Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย)

            วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย)






วันแม่แห่งชาติในประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2519 ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ 10 มีนาคม, 15 เมษายน, และ 4 ตุลาคม

สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาว ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยตีความเปรียบกับความรักบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย




ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย


งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


วันแม่


วันแม่ เป็นวันที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลกจัดขึ้นเพื่อให้เกียรติแม่และความเป็นแม่ ในประเทศไทยวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ในประเทศอื่นทั่วโลกวันแม่จะอยู่ในช่วง เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนในอังกฤษและไอร์แลนด์วันแม่ถูกจัดขึ้นต่อจากวันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์
วันสำคัญที่ให้ระลึกถึงความเป็นพ่อถูกเรียกว่าวันพ่อ

ประวัติ

ในวานเปตรยุคโรมันโบราณมีวันหยุดที่คล้ายกันคือ มาโตรนาเลีย ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงเทพีจูโน เทพีผู้พิทักษ์ ส่วนในยุโรปมีประวัติเกี่ยวกับวันแม่ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น วันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ (Mothering Sunday) ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์ ในสหรัฐอเมริกาได้มีการผลักดันให้มีการฉลองวันแม่ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดย จูเลีย วอร์ด ฮาว โดยมีความเชื่อว่าเพศหญิงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างสังคม วันผู้หญิงนานาชาติได้มีการเฉลิมฉลองครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในเวลาใกล้เคียงกัน แอนนา ยาร์วิสได้เริ่มผลักดันให้มีการเฉลิมฉลองวันแม่ในสหรัฐอเมริกา

วันแม่ในประเทศต่าง ๆ

ประเทศอื่น ๆ ก็มีการกำหนดวันแม่ไว้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ใช้วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม ประเทศรัสเซียใช้วันที่ 28 พฤศจิกายน เป็นต้น ทั้งนี้บางประเทศมีการเฉลิมฉลองในวันสตรีสากล

ประเทศญี่ปุ่น

ในญี่ปุ่น ปี 1931 (หรือปีโชวะที่ 6) องค์กร สตรีสูงสุดของญี่ปุ่นได้ตั้ง วันที่ 06 มีนาคม ซึ่งเป็นวันฉลองพระราชสมภพ ของ พระราชินี คาโอรุ มาโคโตะ (Empress Kaoru Makoto) เป็น "วันแม่" ต่อมาในปี 1937 วันที่ 5 พฤษภาคม (หรือปีโชวะที่12 ) และได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อ (ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการกลางให้จัดตั้งวันแม่) ขึ้นใหม่ในปี 1949 (หรือปีโชวะที่24 ) โดยมาจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สองในเดือนพฤษภาคม ตามประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ
ทั้งนี้ วันเด็ก 5 พฤษภาคม เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (วันหยุดแห่งชาติตามกฎหมาย) "เพื่อให้เด็กได้มีความสุขกับครอบครัวและ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อขอบคุณแม่ที่ทำให้เราได้เกิดมาอีกด้วย
ในวันแม่ ปกติประเทศญี่ปุ่นจะให้ดอกคาร์เนชั่นแต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ไม่เพียงดอกคาร์เนชั่นเท่านั้น แต่ดอกกุหลาบสีชมพูและดอกเยอบิร่า ก็ให้ได้เช่นกัน

ประเทศไทย

ดูบทความหลักที่ วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย)

ในประเทศไทย เดิมมีการจัดงานวันแม่ โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ในคณะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 12 สิงหาคม ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมกับได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แทนวันแม่ เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีสีขาว มีกลิ่นหอมและออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก

