  1. Bipolar I disorder คือ มีอาการเมเนีย สลับกับช่วงซึมเศร้า หรืออาจมีอาการเมเนียเพียงอย่างเดียวก็ได้
  2. Bipolar II disorder คือ มีอาการซึมเศร้า สลับกับช่วงไฮโปเมเนีย (hypomania)
พบว่าความชุกชั่วชีวิตของ bipolar disorder นี้โดยรวมที่สำรวจในประชากรทั่วไป พบได้สูงถึงร้อยละ 1.5 -5 ซึ่งอัตราการเกิดโรคครั้งแรกพบบ่อยที่สุดที่ช่วงอายุ 15-19 ปี และรองลงมา คือ อายุ 20-24 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี
นอกจานี้ bipolar disorder ถือเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคในระยะยาวเรื้อรัง และเป็นโรคที่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้สูง ประมาณ 70-90%


ที่มา  http://www.manarom.com/article-detail.php?id=94
         http://www.ramamental.com/medicalstudent/generalpsyc/bipolar/