วันแม่นานาชาติ



ปฏิทินเกรโกเรียน
ทุกวันที่ วันที่ ประเทศ
2 กุมภาพันธ์ ธงชาติของกรีซ กรีซ
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ธงชาติของนอร์เวย์ นอร์เวย์
Shevat 30
(อาจมีขึ้นในวันที่
30 มกราคม และ 1 มีนาคม)
ธงชาติของอิสราเอล อิสราเอล
3 มีนาคม ธงชาติของประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย
8 มีนาคม ธงชาติของอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน
ธงชาติของแอลเบเนียแอลเบเนีย
ธงชาติของอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
ธงชาติของอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน
ธงชาติของเบลารุส เบลารุส
ธงชาติของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ธงชาติของบัลแกเรีย บัลแกเรีย
ธงชาติของคาซัคสถาน
คาซัคสถาน
ธงชาติของลาว
ลาว
Flag of the Republic of Macedonia มาซิโดเนีย
ธงชาติของมอลโดวา มอลโดวา
ธงชาติของมอนเตเนโกร มอนเตเนโกร
ธงชาติของโรมาเนีย โรมาเนีย
ธงชาติของรัสเซีย รัสเซีย†*
ธงชาติของเซอร์เบีย
เซอร์เบีย
ธงชาติของยูเครน ยูเครน
วันอาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552
14 มีนาคม พ.ศ. 2553
Flag of Ireland ไอร์แลนด์
ธงชาติของไนจีเรีย ไนจีเรีย
Flag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร
21 มีนาคม
(ฤดูใบไม้ผลิ วิษุวัต)
ธงชาติของบาห์เรน บาห์เรน
ธงชาติของอียิปต์ อียิปต์
ธงชาติของจอร์แดน จอร์แดน
ธงชาติของคูเวต คูเวต
ธงชาติของลิเบีย ลิเบีย
ธงชาติของเลบานอน เลบานอน
ธงชาติของโอมาน โอมาน
Palestinian flag ปาเลสไตน์
ธงชาติของซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
ธงชาติของซูดาน ซูดาน
ธงชาติของโซมาเลีย โซมาเลีย
ธงชาติของซีเรีย ซีเรีย
Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ธงชาติของเยเมน เยเมน (ประเทศFlag of the League of Arab States อาหรับทั้งหมด โดยปกติ)
25 มีนาคม ธงชาติของสโลวีเนีย สโลวีเนีย
7 เมษายน ธงชาติของอาร์เมเนีย อาร์เมเนีย
24 เมษายน +/- 5 วัน Baisakh Amavasya (Mata Tirtha Aunsi) ธงชาติของเนปาล เนปาล
วันอาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ธงชาติของฮังการี ฮังการี
ธงชาติของลิทัวเนีย
ลิทัวเนีย
ธงชาติของโมซัมบิก โมซัมบิก
ธงชาติของโปรตุเกส โปรตุเกส
ธงชาติของมาเก๊า มาเก๊า
ธงชาติของสเปน สเปน
8 พฤษภาคม ธงชาติของแอลเบเนีย แอลเบเนีย (วันครอบครัว)
ธงชาติของเกาหลีใต้
เกาหลีใต้ (วันครอบครัว)
10 พฤษภาคม ธงชาติของเอลซัลวาดอร์ เอลซัลวาดอร์
ธงชาติของกัวเตมาลา กัวเตมาลา
ธงชาติของเม็กซิโก เม็กซิโก
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ธงชาติของแองกวิลลา แองกวิลลา
ธงชาติของอารูบา อารูบา
ธงชาติของออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
ธงชาติของออสเตรีย ออสเตรีย
Flag of the Bahamas Bahamas
ธงชาติของบังกลาเทศ บังกลาเทศ
ธงชาติของบาร์เบโดส Barbados
ธงชาติของเบลเยียม เบลเยียม
ธงชาติของเบลีซ Belize
ธงชาติของเบอร์มิวดา เบอร์มิวดา
ธงชาติของโบแนร์ Bonaire
ธงชาติของบราซิล บราซิล
ธงชาติของบรูไน บรูไน
ธงชาติของบัลแกเรีย บัลแกเรีย
ธงชาติของแคนาดา แคนาดา
ธงชาติของชิลี ชิลี
Flag of the People's Republic of China สาธารณรัฐประชาชนจีน[4]
Flag of the Republic of China
สาธารณรัฐจีน
ธงชาติของโคลอมเบีย Colombia
ธงชาติของโครเอเชีย โครเอเชีย
ธงชาติของคิวบา คิวบา[5]
ธงชาติของคูราเซา Curaçao
ธงชาติของไซปรัส ไซปรัส
Flag of the Czech Republic สาธารณรัฐเช็ก
ธงชาติของเดนมาร์ก เดนมาร์ก
ธงชาติของโดมินิกา Dominica
ธงชาติของเอกวาดอร์ เอกวาดอร์
ธงชาติของเอสโตเนีย เอสโตเนีย
ธงชาติของเอธิโอเปีย เอธิโอเปีย
ธงชาติของฟิจิ Fiji
ธงชาติของฟินแลนด์ ฟินแลนด์
ธงชาติของเยอรมนี เยอรมนี
ธงชาติของกานา กานา
ธงชาติของกรีซ กรีซ
ธงชาติของเกรเนดา เกรเนดา
ธงชาติของฮอนดูรัส ฮอนดูรัส
ธงชาติของฮ่องกง ฮ่องกง
ธงชาติของไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์
ธงชาติของอิตาลี อิตาลี
ธงชาติของจาเมกา Jamaica
ธงชาติของญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ธงชาติของลัตเวีย ลัตเวีย*
ธงชาติของลิกเตนสไตน์
ลิกเตนสไตน์*
ธงชาติของมาเลเซีย
มาเลเซีย
ธงชาติของมอลตา มอลตา
ธงชาติของสหภาพพม่า พม่า
Flag of the Netherlands เนเธอร์แลนด์
ธงชาติของนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
ธงชาติของปากีสถาน ปากีสถาน
ธงชาติของปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี
ธงชาติของเปรู เปรู[6]
Flag of the Philippines ฟิลิปปินส์
ธงชาติของเปอร์โตริโก Puerto Rico
ธงชาติของเซนต์คิตส์และเนวิส St. Kitts & Nevis
ธงชาติของเซนต์ลูเซีย St. Lucia
ธงชาติของเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ Saint Vincent and the Grenadines
ธงชาติของซามัว ซามัว
ธงชาติของสิงคโปร์ สิงคโปร์
ธงชาติของซินท์มาร์เทิน Sint Maarten
ธงชาติของสโลวาเกีย สโลวาเกีย
ธงชาติของแอฟริกาใต้ South Africa
ธงชาติของศรีลังกา ศรีลังกา
ธงชาติของซูรินาเม ซูรินาเม
ธงชาติของสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
ธงชาติของตองกา Tonga
ธงชาติของตรินิแดดและโตเบโก Trinidad and Tobago
ธงชาติของตุรกี ตุรกี
ธงชาติของยูกันดา Uganda
ธงชาติของยูเครน Ukraine
Flag of the United States สหรัฐอเมริกา
ธงชาติของอุรุกวัย อุรุกวัย
ธงชาติของเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา
ธงชาติของแซมเบีย Zambia
ธงชาติของซิมบับเว Zimbabwe
15 พฤษภาคม ธงชาติของปารากวัย ปารากวัย
26 พฤษภาคม ธงชาติของโปแลนด์ โปแลนด์
27 พฤษภาคม ธงชาติของโบลิเวีย โบลิเวีย
วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ธงชาติของแอลจีเรีย Algeria
Flag of the Dominican Republic Dominican Republic
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส (First Sunday of June if Pentecost occurs on this day)
ธงชาติของฝรั่งเศส
French Antilles (First Sunday of June if Pentecost occurs on this day)
ธงชาติของเฮติ Haiti[7] ธงชาติของมอริเชียส Mauritius
ธงชาติของโมร็อกโก Morocco
ธงชาติของสวีเดน สวีเดน
ธงชาติของตูนิเซีย ตูนิเซีย
30 พฤษภาคม ธงชาติของนิการากัว นิการากัว
1 มิถุนายน ธงชาติของมองโกเลีย Mongolia† (The Mothers and Children's Day.)
Second Sunday of June 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552
13 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ธงชาติของลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก
Last Sunday of June 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552
27 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ธงชาติของเคนยา เคนยา
12 สิงหาคม ธงชาติของไทย ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
15 สิงหาคม (Assumption Day) แม่แบบ:Country data Antwerp แอนต์เวิร์ป (เบลเยียม)
ธงชาติของคอสตาริกา
คอสตาริกา
19 สิงหาคม (Pâthâre Prabhu in Southern India) ธงชาติของอินเดีย อินเดีย[8]
Second Monday of October 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552
11 ตุลาคม พ.ศ. 7440
ธงชาติของมาลาวี Malawi
14 ตุลาคม ธงชาติของเบลารุส Belarus
Third Sunday of October 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552
17 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ธงชาติของอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา (Día de la Madre)
Last Sunday of November 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ธงชาติของรัสเซีย รัสเซีย
8 ธันวาคม ธงชาติของปานามา ปานามา
22 ธันวาคม ธงชาติของอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ
ทุกวันที่ วันที่ ประเทศ
20 Jumada al-thani[n 1] 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ธงชาติของอิรัก อิรัก [9]
ธงชาติของอิหร่าน
อิหร่าน [10]
อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ นอร์เวย์
8 มีนาคม บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเดย์) สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ) จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
8 พฤษภาคม เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
10 พฤษภาคม กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
26 พฤษภาคม โปแลนด์
27 พฤษภาคม โบลิเวีย
อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน
อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส
12 สิงหาคม ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
15 สิงหาคม (วันอัสสัมชัญ) คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม)
อาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม อาร์เจนตินา (Día de la Madre)
28 พฤศจิกายน รัสเซีย
8 ธันวาคม ปานามา
22 ธันวาคม อินโดนีเซีย

ดูเพิ่ม

ดอกไม้ประจำวันแม่ของประเทศต่างๆ

เชิงอรรถ

  1. ^ Since the Islamic Calendar uses the lunar year, which is shorter than the solar year, the day will migrate through the seasons. Every year it will correspond to a different day in the Gregorian Calendar, so it is listed separately.

อ้างอิง

  1. ^ International Women's Day. Investing in Women and Girls, United Nations
  2. ^ ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวันแม่
  3. ^ "ดอกมะลิ" สัญลักษณ์แทนใจวันแม่
  4. ^ Xinhua from China Daily (2006-05-16). "It's Mother's Day". SCUEC online. http://news.scuec.edu.cn/english/viewtext1.php?id=556.
  5. ^ "Principales efemérides. Mes Mayo". Unión de Periodistas de Cuba. http://www.enlace.cu/efemeride/mayo.htm. Retrieved 2008-06-07.
  6. ^ "Calendario Cívico Escolar". Dirección Regional de Educación de Lima Metropolitana. http://www.drelm.gob.pe/index.php?p=art&menu=49. Retrieved 2008-06-07.
  7. ^ Sources:
  8. ^ W.E.G. Solomon (1991). Charm Of Indian Art. Asian Educational Services. p. 130. ISBN 8120602250, 9788120602250. http://books.google.com/books?id=y57Z63UNX18C.
  9. ^ Mehr News Agency. "Birth Anniversary of Hazrat Fatemeh Zahra (SA) Declared Women’s Day in Iraq", Mehr News, 2003-08-19
  10. ^ "Ahmadinejad highlights women's significant role in society". Presidency of The Islamic Republic of Iran News Service. 2008-06-24. http://www.president.ir/en/print.php?ArtID=10405. Retrieved 2008-07-19. "(...) the occasion of the Mother's Day marking the birthday anniversary of Hazrat Fatemeh Zahra (SA), the beloved daughter of Prophet Mohammad (Peace Be Upon Him). The day fell on June 23 [2008]."




วันแม่แห่งชาติ

วันแม่แห่งชาติ ที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า วันแม่ ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับ วันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ และถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วย

ความหมายของดอกมะลิดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์และเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเย็นระรื่นใจ จึงยกย่องให้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ เป็นดอกไม้วันแม่แห่งชาติ ซึ่งทางราชการให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมา อ่านเพิ่มเติม

ประวัติวันแม่แห่งชาติ
แต่เดิมนั้น วันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรองเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่ มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรก เป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขวัญวันแม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่งๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ

ต่อมาถึง พุทธศักราช ๒๕๑๙ ทางราชกาารได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ เริ่มในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพระเกียรติไว้ว่า

"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้วความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา

แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด

หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นอยู่แล้ว จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของประชาชนชาวไทยทั้งมวล"

ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการ

ส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนดวัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า

"เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกลก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปีติ แล้วจึงหัวเราะออกลักษณะการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนั้นย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"

และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า

"เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่เป็นเสียและความหมายที่ซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณ และความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงเรียกตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็นแม่มาก็หัวเราะทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่ เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมด

เราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก สงสารลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก รับประทานอะไรก็คิดถึงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"

อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็น วันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่งและกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิสีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า

ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน
เหมือนกมลสดใสหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย



เพลงวันแม่


วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube






ใครหนอ
ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวี
ใคร หนอ ปราณี ไม่มีเสื่อมคลาย
ใคร หนอ รักเราใช่เพียงรูปกาย
รักเขาไม่หน่าย มิคิดทำลาย ใคร หนา

ใคร หนอ เห็นเรา เศร้าทรวงใน
ใคร หนอ เอาใจปลอบเราเรื่อยมา
ใคร หนอ รักเราดังดวงแก้วตา
รักเขากว้างกว่า พื้นพสุธา นภากาศ

จะเอาโลก มาทำปากกา
แล้วเอานภา มาแทน กระดาษ
เอาน้ำหมด มหาสมุทรแทนหมึกวาด
ประกาศ พระคุณไม่พอ

ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน)
ใคร หนอ ใครกันให้เราขี่คอ (คุณพ่อ คุณแม่)
ใคร หนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ
รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ

ดนตรี
ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน)
ใคร หนอ ใครกันให้เราขี่คอ(คุณพ่อ คุณแม่)
ใคร หนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ
รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ

เพลงแม่ เสก โลโซ
เพลงแม่ เสก โลโซ
ป่านนี้จะเป็นอย่างไร
จากมาไกลแสนนาน
คิดถึงคิดถึงบ้าน
จากมาตั้งนานเมื่อไรจะได้กลับ

แม่จ๋าแม่รู้บ้างไหม
ว่าดวงใจดวงนี้เป็นห่วง
จากลูกน้อยที่แม่ห่วงหวง
อยู่เมืองหลวงศิวิไลซ์ไกลบ้านเรา

คิดถึงแม่ขึ้นมาน้ำตามันก็ไหล
อยากกลับไปซบลงที่ตรงตักแม่
ในออ้มกอดรักจริงที่เทียมแท้
ในอกแม่สุขเกินใคร

อีกไม่นานลูกจะกลับไป
หอบดวงใจเจ็บช้ำเกินทน
เก็บเรื่องราววุ่นวายสับสน
ใจที่วกวนของคนในเมืองกรุง

(ดนตรี)
คิดถึงแม่ขึ้นมาน้ำตามันก็ไหล
อยากกลับไปซบลงที่ตรงตักแม่
ในออ้มกอดรักจริงที่เทียมแท้
ในอกแม่สุขเกินใคร

อีกไม่นานลูกจะกลับไป
หอบดวงใจเจ็บช้ำเกินทน
เก็บเรื่องราววุ่นวายสับสน
กลับบางคนที่ใจไม่แน่นอน
ลืมเรื่องบางคนไปซบลงที่ตรงตักแม่

อิ่มอุ่น
อิ่มอุ่น
อุ่นใดๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียม
อุ่นอกอ้อมแขนอ้อมกอดแม่ตระกอง
รักเจ้าจึงปลูก รักลูกแม่ย่อมห่วงใย
ไม่อยากจากไปไกล แม้เพียงครึ่งวัน
ให้กายเราใกล้กัน ให้ดวงตาใกล้ตา
ให้ดวงใจเราสองเชื่อมโยงผูกพัน

อิ่มใดๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียม
อิ่มอกอิ่มใจ อิ่มรักลูกหลับนอน
น้ำนมจากอก อาหารของความอาทร
แม่พร่ำเตือนพร่ำสอน สอนสั่ง
ให้เจ้าเป็นเด็กดี ให้เจ้ามีพลัง
ให้เจ้าเป็นความหวังของแม่ต่อไป

ใช่เพียงอิ่มท้อง
ที่ลูกร่ำร้องเพราะต้องการไออุ่น
อุ่นไอรัก อุ่นละมุน
ขอน้ำนมอุ่นจากอกให้ลูกดื่มกิน

เรียงความเรื่องแม่
เรียงความเรื่องแม่
คุณครูสั่งให้เขียน เรียงความเรื่องแม่ฉัน
บอกให้ส่งให้ทันวันพรุ่งนี้
มันยากจัง ทำไม่ใหว
หนูแม่ไม่มี แล้วจะเขียนให้ดียังไง

เป็นห่วงก็ไม่รู้ ดูแล ก็ไม่คุ้น
กอดแม่อุ่นจริงๆ มันจริงไหม
พร้อมหน้ากัน ทานอาหาร
เคยมีแค่ฝันไป ไม่มีเพลงกล่อมใดไม่มี

ห่มผ้าไม่เคยอุ่นเลย กอดหมอน
ไม่เคยอุ่นใจ นอนหลับไปอย่างเดียวดายทุกที
ไม่มีอะไรจะเขียนให้ครูได้อ่านพรุ่งนี้
บนหน้ากระดาษก็เลอะน้ำตา

ถ้าแม่ฟังอยุ่ไม่ว่าแม่อยุ่ใหนไม่ว่าแม่เป็นใคร
ช่วยส่งรักกลับมา ถ้าแม่ไม่อยุ่ คิดถึงหนูหน่อยนะ
หนูขอสัญญาว่าหนูจะเป็นเด็กดี

เป็นห่วงก็ไม่รู้ ดูแล ก็ไม่คุ้น
กอดแม่อุ่นจริงๆ มันจริงไหม
พร้อมหน้ากัน ทานอาหาร
เคยมีแค่ฝันไป ไม่มีเพลงกล่อมใดไม่มี

ห่มผ้าไม่เคยอุ่นเลย กอดหมอน
ไม่เคยอุ่นใจ นอนหลับไปอย่างเดียวดายทุกที
ไม่มีอะไรจะเขียนให้ครูได้อ่านพรุ่งนี้
บนหน้ากระดาษก็เลอะน้ำตา

ถ้าแม่ฟังอยุ่ไม่ว่าแม่อยุ่ใหนไม่ว่าแม่เป็นใคร
ช่วยส่งรักกลับมา ถ้าแม่ไม่อยุ่ คิดถึงหนูหน่อยนะ
หนูขอสัญญาว่าหนูจะเป็นเด็กดี

ของขวัญวันแม่
ของขวัญวันแม่ / แดน ดีทูบี
เพิ่งรู้ว่าแม่ก้อเหงา ตอนที่ขอให้เราโทรไป
เพิ่งรู้ว่าแม่น้อยใจ เมื่อเราอายไม่ยอมให้กอดเรา

เพิ่งรู้ว่าเก็บไปคิด ว่าลูกไม่รักเหมือนเก่า
เพิ่งรู้ว่าแม่ก็เศร้า เมื่อเราเถียงเมื่อเราขัดใจ

เพิ่งรู้ว่าแม่คิดถึง เด็กคนนึงที่เคยแต่งตัว
เพิ่งรู้ว่าแม่ก้อกลัว ว่าวันนึงเราต้องห่างไกล

เพิ่งรู้ว่าแต่ละวัน บ้านมันดูเงียบไป
ไม่เหลือเจ้าตัววุ่นวาย ก็ไม่เหลือหัวใจเหมือนกัน

แม่ชอบ บ่น ว่า ซักวัน เหอะ ซักวัน คงทนเราไม่ไหว
แต่เรารู้ดีกว่าใคร ว่าแม่เต็มใจจะรับมัน

ไม่มีมะลิซักกำ ไม่มีคำซึ้งๆใด
มีแต่ความรักล้นใจ ห่อมาให้แทนของขวัญ

อยากได้อ้อมแขน อุ่นๆ แน่นๆ อยู่นานๆ
ขอโทษที่เคยรำคาญ ที่ทำให้แม่เสียใจ

วันนี้ยังยินดีจะกอดลูกมั้ย ไม่อยากก็ไม่เป็นไร
ฮืม.....แต่ลูกอยากให้แม่กอด

เพิ่งรู้ว่าแม่ก็รู้ ว่าเราโตขึ้นมาแค่ไหน
เพิ่งรู้ว่าแม่ ปลื้มใจที่ได้ดูแลเราจนวันนี้

ที่พูดเวลาโมโห ว่าไม่โตซักที
แค่แม่ไม่อยากให้มี วันที่ลูกต้องไปไกลกัน

แม่ชอบ บ่น ว่า ซักวัน เหอะ ซักวัน คงทนเราไม่ไหว
แต่เรารู้ดีกว่าใคร ว่าแม่เต็มใจจะรับมัน

ไม่มีมะลิซักกำ ไม่มีคำซึ้งๆใด
มีแต่ความรักล้นใจ ห่อมาให้แทนของขวัญ

ค่าน้ำนม
ค่าน้ำนม
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง
ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอละเห่
กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล


แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม
แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่
นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม

* ควรคิดพินิจให้ดี
ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนม
เลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
** ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง
แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น
หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย
( ซ้ำ *, ** )

คือหัตถาครองพิภพ
คือหัตถาครองพิภพ
สองมือที่ดูนุ่มนวลอ่อนโยน
สองมือที่ดูช่างบอบบางอย่างนั้น
สองมือที่ดังไม่มีความสําคัญ
คือสองมือที่โลกหมุนไป
แม้เพียงร่างกายนั้นเกิดเป็นหญิง
แท้จริงหัวใจนั้นแกร่งยิ่งกว่าชาย
ขอเพียงให้เป็นได้ดั่งที่ตั้งใจ
จะทุกข์ทนเดียวดายไม่มีความสําคัญ
บรรดาลโลกหมุนเวียนวนไปตามจิตใจ
นําพาให้เป็นไปตามต้องการ
ทุกสิ่งเปลี่ยนแปรไปด้วยมือเธอสร้างสรรค์
ดังถ้อยคําประพันธ์เปรียบเปรยพรรณา
ถึงชายได้กวัดแกว่งแผลงจักอาจ
ซึ่งอํานาจอันแข็งแรงยิ่งกว่า
อันมือไกวเปลไซร้แต่ไรมา
คือหัตถาครองพิภพจบสากล
อันมือไกวเปลไซร้แต่ไรมาคือหัตถาครองพิภพจบสากล